www.tungsong.com
สนับสนุนข้อมูล โดยอำเภอพิปูน เบญจศรัทธา เจ้าฟ้าปราณี คีรีล้อมข้าง สองอ่างพักผ่อน น้ำร้อนหลายบ่อ มากพอน้ำตก ชูยกคนดี ตาปีแดนเกิด
 


          ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของอำเภอพิปูน จากข้อมูล จปฐ 2543 มีรายได้รวม 547, 954,985 บาท รายได้ต่อหัว 19,645 บาท/คน/ปี โครงสร้างทางเศรษฐกิจ อาชีพหลักคือภาคเกษตรกรรม ได้แก่

    การเกษตรกรรม

             มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 117,558 ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน 6,909 ครอบครัว สภาพการผลิตของพืชที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้
ลำดับที่ พืชเศรษฐกิจ พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก./ไร่/ปี) จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
1. ยางพารา 93,919 300 3,535
2. นาข้าว 5,087 279 1,784
3. เงาะ 3,362 93 1,510
4. มังคุด 2,525 80 1,262
5. ทุเรียน 2,147 94 1,160
6. ลองกอง 1,385 90 341

   

                 การประกอบอาชีพด้านการประมงส่วนมากจะทำการประมง รายย่อย (ครอบครัว) ที่รวมกลุ่มเป็นอาชีพก็มีกลุ่มเลี้ยงปลากินพืช 1 กลุ่ม กลุ่มเลี้ยงกบหมู่ที่ 11 ตำบลเขาพระ และกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังอ่างเก็บน้ำคลองกะทูน หมู่ที่ 6 ตำบลกะทูน โดยการส่งเสริมของบริษัท ซี.พี. ขณะนี้เลี้ยงไปแล้วประมาณ 80 กระชัง ปลา 100,000 ตัว กำลังจะเพิ่มเป็น 120 กระชัง ซึ่งจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการพบว่าบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนสามารถเลี้ยงปลาดังกล่าวได้ 2 หมื่นกระชัง โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์

    ปศุสัตว์

                 ปริมาณและมูลค่า แหล่งผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีก แยกได้ดังนี้
ลำดับที่ ชนิดปศุสัตว์ แหล่งผลิต ปริมาณ(ตัว/เดือน) มูลค่า(บาท/ตัว)
1. ลูกสุกรหย่านม ม.4,5,8 ต.กะทูน ม.3,6,8,11 ต.เขาพระ ม.2,3 ต.ควนกลาง
ม.4,5 ต.พิปูน
ม.2,5,7,8,9 ต.ยางค้อม
80 -100
50 - 80
50 - 80
20 - 30
30 - 50
800 - 1,000
800 - 1,000
800 - 1,000
800 - 1,000
800 - 1,000
2. สุกรขุน สถานที่เดียวกับลูกสุกรหย่านม 50-120 3,000 - 3,600
3. แพะ ม.5 ต.กะทูน ม.6,8 ต. 3 - 5 1,500 - 2,400
4. โคพื้นเมือง เขาพระ
ม.8,9,10 ต.เขาพระ
และหมู่บ้านทั่วไปในตำบลอื่น
30 - 50 12,000 - 18,000
5. ไก่พื้นเมือง - 300 - 500 55 - 70
6. ไก่เนื้อ - 1,500 - 3,000 45 - 50
7. เป็ดเทศ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้านม.4,5 ต.พิปูน 30 - 50 60 - 85
8. ไข่ไก่ ม.8,11 ต.เขาพระ และทั่วไป
ม.1,8 ต.กะทูน
ม. 9,11 ต.เขาพระ
18,000 - 20,000
20,000 - 25,000
(1.50 - 2.20 บาท/ฟอง)
   

                 มีโรงงานอุตสาหกรรม 4 แห่ง คือ โรงงานเซรามิค 1 แห่ง โรงงานทำที่คาดผมสตรี 1 แห่ง โรงงานอบยางพารา 2 แห่ง

    แรงงาน

                 กำลังแรงงานของอำเภอพิปูนอยู่ในภาวะที่คนล้นงาน หรืออยู่ในลักษณะ แรงงานแบบแฝง ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตร และมีที่ทำการเกษตรจำกัด ซึ่งมีสถิติดังนี้

                 จำนวนครัวเรือนที่ไปทำงานนอกตำบล 562 ครัวเรือน

                 จำนวนแรงงานที่ไปทำงานนอกตำบล 1,192 คน

                 จำนวนคนว่างงาน 410 คน

   

                  ประกอบธุรกิจการค้า ส่วนมากจะประกอบธุรกิจการค้ารายย่อยใช้งบประมาณการลงทุนไม่มาก มีจำนวนทั้งสิ้น 94 ราย

    การท่องเที่ยว

                  น้ำตก (ที่สำคัญ)

                           1) น้ำตกแสนห่า หมู่ที่ 6 ตำบลพิปูน

                           2) น้ำตกวังแรด หมู่ที่ 6 ตำบลพิปูน

                           3) น้ำตกหนานน้ำฟุ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลกะทูน

                           4) น้ำตกหนานฟู (น้ำตกสาวสวย หรือ น้ำตกเหนือฟ้า) หมู่ที่ 5 ตำบลพิปูน

                           5) น้ำตกหนานฝาหม้อ หมู่ที่ 4 ตำบลพิปูน

                           6) น้ำตกห้วยสาว หมู่ที่ 8 ตำบลกะทูน

                           7) น้ำตกหนานนกแอ่น หมู่ที่ 3 ตำบลพิปูน

                           8) น้ำตกหนานนกยูง หมู่ที่ 10 ตำบลเขาพระ

                           9) น้ำตกห้วยสูง หมู่ที่ 10 ตำบลเขาพระ

                 บ่อน้ำร้อน

                           1) บ่อน้ำร้อนบ้านหน้าเขา หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ

                           2) บ่อน้ำร้อนห้วยทรายขาว หมู่ที่ 5 ตำบลกะทูน

                           3) บ่อน้ำร้อนบ้านหูนบ หมู่ที่ 4 ตำบลพิปูน

                           4) บ่อน้ำร้อนและบ่อน้ำเย็น หมู่ที่ 5 ตำบลกะทูน

                 อ่างเก็บน้ำ

                           1) อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน

                           2) อ่างเก็บน้ำคลองดินแดง

                 อื่นๆ

                           1) ภูเขาพระ (สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่)

                 ที่พัก

                           มีบังกะโล 1 แห่ง และมีเรือนรับรองที่สามารถพักได้ 2 แห่ง มีร้านจำหน่ายอาหาร 7 แห่ง สถานบริการและเริงรมย์ 2 แห่ง

   

                  มีธนาคาร 1 แห่ง ได้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

                  มีสหกรณ์การเกษตร 9 แห่ง

                  งบประมาณของท้องถิ่น 8,128,384.78 บาท

                  รายได้จาการจัดเก็บภาษี 9,294,119.67 บาท
สิ้นระยะ เงินฝาก สินเชื่อ ร้อยละ
30 มิ.ย 2543 148,075 ล้านบาท 320,250 ล้านบาท -