www.tungsong.com
  ประวัติความเป็นมา
     สภาพทั่วไป
     สภาพทางเศรษฐกิจ
     สภาพทางสังคม
     ระบบบริการพื้นฐาน
     ทรัพยากรธรรมชาติ
            ลานสกาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นพื้นที่ที่ขึ้นต่ออำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อทางราชการได้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงได้ถูกตั้งให้เป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอเขาแก้ว" เพราะที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว ต่อมาได้ ยุบตำบลเขาแก้วออกจากตำบลลานสกา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอลานสกา" แม้ว่าภายหลังจะได้แยกตำบลเขาแก้วออกจากตำบลลานสกาอีกครั้งหนึ่งก็ตาม และที่ว่าการกิ่งอำเภอยังคงตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว แต่ยังคงเรียกกิ่งอำเภอลานสกาตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอลานสกาเป็น "อำเภอ ลานสกา" จนกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้
            คำว่า "ลานสกา" มีคำอธิบายเป็นสามนัย ดังนี้
            1. ชื่อมาจากภาษาของชาวหมู่เกาะทะเลใต้ ซึ่งได้นำเอาศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ เข้ามาเป็นครั้งแรก เรียกว่า "แลงกา" แปลว่า หูบเขา ซึ่งก็ตรงกับภูมิประเทศปัจจุบัน ต่อมามีผู้ใส่ "ส" ข้างหน้า "กา" จึงเป็น "สกา" และเรียกเพี้ยนไปจนเป็น "ลานสกา"
            2. ชื่อนี้เป็นคำไทยแท้ คือ "ลาน-กา" ซึ่ง "ลาน" หมายถึง ที่ราบ ที่เตียน ซึ่งเป็นจริง และในครั้งก่อนมีฝูงกาลงมารวมพวกสนุกสนานกันเป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นั้นว่า "ลานกา" ต่อมามีผู้ใส่ "ส" ไว้หน้า คำBN " ว่า "กา" จึงเรียนเพี้ยนเป็น "ลานสกา" ไปในที่สุด
            3. จากการบอกเล่าของผู้รู้ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในท้องที่ อธิบายคำว่า "ลานสกา" คือ ลานที่ใช้เล่น "สกา" ระหว่างพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกับพระอนุชา โดยในสมัยนั้นได้เกิดโรคห่าระบาดขึ้นที่หาดทรายแก้ว (พื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน) ทั้งสองพระองค์ได้อพยพไพร่พลขึ้นมาทางต้นน้ำไปประทับอยู่ที่บริเวณตำบลลานสกา หลังจากโรคห่าซบเซาลงทั้งสองพระองค์ได้ยกไพร่พลกลับสู่หาดทรายแก้ว แต่ก็มีไพร่พลบางส่วนยังคง ทำมาหากินปลูกสร้างบ้านเรือนและสวนผลไม้อยู่ในที่ดังกล่าว และต่อมาก็กลายเป็นบรรพบุรุษ ส่วนหนึ่งของชาวลานสกาจนถึงทุกวันนี้
 
สภาพทั่วไป
 
ลักษณะที่ตั้ง
            อำเภอลานสกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 23 กิโลเมตร
 
เนื้อที่
            พื้นที่อำเภอ 342.90 ตารางเมตร หรือประมาณ 214.12 ไร่
 
อาณาเขตติดต่อ

   ทิศเหนือ      ติดต่ออำเภอพรหมคีรี
   ทิศใต้      ติดต่ออำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง
   ทิศตะวันออก      ติดต่ออำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอพระพรหม
   ทิศตะวันตก      ติดต่ออำเภอฉวาง จังหวัดพิปูน และกิ่งอำเภอช้างกลาง

  ลักษณะภูมิประเทศ
            สภาพพื้นที่อำเภอลานสกาที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีเทือกเขาสูงเป็นทิวยาว พื้นที่ภูเขาคิดเป็นร้อยละ 75 ที่เหลือเป็นที่ราบใช้ทำสวน ทำนา ภูเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาหลวง แม่น้ำ แต่มีลำคลองขนาดใหญ่ คือ คลองท่าดี คลองเขาแก้ว คลองคันเบ็ด และคลองน้ำเขียว นอกจากนั้นเป็นลำห้วย
 
