
คลองตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวง บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลพิปูน และหมู่ที่ 6 ตำบลยางค้อม ขนาดของคลองกว้าง 30 เมตร ลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร ยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
คลองระแนะ เกิดจากเทือกเขาหลวงบริเวณหมู่ที่ 6 ตำบลพิปูน และหมูที่ 4 ตำบลเขาพระ ขนาดของคลองกว้าง 30 เมตร ลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร ยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
คลองดินแดง เกิดจากเขาบรรทัดบริเวณหมู่ที่ 10 ตำบลเขาพระ ขนาดของคลองกว้าง 30 เมตร ลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร ยาวประมาณ 25 กิโลเมตร (ตอนล่างสร้างอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง)
คลองกะทูน เกิดจากเขาปลายกะทูนและเขาช่องลมใต้ บริเวณหมู่ที่ 8 ตำบล กะทูน ขนาดของคลองกว้าง 30 เมตร ลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร ยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ( ตอนล่างสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทูน)
จากการเกิดแหล่งน้ำทั้ง 4 สาย ทำให้เกิดลุ่มน้ำขึ้นเรียกว่า ลุ่มน้ำตาปี (ลุ่มน้ำตาปีตอนบน) มีพื้นที่รับน้ำฝนของคลองทั้ง 4 สาย ร่วมกันมากกว่า 200 ตารางกิโลเมตร คลองทั้ง 4 สาย ไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำตาปี ไหลผ่านช่องแคบที่เรียกว่า ช่องน้ำดำ ที่บ้านคุ้งวังวัว หมู่ที่ 6 ตำบลควนกลาง ออกไปยังบ้านนาเขลียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อุทยานแห่งชาติเขาหลวงครอบคลุมพื้นที่ หลายตำบลในเขตอำเภอพิปูน ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเขาพระ กะทูน พิปูน ยางค้อม ทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 14,000 ไร่
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขากะทูนและป่าเขาปลายกะเบียด ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอ พิปูน และอำเภอฉวาง เฉพาะมีอยู่ในอำเภอพิปูน ครอบคลุมตำบลกะทูน และตำบลเขาพระ มีเนื้อที่ 164,357 ไร่
ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเพลง อยู่ในพื้นที่อำเภอพิปูนและอำเภอฉวาง เฉพาะที่อยู่ในอำเภอพิปูน ปกคลุมตำบลควนกลาง และตำบลยางค้อม เนื้อที่ 26,260 ไร่ ป่าแปลงนี้ถูกบุกรุกไม่น้อยกว่า 20 ปี สภาพป่าถูกทำลายไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เหลือพื้นที่ป่าบริเวณหุบเขา และสันเขาบางส่วน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
พื้นที่ป่าเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หน้าดินลึก การระบายน้ำได้ดี มีความอุดม สมบูรณ์ของดินปานกลาง เหมาะแก่การปลูกยางพารา และพืชไร่ เนื้อที่ประมาณ 60เปอร์เซ็นต์
พื้นที่เนินเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพดินเป็นกรด เหมาะสำหรับปลูกยางพารา ไม้ผลและพืชไร่ เนื้อที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่ราบ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว การระบายน้ำและความอุดมสามบูรณ์ของดินต่ำเหมาะแก่การทำนา ปลูกพืชไร่ เนื้อที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
แร่ธาตุและการทำเหมือแร่
ในพื้นที่อำเภอพิปูน มีแร่ดีบุกมาก ในอดีตมีการทำเหมืองแร่ดีบุกกันมาก ปัจจุบันได้เลิกร้างไปจึงมีสภาพเป็นเหมือร้าง แต่ยังมีราษฎรบางส่วนร่อนเร่ตามสายน้ำเป็นอาชีพ

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมภายในอำเภอพิปูน ยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่หนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสภาพธรรมชาติอยู่มาก แต่แนวโน้มในอนาคตเมื่อได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแล่งท่องเที่ยว และชุมชนต่างๆ จะต้องเกิดปัญหาอย่างแน่นอน
|