www.tungsong.com
ด้านกายภาพ   ด้านเศรษฐกิจ   ด้านสังคม   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน   ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ผลการพัฒนาอำเภอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา   วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ

      


เมืองผลไม้ดก  น้ำตกสวย  รวยนักการเมือง  ฟูเฟื่องประชาธิปไตย



1.1 พลเมืองใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นนิจ

ปัจจุบัน
อำเภอพรหมคีรี เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่หลากหลาย ทุกระดับเป็นเมืองที่ประชาชนให้ความสำคัญทางการศึกษามากที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีอัตราการเรียนต่อสูงโดยเฉลี่ยทุกระดับ ประกอบกับพื้นฐานเดิมทางวัฒนธรรมของคนเมืองนคร มีภาวะเป็นผู้นำสูง ใฝ่ศึกษา เรียนรู้ ช่างคิด รักอิสระ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เป็นตัวของตัวเองสูง จริงจัง ตรงไปตรงมา จนบางครั้งทำให้ขาดการยอมรับผู้อื่น

เป้าหมาย
พ.ศ. 2550 อำเภอพรหมคีรี ต้องเป็นศูนย์กลางการศึกษา ศิลปวิทยาการ โดยใช้การศึกษานำการพัฒนาสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีทักษะสามารถ รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่หลงวัตถุนิยม ใจกว้างรับฟังผู้อื่น สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เป็นนัก จัดการที่ดีเคารพในกฎและกติกา ทำงานอย่างเป็นระบบ และมีความพร้อมต่อการให้บริการผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

แนวทาง
พ.ศ. 2550 อำเภอพรหมคีรี ต้องเป็นศูนย์กลางการศึกษา ศิลปวิทยาการ โดยใช้การศึกษานำการพัฒนาสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีทักษะสามารถ รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่หลงวัตถุนิยม ใจกว้างรับฟังผู้อื่น สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เป็นนัก จัดการที่ดีเคารพในกฎและกติกา ทำงานอย่างเป็นระบบ และมีความพร้อมต่อการให้บริการผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
  • ให้ประชาชนทุกประเภททุกระดับได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ
  • มีการกระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่นต่อเนื่อง และตลอดชีวิต
  • ยกระดับการศึกษา พัฒนาคุณภาพเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขสู่ระดับสากลโดยพื้นฐานววัฒนธรรมไทย
  • ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งด้านวิชาการ และวิชาชีพ
  • ให้ประชาชนทุกคน ทุกวัยได้รับการเรียนรู้นอกระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
  • จัดเครื่องมือเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ เวทีท้องถิ่น สถานศึกษา เสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างจริงจัง
  • องค์การเอกชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น มีบทบาททางการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างเต็มศักยภาพ
  • ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

1.2 ร่วมสานกิจพัฒนารักษาถิ่น

ปัจจุบัน

อำเภอพรหมคีรี ประชากร จำนวน 34,886 คน มีพื้นที่กว้างขวางถึง 321.499 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล มีหน่วยการปกครอง ส่วนท้องถิ่นครอบคลุมเต็มพื้นที่ประกอบด้วย เทศบาลตำบล 2 แห่งมีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 แห่ง และประชาคมระดับต่างๆ จำนวนมาก เช่น ประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล และประชาคมอำเภอ เป็นต้น การพัฒนาท้องถิ่นในช่วงที่ผ่านมามีลักษณะต่างคนต่างทำไม่ประสานสอดคล้องกันเท่าที่ควร

เป้าหมาย
พ.ศ. 2550 “พลเมืองชาวอำเภอพรหมคีรี รวมตัวเป็นกลุ่มองค์กรประชาชมที่หลากหลายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาและปกครองท้องถิ่น การบริหารการจัดการของ องค์กรปกครองท้องถิ่น มีศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการสูง โดยมีการประสานเชื่อมโยงกันทุกพื้นที่ทั้งอำเภอ ในลักษณะองค์รวม


แนวทาง
เสริมสร้างสถาบันครอบครัว องค์กรชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เทศบาลให้เข็มแข็ง สามารถเชื่อมประสานร่วมงานกันได้ในระดับต่าง ๆ และมีส่วนร่วมตรวจสอบการปฏิบัติงานของ องค์กรปกครองท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้คนมีคุณธรรม มีวินัย มีจิตสำนึกในส่วนรวม รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  • ส่งเสริมพัฒนาแบบอย่าง ตัวอย่างที่ดี ทั้งระดับบุคคลองค์กรเพื่อการสร้างเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนส่งเสริมการรวมตัวก่อตั้งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยังยืน
  • มีระบบการเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ยึดหลักประชาธิปไตยบนพื้นฐาน ของสังคม วัฒนธรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
  • เสริมสร้างการบริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยท้องถิ่น โดยส่งเสริมองค์กรท้องถิ่น ให้มีการศึกษา อบรมบุคลากรส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณการพัฒนาด้านสังคมโครงสร้างพื้นฐาน และอื่น ๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ลดการควบคุมจากส่วนกลาง
  • ขยายบทบาทสถานศึกษาในการสนับสนุนช่วยเหลือดำเนินการและเชื่อมโยงองค์กรประชาชน

1.3 ชีวิตมีคุณภาพทั้งแผ่นดิน

ปัจจุบัน
ภาคราชการแม้จะมีหน่วยงานจำนวนมากแต่ศักยภาพยังมีอยู่จำกัดไม่อาจดูแลได้อย่างทั่วถึง และภาคราชการที่เป็นวิชาการยังมีการทำงานเพื่อชุมชนน้อย องค์กรชุมชนมีอยู่จำนวนน้อย ขาดความเข้มเข็ง ภาคธุรกิจเองมีการรวมตัวกันยังไม่กว้างขวาง และเข้มเข็งพอ ภาคการเมืองมีสภาวะผูกขาดสูงขาดการเปรียบเทียบแข่งขัน ภาคสื่อมวลชนขาดการรวมตัวและพัฒนาระบบงานให้ทันสถานการณ์ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้สุขภาพของประชาชนยังอยู่ในระดับรู้จักดูแลตนเองได้ปานกลาง และประชาชนยังขาดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงปัญหายาเสพติดได้แพร่หลายสู่เยาวชนรุนแรงขึ้น เด็กและเยาวชนก็ยังอยู่ในภาวะยากลำบากถูละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและขาดการ ดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม

เป้าหมาย
ปี พ.ศ. 2550 ชาวอำเภอพรหมคีรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น มีสายใยผูกพัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสำนึกสาธารณะ

