www.tungsong.com

 
การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
 
ในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของอำเภอลานสกา ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากแนวทางการพัฒนาจังหวัดประจำปี ข้อมูลสภาพทั่วไปของอำเภอข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาอำเภอ (กชช. 2 ข) ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ ข้อมูลสรุปเหตุผล กชช. 2 ค. ระดับอำเภอ และข้อมูลผลการประมวล จปฐ. เสร็จแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดมาจัดทำหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบและวิเคราะห์ กำหนดประเด็นปัญหาดัชนีชี้วัดของข้อมูล กชช. 2 ค. ข้อมูล จปฐ. และข้อมูลอื่น ๆ โดยคณะทำงานประชาคมแผนพัฒนาอำเภอ (ที่ประธาน กพอ. แต่งตั้ง) เป็นผู้พิจารณากำหนดปัญหา โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณา คือ
 
1. ขนาดของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา
 
2. ความร้ายแรงและความเร่งด่วนของปัญหา
 
3. ความเสียหายที่จะเกิดจากปัญหาในแง่การพัฒนาในอนาคต
 
4. การยอมรับปัญหาร่วมกัน

 
ทั้งนี้ คณะทำงานประชาคมแผนพัฒนาอำเภอ ได้จัดกลุ่มปัญหาออกเป็น 7 ด้าน คือ
 
1. กลุ่มปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
 
2. กลุ่มปัญหาผลผลิต รายได้และการมีงานทำ
 
3. กลุ่มปัญหาสาธารณสุขและการอนามัย
 
4. กลุ่มปัญหาความรู้และการศึกษา
 
5. กลุ่มปัญหาแหล่งน้ำ
 
6. กลุ่มปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
 
7. กลุ่มปัญหาอื่น ๆ

  ลำดับความสำคัญของปัญหา

ลำดับ หลักเกณฑ์ปัญหา ขนาดของกลุ่ม ความร้ายแรงและเร่งด่วน ความเสียหายในอนาคต การยอมรับของชุมชน รวม
1 1. โครงสร้างพื้นฐาน 10 8 10 10 38
2 2. ผลผลิตรายได้และการมีงานทำ 8 10 10 8 36
3 3. แหล่งน้ำ 6 7 8 10 31
4 4. ความรู้และการศึกษา 4 5 7 5 21
5 5. สาธารณสุขและการอนามัย 3 4 5 5 17
6 6. ทรัพยากรธรรมชาติ 2 3 4 4 13
- 7. อื่น ๆ - - - - -


  สภาพปัญหาที่สำคัญและข้อจำกัดของอำเภอ
 
1. ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ประเด็น รายละเอียด
 ปัญหาการคมนาคมไม่สะดวก   - ในหลายพื้นที่ในเขตอำเภอลานสกานั้น ยังไม่มีความสะดวกในเรื่อง การคมนาคม โดยเฉพาะในฤดูฝนและเขตที่อยู่ห่างไกล
 สาเหตุ   - ไม่ได้วางผังเมืองไว้ก่อน
  - ราษฎรบางรายไม่ยอมอุทิศที่ดินเพื่อสร้างถนน
 แนวทางแก้ไข   - จัดให้มีหรือตัดถนนใหม่ และบูรณะซ่อมแซมถนนที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ทุกฤดูกาล

  2. ปัญหาด้านผลผลิต รายได้ และการมีงานทำ

ประเด็น รายละเอียด
ปัญหาเรื่องผลผลิตตกต่ำและการส่งเสริมอาชีพ   - ราษฎรของอำเภอลานสกาส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านการเกษตร เช่นการปลูกผลไม้และยางพารา แต่มีปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำและผลผลิตไม่ออกตามฤดูกาล
สาเหตุ   - เกษตรกรไม่มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ
  - ปัจจัยในด้านการผลิต เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ
  - ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
แนวทางแก้ไข   - จัดให้มีการอบรมความรู้แก่เกษตรกรในด้านการปลูกพืชแบบยั่งยืน
  - ส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎร โดยแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตร แบบครบวงจร

  3. ปัญหาด้านแหล่งน้ำ

ประเด็น รายละเอียด
  การขาดน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร   - ประชาชนในเขตอำเภอลานสกา ยังขาดแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  ตัวชี้วัด   - ในฤดูแล้งราษฎรไม่มีน้ำใช้ในการเกษตร ขาดน้ำสะอาดในการอุปโภค บริโภค
  สาเหตุ   - ปัญหาเรื่องฝนไม่ตกตามฤดูกาล
  - ไม่มีที่เก็บกักน้ำแบบมาตรฐาน
  แนวทางแก้ไข   - ขุดสระน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตร
  - สร้างฝายเก็บน้ำ
  - ขุดลอกหนองและคลองต่าง ๆ
  - สร้างประปาหมู่บ้าน

  4.ปัญหาด้านความรู้และการศึกษา

ประเด็น รายละเอียด
  การศึกษาของประชาชน
- ขาดความรู้
- ขาดการศึกษาที่ต่อเนื่อง
  - ประชาชนในเขตอำเภอลานสกา ยังขาดแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  ตัวชี้วัด   - การศึกษาตามเกณฑ์ศึกษาภาคบังคับ
  สาเหตุ   - ความยากจน
  แนวทางแก้ไข   - ให้การศึกษาทุกระดับและยกระดับการศึกษาของประชาชน
- ให้เด็กที่มีอายุครบตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้เรียนตามเกณฑ์

  5. ปัญหาด้านสาธารณสุขและอนามัย

ประเด็น รายละเอียด
  ปัญหาด้านสาธารณสุขและการอนามัยของประชาชน   - ประชาชนในเขตอำเภอลานสกายังมีปัญหาทางด้านสุขภาพและอนามัย
  ตัวชี้วัด   - ประชาชนยังมีคุณภาพชีวิตไม่ดีพอ
  สาเหตุ   - ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ
  แนวทางแก้ไข   - อบรมให้ความรู้ทางวิชาการ
- จัดทำบัตรสงเคราะห์แก่ประชาชนที่ยากจน
- ส่งเสริม/สนับสนุนการพัฒนาครอบครัวตัวอย่าง

  6. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ประเด็น รายละเอียด
- ปัญหาด้านขยะมูลฝอย
- ปัญหาด้านการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
   - อำเภอลานสกามีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติเขาหลวงและอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค
   -สภาพพื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร แต่สภาพการณ์ปัจจุบันประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
สาเหตุ    - ขาดจิตสำนึกในด้านการใช้และการอนุรักษ์
   - ขาดความร่วมมือของประชาชน
   - ขาดมาตรการทางด้านกฏหมาย
แนวทางแก้ไข    - สร้างมาตรการให้ชุมชนองค์กรปกครองท้องถิ่นและภาครัฐ มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
   - รณรงค์ให้การบังคับใช้กฏหมายสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างเคร่งครัด
   - หามาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ประหยัด และมีคุณภาพ
   - ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์ต้นน้ำลำธาร
   - รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม

กลับสู่หน้าแรก