แนวทาง
พัฒนาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะของเด็กและเยาวชนให้ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน
  • สังคมอยู่เย็นเป็นสุขมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดยาเสพติด อบายมุข มอมเมา โดยเน้นวิธีชุมชนบำบัด
  • เสริมสร้างการพัฒนาจิตใจที่สมดุลย์โดยใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา
  • เสริมสร้างสถาบันครอบครัว องค์กรชุมชน ตลอดจนองค์การประชาชนให้เข้มแข็ง มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • ส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้บุคคลชุมชนมีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
  • ประสานงานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและชุมชน
  • คืนอำนาจการตัดสินใจการจัดการทรัพยากร และงบประมาณต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนทั้งนี้ไม่เฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วนเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน

1.4 เป็นท้องถิ่นวัฒนธรรมค้ำสังคม

ปัจจุบัน
อำเภอพรหมคีรี มีมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งโบราณสถานโบราณวัตถุ ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตที่ดีงาม และมีคุณค่ามากมาย แต่ถูกปล่อยประละเลย มีสภาพทรุดโทรม ขาดการประสาน มีความขัดแย้ง วัฒนธรรมชุมชน ไม่เข้มแข็ง ยังไม่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา ให้สังคมเข้มแข็ง บุคคลผู้มีจิตสำนึกสาธารณะที่ได้รวมตัวเป็นองค์กรชุมชน และเครือข่ายกันมีน้อย ทั้งในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการนำมรดกทางวัฒนธรรม มาฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนก่อให้เกิดวัตถุนิยม บริโภคนิยมเข้าครอบงำอยู่ในวิถีชีวิต

เป้าหมาย
ปี พ.ศ. 2550 อำเภอพรหมคีรี ต้องมีองค์กรหลายระดับหลากหลายอย่าง ชัดเจน มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในท้องถิ่นและต่างท้องถิ่น ชุมชนมีความเกื้อกูล สร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพที่ดี ทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชนสังคมมีค่านิยม ถือความถูกต้องดีงาน ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตและสังคม ทันโลกแต่ไม่ตามกระแสโลกที่ทำให้ตกต่ำและอ่อนแอทางวัฒนธรรมมีเครือข่ายเพื่อพัฒนาในลักษณะภาคี ระหว่างบ้าน สถาบัน ศาสนา สถานศึกษา รัฐ ราชการ ธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ฯลฯ และมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มศักยภาพ

แนวทาง
สร้างจิตสำนึก วิถีชีวิต คุณค่าศิลปะและวัฒนธรรม จารีตประเพณี ให้รู้สึกหวงแหน และรวมตัวเป็นองค์กรต่าง ๆ
  • สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยและไท ความภาคภูมิใจ เพื่อเสริมพลังการพัฒนาสังคม
  • ให้เกิดบรรยากาศ ค่านิยม การรวมตัวเป็นองค์กรต่าง ๆ ระบบครอบครัวอบอุ่นมีความสุขชุมชนเข้มแข็ง เกื้อกูลสร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพที่ดี
  • สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม ยกย่องคนดี
  • ส่งเสริมคนที่มีจิตสำนึกสาธารณะให้รวมตัวก่อตั้งกลุ่มองค์กรและพัฒนาให้เข้มแข็ง
  • มุ่งพัฒนาส่งเสริมเด็กและเยาวชนเป็นหลัก
  • มีการเข้มงวด กวดขัน จริงจัง ให้ลด ละ เลิกการเล่น การพนัน และอบายมุข
  • อนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีของเมืองนคร

1.5 เศรษฐกิจยั่งยืนทุกท้องที่

ปัจจุบัน
อำเภอพรหมคีรี เป็นอำเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจหลากหลาย เช่นการเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก มีผลิตผลจากภาคเกษตรกรรมมากมายเหมาะในการพัฒนาอุตสาหกรรมจากการเกษตร มีอัตราการออมสูง และยังมีกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนหลายกลุ่ม ปัญหาที่กระทบต่อเศรษฐกิจ คือโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในชนบทและขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเพื่อการประกอบอาชีพ

เป้าหมาย
ปี 2550 เศรษฐกิจของอำเภอพรหมคีรี ต้องมีการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งนี้ความมั่นคงทางภาคเกษตรกรรม มีอุตสาหกรรมรองรับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ โดยประชากรต้องมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ของประเทศ และมีการออมเพิ่มขึ้นในกลุ่มชุมชน

แนวทาง
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งด้านการเงิน การคลัง เกษตรกรรม อุตสาห- กรรม พาณิชยกรรม และการบริการ
  • ส่งเสริมการออมในทุกระดับ และส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ให้ทั่วทุกเป้าหมาย เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชน
  • สนับสนุนให้มีแผนหลักการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างครบวงจร โดยเฉพาะยางพารา ข้าง ไม้ผล รวมทั้งการศึกษาวิจัย และเพิ่มความรู้ทักษะให้แก่เกษตรกรส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดจนการส่งออกสอดคล้องกับกติกาประชาคม
  • ด้านพาณิชยกรรมและบริการ ให้มีตลาดกลางการเกษตรและตลาดล่วงหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการ
  • ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานทางการท่องเที่ยว โดยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของพรหมคีรี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  • ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยจัดให้มีสาธารณสุขและสาธารณูปโภคให้เพียงพอ
  • พัฒนาส่งเสริมผลผลิตที่เป็นเอกลักณ์ของอำเภอให้เป็นที่รู้จักนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1.6 สิ่งแวดล้อมสมดุลย์ดีเหมาะสม

ปัจจุบัน
อำเภอพรหมคีรี มีพื้นที่ ประมาณ 2 ใน 3 เหมาะสมในการกสิกรรมที่เหลือเป็นเขตภูเขา ปริมาณฝนตกแต่ละปีอยู่ในเกณฑ์สูง สภาพแวดล้อมถูกบุกรุกและทำลายโดญเฉพาะพื้นที่ป่าถูกทำลายเพื่อทำสวนไม้ผลและสวนยางพาราแทน การเกษตรและอุตสาหกรรมมีการใช้สารเคมีก่อให้เกิดความปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จนเสียความสมดุลย์ ความขัดแย้งในการจัดการ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะมูลฝอยในเขตชุมชนเมืองยังขาดประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และยังขาดจิตสำนึกในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย
ปี 2550 อำเภอพรหมคีรี มีการอนุรักษ์ทรัพยากรและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ และพลังงาน สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งในเขตเมือง และชนบทมีความสมดุลย์ มีมาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกวิธีและเพียงพอ ตลอดจนการกำกับดูแลมลพิษต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ภายใต้แผนงานในด้านการสงวน รักษาฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ

แนวทาง
  • รณรงค์ให้การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างเคร่งครัด
  • ระดมทรัพยากรภาครัฐและเอกชนเพื่อกอบกู้สภาพเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  • จัดให้มีระบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
  • หามาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ประหยัด และมีคุณภาพ สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่
  • รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานแก่ทุกกลุ่มเป้าหมายให้ใช้อย่างมีคุณค่า และเหมาะสม
  • จัดทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งในเขตภูเขา และที่ราบ
  • ให้ความสำคัญกับป่าที่เป็นระบบนิเวศน์เฉพาะ

1.7 สู่ศูนย์กลางภูมิภาคน่านิยม

ปัจจุบัน
อำเภอพรหมคีรี ตั้งอยู่ ณ จุดกึ่งกลางของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางการผลิตและการตลาด ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษาของรัฐและเอกชน ด้านการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานและเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ มีโครงการพัฒนาที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่อดีต แต่ขาดการใช้ศักยภาพให้เต็มที่

เป้าหมาย
ปี 2550 อำเภอพรหมคีรี ต้องเป็นศูนย์กลางเครือข่ายด้านคมนาคม ด้านศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงด้านการท่องเที่ยว ผลิตอาหารบนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน และการตลาดพืชผลเกษตร ด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

แนวทาง
จัดให้มีสถานศึกษาทุกระดับ/ทุกประเภทอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ มีการกระจายอำนาจทางการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมนำไปสู่คุณภาพที่แท้จริง
  • เน้นการพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่นให้เข็มแข็ง และเป็นรูปธรรมที่แท้จริง
  • ส่งเสริมการผลิตอาหารบนพื้นฐานเกษตรแบบยั่งยืน
  • ส่งเสริมการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นจุดศูนย์กลางของจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้ภูมิภาค
  • ส่งเสริมพัฒนาให้มีระบบการค้าและการตลาดที่ปลอดสารพิษ
  • พัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • พัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้เพียงพอ

1.8 ประชาคมรวมพลังสร้างเมืองนคร

ปัจจุบัน
ประชาชนในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี มีความสนใจตื่นตัว มีการรวมตัวตั้งกลุ่มองค์กรตามสถานการณ์มากกว่าก่อตั้งอย่างเป็นธรรมชาติการเชื่อมประสานระหว่างองค์กรยังไม่เพียงพอตลอดจนขาดการนำที่เข้มแข็งขาดการเสริมสร้างสื่อเพื่อประชาสังคม และขาดการรวมพลังเป็นประชาคมที่เพียงพอ

เป้าหมาย
ปี 2550 ให้มีกลุ่มองค์กรองค์กรประชาชน ประชาคมอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

แนวทาง
จัดให้มีสถานศึกษาทุกระดับ/ทุกประเภทอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ มีการกระจายอำนาจทางการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมนำไปสู่คุณภาพที่แท้จริง
  • เน้นการพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่นให้เข็มแข็ง และเป็นรูปธรรมที่แท้จริง
  • ส่งเสริมการผลิตอาหารบนพื้นฐานเกษตรแบบยั่งยืน
  • ส่งเสริมการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นจุดศูนย์กลางของจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้ภูมิภาค
  • ส่งเสริมพัฒนาให้มีระบบการค้าและการตลาดที่ปลอดสารพิษ
  • พัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • พัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้เพียงพอ

2.1 แนวทางการพัฒนา : ร่วมสานกิจพัฒนารักษาถิ่น

ภารกิจ
  • สร้างกระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่น
  • 2. เสริมสร้างสถาบันครอบครัว กลุ่มองค์กร/ชุมชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ท้องถิ่น ให้เข้มแข็ง
  • 3. พัฒนากลุ่มและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้านรู้ในการประกอบอาชีพ
  • 4. พัฒนาองค์กรทางด้านการเมือง และยึดหลักประชาธิปไตย อย่างมี ประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • 5. ส่งเสริมคุณธรรม มีวินัย จริยธรรม และมีสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม
  • 6. ส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรชุมชน มีส่วนร่วมในการระดมความคิด เพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่น
  • 7. การสนับสนุนและกำกับดูแลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • 8. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษารองรับการถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่น
  • 9. ส่งเสริมการรวมตัวของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้พัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถบริหารการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเรียนรู้การมีส่วนร่วมกันในชุมชน
  • เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันต่าง ๆ เพื่อให้มีบทบาทในการบริหารจัดการ องค์กรปกครองท้องถิ่น
  • เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม
  • เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  • เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
  • เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน
  • เพื่อให้หน่วยการการปกครองท้องถิ่น โดยระบอบประชาโตยมีความมั่นคง
  • ส่งเสริมให้ประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมือง
  • รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง
  • เพื่อพัฒนาผู้นำองค์กรท้องถิ่นให้ยึดหลักการทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
  • เพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี และมีความสุข
  • เพื่อส่งเสริมพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเข้าในกิจกรรมการปกครองท้องถิ่น
  • ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการการปกครองท้องถิ่น
  • เพื่อให้สังคม มีวินัย กฎระเบียบและรู้จักรับผิดชอบ
  • เพื่อให้มีจิตสำนึกอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
  • เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีวินัย มีระเบียบ รับผิดชอบ
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งสาธารณะประโยชน์
  • เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนถือเป็นหน้าที่ในการดูแลท้องถิ่น
  • เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว
  • เพื่อบริหารงบประมาณท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตามเจตนรมย์
  • เพื่อสร้างความโปร่งในให้เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เพื่อเพิ่มพูนความรู้และสนับสนุนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจมาสู่ท้องถิ่น
  • เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเก็บรายได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม
  • เพื่อกำกับดูแลการใช้งบประมาณของท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
  • เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในการปรับเปลี่ยนบทบาทการจักการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
  • เพื่อปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
  • เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้แก่กลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
  • เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการต่อเนื่อง และยั่งยืน

เป้าหมาย
  • ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีความรู้ในด้านการเมือง การปกครอง อย่างกว้างขวางเต็มพื้นที่
  • ประชุมให้ความรู้การพัฒนาผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น
  • องค์กรปกครองท้องถิ่นมีแผนบริหารพัฒนาท้องถิ่นทุกองค์กรทุกพื้นที่ หมู่บ้าน/ตำบล
  • จัดตั้งกลุ่มองค์กรให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • พัฒนาองค์กรที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง ปีละ 1 ครั้งทุกหมู่บ้าน
  • เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น

วิธีการ
  • ใช้ระบบการเรียนรู้ 2 ทาง คือ
    - การอบรม
    - การประชุมชี้แจง
  • เสริมหลักสูตรการศึกษาด้านหน้าที่พลเมือง จริยธรรม ศีลธรรม
  • มีหอกระจายข่าวในการถ่ายทอดความรู้และการศึกษา
  • จัดเวทีสาธารณะด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย
  • ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา
  • จัดให้มีการดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ใช้ชุมชนเป็นที่ดำเนินการ
  • จัดตั้งประชาคมหรือเวทีชาวบ้าน บูรณาการทุกภารกิจของชุมชน หมู่บ้านตำบล อำเภอ
  • จัดระบบการดำเนินงานของประคมให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ. กชช.2 คแหล่งน้ำเศรษฐกิจ สาธารณสุข และอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
  • หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นองค์กรสาธารณประโยชน์ให้การช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานของประชาคมด้านงบประมาณ วิชาการ และเทคโนโลยี
  • ส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
  • ประชุม อบรม สัมมนา
  • สนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเกิดทักษะชีวิตในการดูแลแก้ไขปัญหา
  • พัฒนากลุ่มอาชีพต่าง ๆ
  • ให้มีการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน
  • จัดงบประมาณสนับสนุนกลุ่มตามความเหมาะสม
  • ให้ความรู้ เสริมหลักสูตรด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ อย่างครบวงจร
  • จัดตั้งหน่วยรับร้องทุกข์หรือรับคำปรึกษา
  • จัดระบบควบคุมกำกับการดำเนินงานตามแผนงานโครงการด้วยประชาคม
  • ระดมทรัพยากรของพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดสาธารณภัยและการเข้าถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • จัดตั้งกลุ่มอาชีพพื้นฐานตามภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  • จัดเวทีประชาคมในพื้นที่ด้วยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้น ๆ
  • จัดให้มีการแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาท้องถิ่น
  • อบรม ประชุมชี้แจงให้การเรียนรู้ การเมืองการปกครองท้องถิ่น
  • จัดโครงการรณรงค์ให้มีการเข้าวัดฟังธรรม
  • จัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนและกิจกรรมงานประเพณีที่สำคัญ ๆของ ท้องถิ่น
  • ให้มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม
  • จัดให้มีเวทีสมัชชา/เวทีพบปะในชุมชน/ท้องถิ่น
  • จัดให้ชุมชนไปทัศนศึกษาดูงานการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน
  • จัดทำแผนพัฒนาของชุมชนเองโดยชุมชนเป็นผู้ร่วมกำหนด
  • ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นองค์กรพัฒนาตัวอย่าง
  • จัดอบรมผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น
  • ส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นวางแผนกลยุทธิ์ และจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ชัดเจน
  • เชิญประชาชนเข้ามาร่วมรับฟังการประชุมสภาท้องถิ่น
  • จัดเวทีประชาคมในการชี้นำการบริหารและตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • แต่งตั้งตัวแทนประชาชนเข้ามาเป็นกรรมการร่วมในโครงการจัดซื้อ/จัดจ้างของท้องถิ่น
  • ฝึกอบรมสัมมนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ
  • จัดทำแผนที่ภาษี
  • ฝึกอบรมผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ฝึกอบรมสัมมนาบุคลากรของสถานศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ด้าน
  • ปรับโครงสร้างของสถานศึกษาให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลง
  • จัดระบบการจัดการของกลุ่มต่าง ๆ ให้มีศักยภาพมากขึ้น
  • ดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มในด้านการบริหาร การวางแผน การประชาสัมพันธ์การบัญชีแบบชาวบ้าน และอื่นๆ
  • ประสานการดำเนินงานด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ให้มีศักยภาพมากขึ้น
  • ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มต่าง ๆ สม่ำเสมอ
  • ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีของกลุ่มทุกลุ่มสับเปลี่ยนหมุนเวียนตามศักยภาพของกลุ่มในพื้นที่

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • ที่ทำการปกครอง
  • หน่วยการปกครองท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.)
  • หน่วยงานระดับอำเภอ
  • หน่วยงานระดับจังหวัด
  • ชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานสหกรณ์
  • สำนักงานเกษตรอำเภอ

2.2 แนวทางการพัฒนา : ชีวิตมีคุณภาพทั้งแผ่นดิน

ภารกิจ
  • พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟู และการรักษาพยาบาลโดยมุ่งเน้นงานสาธารณสุขสุข มูลฐาน
  • พัฒนาระบบการบริหาร/การตรวจสอบและการประเมินผล โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรท้องถิ่น
  • ส่งเสริมสวัสดิการสังคมในการสงเคราะห์ประชาชนผู้ด้อยโอกาสและผู้ใช้แรงงาน
  • ให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • ให้ชุมชนท้องถิ่นปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  • เสริมสร้างสถาบัน ครอบครัว องค์กรชุมชน ตลอดจนองค์กรประชาชนให้เข้มแข็ง
  • ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรชุมชน องค์กรประชาชน ให้มี่ศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • เสริมสร้างการพัฒนาจิตใจ โดยใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา
  • ปรับเปลี่ยนระบบงานงบประมาณและระเบียบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
  • ส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • ให้ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการบริการด้านคุณภาพชีวิตทุกประเภทอย่างเป็นธรรมทั่วถึง และเสมอภาค
  • พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรทุกประเภทเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่าย

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุ มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
  • เพื่อให้คนทุนคนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  • เพื่อให้ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน
  • เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานด้านการแพทย์และการสาธารณรณสุขเพื่อให้ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้ตามเกณฑ์งานสาธารณสุขมูลฐาน
  • เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้พัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน
  • เพื่อให้มีสถานพยาบาลศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษา สถานีตำรวจ และอื่น ๆ เพียงพอ คือการให้บริการตามมาตรฐานสากล
  • เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมทุกด้านอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และเสมอภาค
  • เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค เพียงพอและมีคุณภาพ
  • เพื่อให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยในการบริโภค
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการแก่บุคลากรทั้งรัฐ
  • เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
  • เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ใช้แรงงาน
  • เพื่อให้ประชาชนดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัยตามเกณฑ์ จปฐ.
  • เพื่อให้ประชาชน ท้องถิ่นปลอดอาชญากรรมทุกประเภท
  • เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มอาชีพมีสุขภาพจิตดีสามารถช่วยเหลือสังคมได้ตามศักยภาพ
  • เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณได้สะดวกตามปัญหาพื้นที่
  • เพื่อให้ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณและทรัพยากรด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย
  • ทุกหมู่บ้านปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน/หมู่บ้าน ได้แก่ผู้ ผู้สูงอายุ ผู้ประสบภัย เด็ก สตรี ผู้มีรายได้น้อย 100 % ทุกคน
  • ทุกหมู่บ้านครอบคลุมทุกพื้นที่
  • 100% ทุกคน ทุกสถานประกอบการ

วิธีการ
  • จัดให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ
  • จัดให้มีการประกันสุขภาพและสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกคน
  • จัดให้มีการบริการด้านการรักษาพยาบาลทุกระดับของการเจ็บป่วยทั้งในสถานบริการและนอกสถานที่บริการตามศักยภาพของหน่วยงาน
  • ดำเนินการควบคุมคุณภาพการให้บริการทุกประเภท ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • จัดเครือข่ายการรักษาพยาบาลระหว่างรัฐทุกระดับรวมทั้ง สถานบริการเอกชน
  • จัดบริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปรับปรุงศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนโดยชุมชนให้สามารถบริการ ประชาชนทุกกลุ่มอายุบรรลุเกณฑ์ตามความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
  • ศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ
  • จัดอบรมฟื้นฟูความรู้เพิ่มขีดความสามารถด้านบริหาร บริการและวิชาการของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • จัดให้มีการบรรจุหลักสูตรเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานบันการศึกษาทุกสังกัด
  • จัดตั้งองค์กรการบริหารของหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยมีชุมชนในภาคเอกชน ภาครัฐอื่นๆองค์กรท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบ
  • กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบควบคุม กำกับการดำเนินงาน รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผล
  • ดำเนินการควบคุม กำกับ ประเมินผล ตามมาตรการและตัวชี้วัดที่กำหนดโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ
  • ดำเนินการฟื้นฟูความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณะและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตามภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  • ดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย
  • เผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์การสาธารณสุขผ่านสื่อทุกประเภท
  • ประสานความร่วมมือกับกระทรวงอื่น ๆ อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย องค์กรท้องถิ่น ในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
  • ให้การสงเคราะห์และจัด สวัสดิการผู้ด้อยโอกาสทุกระดับได้รับเบี้ยยังชีพเงินส่งเคราะห์ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
  • จัดตั้งและพัฒนาศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ให้เป็นองค์กรชุมชนที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
  • ให้มีการคุ้มครองด้านสภาพการจ้างสภาพการทำงาน ตาม พรบ.ผู้คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
  • ให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนมีการประกันสังคมตาม พรบ. ประกันสังคม อย่างเคร่งครัด5. จัดระบบการให้สวัสดิการด้านบุคลากรควรช่วยเหลือเกื้อกูลและผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับสวัสดิการอย่างแท้จริง
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพตามศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่นให้เพียงพอ
  • จัดตั้งกลุ่มต่อต้านอาชญากรรมและยาเสพติดในชุมชนท้องถิ่น โดยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
  • จัดตั้งศูนย์บำบัด ฟื้นฟูการติดยาเสพติดในพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมของวัด ชุมชน โรงเรียนและภาครัฐ
  • ดำเนินการกิจกรรมออกกำลังกายการกีฬา การดนตรี หรือศิลปะด้าน อื่น ๆ ในชุมชน/ ท้องถิ่น
  • จัดตั้งเครือข่าย ป้องกันปราบปราม อาชญากรรม พร้อมบำบัดยาเสพติดในพื้นที่
  • เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติดอาชญากรรม อุบัติเหตุผ่านสื่อต่าง ๆ
  • ดำเนินกิจกรรมป้องกัน ปราบปรามบำบัด อาชญากรรม ยาเสพติด ป้องกัน อุบัติเหตุ อุบัติภัย ขององค์กรภาครัฐ ให้เชื่อมประสานกับองค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชนและชุมชน
  • กระตุ้นให้ชุมชนเกิดทักษะชีวิตในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดปัญหายาเสพติด ปลอดอาชญากรรมและอบายมุข
  • จัดกลุ่มแกนนำครอบครัว
  • จัดกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์โดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
  • ดำเนินการฝึกอบรมหรือสัมมนาแกนนำครอบครัวเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้าน
  • รณรงค์ให้ครอบครัวและทุกคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเอกลักษณ์ไทยด้วยสื่อหรือกลวิธีอื่น ๆ
  • จัดตั้งกลุ่มแกนนำของชุมชน
  • ดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มแกนนำ
  • จัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ เช่น การตลาด การผลิต การออมทรัพย์ กลุ่มเข้าถึงบริการสาธารณสุข ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามศักยภาพของชุมชน
  • ปรับปรุงการดำเนินงานของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วให้ขีดความสามารถเพิ่มขึ้นและยั่งยืน
  • จัดให้มีการเรียนรู้นอกระบบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของชุมชนและท้องถิ่น
  • รณรงค์ให้มีการปฏิบัติ ศาสนกิจสม่ำเสมอตามเกณฑ์ จปฐ. ด้วยวิธีการต่าง ๆ
  • จัดสถานที่ให้คำปรึกษาเรื่องต่าง ๆ แก่ประชาชนที่มีปัญหาทั้งในชุมชน ท้องถิ่น สถานศึกษา สถานพยาบาลและหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย
  • ดำเนินกิจกรรมกลุ่มนันทนาการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม
  • ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ ศิลปะและวัฒนธรรม
  • ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ ศิลปะพื้นบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของประชาคม
  • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
  • จัดให้มีการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ทั้งในระบบการศึกษา และ นอกระบบการศึกษาโดยความร่วมมือของผู้นำศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิ
  • จัดให้มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเพื่อเป็นสถานที่พัฒนาจิตใจของชุมชน
  • ถ่ายโอนกิจกรรมซึ่งสามารถดำเนินการในท้องถิ่น ชุมชน เอกชน อาทิเช่น น้ำสะอาด น้ำเสีย การกำจัดขยะ การควบคุมโรคในท้องถิ่น การประกันสุขภาพ เป็นต้น โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น
  • ร่วมทุนกับองค์กรเอกชนหรือ ท้องถิ่นในการดำเนินการของภาครัฐ อาทิยานพาหนะ การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย อาหารของสถานพยาบาล การซ่อมบำรุงครุภัณฑ์เป็นต้น
  • จัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่โดยตรงและให้พื้นที่ดำเนินการบริหารจัดการด้วยองค์กรของพื้นที่เอง รัฐจัดระบบการควบคุมและสนับสนุนทางวิชาการ
  • กำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารงบประมาณ ทรัพยากร การจัดการให้เป็นไปตามข้อบังคับสิทธิประโยชน์โดยมีการร่วมของพหุภาคี
  • ดำเนินการให้ความรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แก่บุคลากรในพื้นที่ทุกระดับด้วยวิธีการต่าง ๆ
  • จัดอบรมผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากร
  • จัดตั้งกลุ่มเพื่อดูแล ควบคุมการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ
  • ก่อสร้างสถานบริการด้านคุณภาพชีวิตและศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับบริการทุกประเภทด้วยการร่วมทุนของพหุพาคี
  • ปรับปรุงหรือก่อสร้างทดแทนสถานบริการด้านคุณภาพชีวิตเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • ดำเนินการจัดหาครุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ ในการให้บริการให้เพียงพอ
  • กำหนดแบบแปลนก่อสร้างและคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมกับบริการและพื้นที่
  • ดำเนินการเพิ่มศักยภาพและควบคุมคุณภาพการให้บริการด้านคุณภาพชีวิตทุกด้านเข้าสู่มาตรฐานภาครัฐ
  • ดำเนินการจัดกระบวนการให้บริการขององค์กร ทั้งภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นรวดเร็วขึ้นโดยการบริการในจุดเดียว
  • จัดสำนักงานทุกแห่งเป็นลักษณะสำนักงานอัตโนมัติ ตามมาตรฐาน P.S.O.
  • จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารหน่วยงานสารสนเทศของหน่วยงานทุกระดับ
  • ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่นในการบริหาร/จัดการ การบริการและเทคโนโลยี
  • เขียนโปรแกรมด้านสารสนเทศโดยบุคลากรภาครัฐ หรือจ้างเหมาเอกชน
  • ให้มีการพัฒนาด้านปัจจัยพื้นฐานให้มีอย่างเพียงพอทั่วถึงทุกชุมชน ทั้งไฟฟ้า โทรศัพท์ และประปา ที่อยู่อาศัย สถานบริการสาธารณะ ฯลฯ

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • ที่ทำการปกครองอำเภอ
  • สำนักงานศึกษาธิการ
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานสาธารณสุข
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • สำนักงานสาธารณสุข
  • ประชาสงเคราะห์จังหวัด
  • สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
  • แรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด
  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  • เทศบาลตำบล
  • สำนักงานเกษตร
  • สำนักงานประมง
  • อบต.

2.3 แนวทางการพัฒนา : พลเมืองใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นนิจ

ภารกิจ
  • จัดเตรียมองค์การหน่วยงาน / สถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อม สามารถจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแนวทางการปฏิรูประบบราชการ
  • เตรียมความพร้อมองค์กรเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการจัดการศึกษาทุกระดับ
  • กำหนดแนวทางในการเชื่อมโยงวัด มัสยิด สถาบันศาสนา กับหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ร่วมมือกันในการมือกันในการจัดการศึกษา อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เป็นแหล่งส่งเสริมคุณภาพประชาชนในด้านการศึกษาการพัฒนาจิตใจ การพัฒนาคุณธรรม และ จริยธรรม
  • ส่งเสริม พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
  • พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้การจัดการศึกษาและแนวทางพัฒนาการศึกษาของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชสามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้หน่วยงาน/สถานศึกษามีความพร้อมในการบริการการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของ ผู้รับบริการและประชาชน
  • เตรียมความพร้อมองค์กรเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการจัดการศึกษาทุกระดับ
  • เพื่อให้สถาบันศาสนาได้มีส่วนร่วมกับองค์กรเอกชนหน่วยงานภาครัฐ อย่างจริงจังในการจัดการศึกษา การพัฒนา/ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ ให้แก่ เยาวชน และประชาชนใน
  • ท้องถิ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนสร้างควาสัมพันธ์ และความเข้าใจที่ดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันศาสนา
  • เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบ จัดการศึกษาได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจัดการศึกษา
  • เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับบริการทางการศึกษาโดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
  • เพื่อให้มีกระบวนการเรียนการสอนเชิงคุณภาพ ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

เป้าหมาย
  • สถานศึกษาทุกแห่งและบุคลากรทุกคนมีความพร้อมในการจัดการศึกษาสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หน่วยงาน/สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนสถานศึกษาทุกแห่ง
  • ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรร่วมระหว่างภาครัฐภาคเอกชน สถาบันศาสนาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ศาสนสถานได้รับการพัฒนาอย่างน้อย ปีละ 20%
  • สถานศึกษาทุกระดับได้จัดกิจกรรมซึ่งได้เชิญ นิมนต์ บุคลากรทางศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
  • ให้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทุกหมู่บ้านมีระบบทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 25%
  • ในปี 2549 เยาวชนและประชาชนทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียนสามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้อย่างน้อย 60%
  • จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา-ทุกสถานศึกษา จัดการเรียนการสอน ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง

วิธีการ
  • ประชุม อบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากร
  • การทำประชาคมด้านการศึกษา
  • การปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
  • จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมและความต้องการของท้องถิ่น
  • ประชุมปฏิบัติการ/ฝึกอบรม
  • จัดทำแผนการให้บริการทางการศึกษาร่วมกัน
  • จัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพ-ส่งเสริมให้องค์กรปรกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มี/พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหมู่บ้าน
  • จัดให้มี/พัฒนาอุทยานการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา
  • พัฒนาสถานที่+บรรยากาศ ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
  • ให้บุคลากรทางศาสนาได้มีส่วนร่วมกับองค์กรเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ในการปลูกฝังคุณธรรม+จริยธรรม ในสถานศึกษามากขึ้น
  • ติดตั้ง ขยายเครือข่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดขึ้นต่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
  • จัดให้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการให้บริการการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประชุมอบรม จัดให้มีเครือข่ายการประกันคุณภาพ
  • ประชุม สัมมนา และ ประชุมเชิงปฎิบัติการเสริมทักษะการสอนของครู
  • ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • สำนักงานศึกษาธิการ
  • สำนักงานการประถม
  • ศึกษาอำเภอเมืองฯ
  • สำนักงานศึกษาธิการ
  • สำนักงานการประถม
  • องค์การบริหารส่วนตำบล

2.4 แนวทางการพัฒนา : เป็นท้องถิ่นวัฒนธรรมค้ำสังคม

ภารกิจ
  • สร้างจิตสำนึกด้านสังคม/วัฒนธรรม
  • สร้างเสริมสนับสนุนงานวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • อนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาวัฒนธรรม
  • ดำเนินการป้องกันปราบปราม และการบำบัด การเล่นการพนันและอบายมุข
  • สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความอบอุ่นในครอบครัว

วัตถุประสงค์
  • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างแท้จริง
  • เพื่อให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะ
  • สร้างค่านิยมที่สอดคล้องเหมาะสมและดีงานตลอดทั้งคุณค่าก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
  • เพื่อรวมกลุ่มอย่างอิสระเป็นพลังผลักดันให้เกิดศักยภาพ
  • เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติคนดี
  • เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้องค์กร
  • เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้
  • เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง รู้คุณค่าของวัฒนธรรม
  • เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ พัฒนา อนุรักษ์ และ ส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพื่อให้เห็นโทษของการเล่นการพนันและอบายมุข

เป้าหมาย
  • บุคคล ครอบครัว ชุมชนนักเรียน นักศึกษา เด็กเยาวชน และหน่วยงาน
  • ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
  • ได้บุคคลดีเด่นหรือบุคคลตัวอย่างสาขาละ 1 คนในกลุ่มที่มีความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ
  • สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทจัดทำหลักสูตรวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นให้รับการฟื้นฟูและพัฒนาอย่างทั่วถึง
  • การดำเนินชีวิต สอดคล้องกับวัฒนธรรม โดยปรับใช้อย่างเหมาะสมทุก ชุมชน
  • กลุ่มเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป ทุกครอบครัว หมู่บ้าน/ตำบล

วิธีการ
  • การจัดเวทีชาวบ้านหาข้อสรุป
  • จัดประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดวัฒนธรรมตลอด
  • การประสานแผนดำเนินงาน
  • จัดตั้งองค์กร สร้างชมรม “ยุวศิลปะ” เพื่อสนับสนุนกรรมการรวมกลุ่มด้านวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย
  • จัดตั้งกองทุนวัฒนธรรมด้านคนดีเพื่อเชิดชูเกียรติของวัฒนธรม
  • สนับสนุนคนทำดี
  • ใช้กระบวนการทางการศึกษา
  • จัดอบรมบุคลากรด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • จัดกิจกรรมเกี่ยวกับงานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา
  • จัดการบูรณะการซ่อมแซมโบราณสถานวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรมให้คงสภาพเดิมทุกชิ้น เข้มงวดกวดขันให้ลด ละ เลิก การเล่นการพนันและอบายมุข เข้มงวดกวดขันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษและอาชญากรรม

หน่วยงานรับผิดชอบ
    สำนักงานการประถม
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานสาธารณสุข
  • ที่ทำการปกครองอำเภอ
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • สำนักงานศึกษาธิการ
  • สำนักงานการประถม-
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานสาธารณสุข
  • ที่ทำการปกครองอำเภอ
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอ

2.5 แนวทาง : เศรษฐกิจยั่งยืนทุกท้องที่

ภารกิจ
  • ผลักดันแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฎิบัติ
  • พัฒนาการผลิตข้าว
  • พัฒนาการผลิตยางพารา
  • พัฒนาการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
  • พัฒนาการผลิตด้านการประมง
  • พัฒนาอุตสาหกรรมจากข้าว
  • พัฒนาอุตสาหกรรมจากยางพารา
  • พัฒนาอุตสาหกรรมผักผลไม้
  • พัฒนาอุตสาหกรรมจากสัตว์น้ำ
  • พัฒนาอุตสาหกรรมการปศุสัตว
  • พัฒนาการผลิตปศุสัตว์
  • สนับสนุนและพัฒนาองค์กรเกษตรกร

วัตถุประสงค์
  • สร้างความเข้มแข็งระบบเศรษฐกิจและการมีรายได้ของประชาชนที่แน่นอนและรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
  • เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพข้าว
  • เพื่ออนุรักษ์ข้าวพันธ์พื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในการบริโภค
  • เพื่อให้ชาวสวนยางพารามีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
  • เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต
  • เพื่อให้มีผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ
  • เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ
  • เพื่อเพิ่มมูลค่า และรองรับผลผลิต
  • เพื่อเพิ่มผลผลิตมูลค่า และรองรับผลผลิต
  • เพื่อเพิ่มมูลค่า และรองรับผลผลิต
  • เพื่อสนับสนุนเลี้ยงปศุสัตว์
  • เพื่อเพิ่มปริมาณปศุสัตว์-อนุรักษ์สัตว์พื้นเมืองที่มีคุณสมบัติและลักษณะดี
  • เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับองค์กรเกษตรกร

เป้าหมาย
  • หน่วยงานภาครัฐ เอกชนท้องถิ่นบางหน่วยสนับสนุนวิชาการ ปัจจัย การผลิตและการพัฒนาระบบการตลาดให้ครบวงจร
  • เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จาก 364 กก./ไร่เป็น 500 กก./ไร่
  • เพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 276 กก./ไร่ เป็น300 กก./ไร่
  • เพิ่มปริมาณยางแผ่นดิบคุณภาพ1 ให้ได้ร้อยละ 50 ของปริมาณผลผลิต ทั้งหมด
  • มีทางเลือกในการผลิตยางแผ่น ยางก้อน ขายน้ำยาง
  • เพิ่มผลผลิตต่อไร่ขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 %
  • มีการคัดเกรดและการบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม
  • มีผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษบริโภค
  • เพิ่มผลผลิตขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • มีการใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดทั้งหมด
  • จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา
  • จัดตั้งโรงงานแปรรูปหรืออุตสาหกรรมผักผลไม้อย่างน้อย 2 แห่ง
  • จัดตั้งอุตสาหกรรมห้องเย็นเพิ่มอย่างน้อย 1 แห่ง
  • จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำอย่างน้อย 1 แห่ง
  • จัดตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ 1 แห่ง
  • เพิ่มผลผลิตขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • องค์กรที่เป็นนิติบุคคลที่มีความเข้มแข็งไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ส่วนองค์กรที่ไม่เป็นนิติบุคคลมีความเข้มแข็งไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

วิธีการ
  • ดำเนินการให้ทุกพื้นที่/ชุมชน มีกิจกรรม อาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว
  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา
  • เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรชาวสวนยาง
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม
  • ส่งเสริมการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • กำหนดเขตการเพาะเลี้ยงการทำการประมง
  • ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและอุตสาหกรรมการแปรรูปจากข้าว เช่น การทำขนม ต่าง ๆ
  • สนับสนุนอุตสาหกรรมยางครบวงจรเช่น โรงงานผลิตล้อรถยนต์ ถุงมือ
  • ส่งเสริม สนับสนุนการแปรรูปและอุตสาหกรรมจากผักผลไม้
  • สนง.อุตสาหกรรม
  • สนง.ประมงน้ำจืด
  • ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตอาหารสัตว์
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปศุสัตว์
  • สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์พื้นเมือง
  • สนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาองค์กรเกษตรกร

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • สำนักงานเกษตรอำเภอ
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
  • สำนักงานประมงอำเภอ
  • สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
  • สำนักงานสหกรณ์

2.6 แนวทางการพัฒนา : สิ่งแวดล้อมสมดุลย์คืนอย่างเหมาะสม

ภารกิจ
  • ให้ความรู้ เสริมสร้างทัศนคติแก่ประชาชนทุกพื้นที่
  • สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร ชุมชน และท้องถิ่น
  • เร่งรัดการดำเนินการในการใช้มาตรการทางกฎหมายในการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อม
  • สร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้แก่ประชาชนรอบพื้นที่ให้รัก หวงแหน และรู้จักวิธีป้องกันป่า
  • อนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งในเขตภูเขาที่ราบ และชายฝั่งทะเล

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อให้องค์กร ชุมชน และท้องถิ่น สามารถจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อสนับสนุนให้การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นประกอบอาชีพของประชาชน
  • เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติของจังหวัด
  • เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง ๆ
  • เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติให้สมบูรณ์ ยั่งยืนทั่วพื้นที่ป่าที่ราบชายฝั่งและทางทะเลให้สมบูรณ์ ยังยืน
  • เพื่อปรับปรุงสภาพที่ราบทุกพื้นที่ให้แหล่งทำกินของประชาชน

เป้าหมาย
  • ปี ละ 2 ครั้ง
  • หมู่บ้าน, ตำบล,ท้องถิ่น, ชุมชน
  • ทุกหมู่บ้านพื้นที่เขตภูเขาและริมฝั่งแม่น้ำ และทะเล

วิธีการ
  • ขอการสนับสนุนงบประมาณเทคโนโลยีและวิชาการจากภาครัฐองค์กร เอกชนและท้องถิ่น
  • จัดให้มีประชาคมทุกระดับ
  • จัดให้มีความร่วมมือ ประสานงานกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น
  • ดำเนินการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนด้วยสื่อ ทุกประเภท
  • เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายและเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายด้าน สิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินการศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • จัดให้มีศูนย์กำกับดูแลทรัพย์กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • อบรมราษฎร ผู้นำชุมชนจัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • ที่ทำการปกครอง
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานประมง
  • สำนักงานสาธารณสุข

2.7 แนวทางพัฒนา : สู่ศูนย์กลางภูมิภาคน่านิยม

ภารกิจ
  • ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและการผลิตทางการเกษตร

วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นแหล่งความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทางการเกษตรระดับภูมิภาค
  • เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและการตลาด

เป้าหมาย
  • ให้เอกชนจัดทำแปลงทดลองพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์
  • ให้เกิดศูนย์รวมการศึกษาทางด้านการเกษตร
  • ให้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจังทุกศูนย์
  • มีการแบ่งเขตการปลูกพืชให้ชัดเจนภายในปี 2545
  • ต้องมีการผลิตข้างคุณภาพดี
  • มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

วิธีการ
  • ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมมือในการจัดทำแปลงทดลองพันธุ์พืช สัตว์พันธุ์ใหม่ๆ
  • ตั้งศูนย์การศึกษาทางการเกษตรจากสถานศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อจักการหลักสูตรและการบริหาร
  • พัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้เอื้ออำนวยต่อชุมชน
  • แบ่งเขตการปลูกพืชให้ชัดเจน
  • วางแผนการผลิตตามเขตการปลูกพืชให้สอดคล้องกับตลาดพืชผล

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • สำนักงานเกษตร
  • สำนักงานปศุสัตว์

2.8 แนวทางการพัฒนา : ประชาคมรวมพลังสร้างเมืองนคร

ภารกิจ
  • ให้มีการจัดตั้งกลุ่มหลากหลายในระดับหมู่บ้าน ตำบล
  • พัฒนากลุ่มให้มีคุณภาพประสิทธิภาพเข้มแข็งยังยืน
  • สนับสนุนให้ทุกกลุ่มองค์กรมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเอื้อต่อการพัฒนาอย่างจริงจัง
  • ส่งเสริมองค์กรสตรีทุกระดับให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตนเอง ครอบครัว

วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาเสริมให้ประชาชนมีบทบาทร่วมในการพัฒนา
  • เพื่อให้ประชาชนมีประสบการณ์ในการทำงานเป็นกลุ่ม
  • เพื่อให้เกิดเอกภาพในการร่วมมือ ร่วมทำกิจกรรมที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง เพื่อให้กลุ่มมีศักยภาพทัดเทียมกับกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  • เพื่อให้องค์กรเข้มแข็งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • พัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  • เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
  • เพื่อให้องค์กรสตรีได้มีความเข้มแข็ง

เป้าหมาย
  • เมื่อสิ้นแผน ฯ 9 มีการจัดตั้งองค์กรชุมชนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หมู่บ้านทั้งหมด
  • สมาชิกในองค์กรเป้าหมายได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตามบทบาท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ขององค์กรทุกหมู่บ้าน
  • องค์กรสตรีในระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

วิธีการ
  • ให้แนวคิดเรื่องความสำคัญของการรวมกลุ่มจนประชาชนเกิดจิตสำนึกและทัศนคตุที่มีต่อการรวมกลุ่ม
  • จัดให้มีโอกาสได้ดูงานชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่ม
  • จัดตั้งกลุ่มสาธิตขึ้นในชุมชน ให้บุคลากรในองค์กรได้มีความรู้ทัศนคติ ทักษะและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร
  • จัดระบบข้อมูลเครือข่าย
  • ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์
  • ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรในองค์กรชุมชน
  • ยกย่อง หรือเชิดชูองค์กรเครือข่ายที่มีคุณภาพให้ปรากฏ
  • ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรสตรีในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล และ อำเภอ
  • พัฒนาองค์กรสตรีให้เข้มแข็ง
  • สนับสนุนให้องค์กรสตรีในระดับต่าง ๆ มีบทบาทในการพัฒนา

หน่วยงานรับผิดชอบ
  • ที่ทำการปกครอง
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน
  • สำนักงานสาธารณสุข
  • สำนักงานเกษตร
  • สำนักงานสหกรณ์