พื้นที่และการใช้ประโยชน์
            สภาพพื้นที่ของอำเภอลานสกาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ใช้ประโยชน์ ในการทำไร่ทำสวนผลไม้ชนิดต่าง ๆ สวนยางพารา และการทำนา
            การถือครองที่ดินอำเภอลานสกา การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร มีรายละเอียด ดังนี้

-   โฉนดที่ดิน จำนวน      559 แปลง
-   หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำนวน 13,526 แปลง
-   หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ) จำนวน  2,454 แปลง
-   หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน        17 แปลง

  ลักษณะภูมิอากาศ
 
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ
 
   -  ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน
 
   -  ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม ถึง เดือนมกราคม
 
ลักษณะการปกครอง
 
แบ่งเขตการปกครองตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มีตำบล 5 ตำบล หมู่บ้าน 40 หมู่บ้าน และเทศบาล 1 แห่ง ดังนี้
 
1. ตำบลลานสกา มี 7 หมู่บ้าน
 
2. ตำบลเขาแก้ว มี 6 หมู่บ้าน
 
3. ตำบลกำโลน มี 10 หมู่บ้าน
 
4. ตำบลขุนทะเล มี 10 หมู่บ้าน
 
5. ตำบลท่าดี มี 7 หมู่บ้าน
 
6. เทศบาลตำบลลานสกา
 
มีองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง
 
1. อบต. ลานสกา
 
2. อบต. เขาแก้ว
 
3. อบต. กำโลน
 
4. อบต. ขุนทะเล
 
5. อบต. ท่าดี
  จำนวนประชากร
 
มีประชากรทั้งสิ้น 40,105 คน แยกเป็น ชาย 19,804 คน หญิง 20,301 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ต่อพื้นที่ประมาณ 115.60 คน/ตารางกิโลเมตร
 
ประชากรสามารถแยกเป็นรายตำบลได้ดังนี้

ลำดับที่ ตำบล ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1. เขาแก้ว 3,669 3,693 7,362
2. ลานสกา 2,836 2,902 5,738
3. ท่าดี 4,026 4,107 8,133
4. กำโลน 4,265 4,353 8,618
5. ขุนทะเล 5,008 5,246 10,254
  ข้อมูลสิ้นสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543

  อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร

ข้อมูลประชากร (คน) 2540 2541 2542
  อัตราการเกิดต่อประชากร 1,000 คน 8.1 4.9 5.1
  อัตราการตายต่อประชากร 1,000 คน 3.7 3.2 3.5
  อัตราการเพิ่มของประชากร (ร้อยละ) 4.6 3.9 2.8

  สภาพทางเศรษฐกิจ

  การเกษตรกรรม
            อำเภอลานสกามีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 92,344 ไร่ ครอบครัวเกษตรกร 6,237 ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้

ที่ พืชเศรษฐกิจ พืชที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก./ไร่/ปี) จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
1. ยางพารา 33,619 220 2,757
2. มังคุด 13,781 900 2,059
3. ทุเรียน 9,042 1,200 1,424
4. ข้าวนาปี 9,699 330 1,099
5. เงาะ 4,696 800 987
6. สตอ 3,019 500 872
7. พืชอื่น ๆ 6,000 880 756

  การปศุสัตว์
  ข้อมูลจำนวนสัตว์

สัตว์เลี้ยง จำนวน (ตัว)
ไก่    18,153
เป็ด   1,545
โค      2,273
    กระบือ           8
สุกร   8,242
ม้า           12
ช้าง           7
  ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์อำเภอลานสกา

  การอุตสาหกรรม
            ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาติให้ดำเนินการและประกอบการ
 
การพาณิชย์
 
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
 
- มีธนาคาร จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
 
- มีสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
 
1. สหกรณ์การเกษตรลานสกา
 
2. สหกรณ์การเกษตรไสขิง
 
3. สหกรณ์การเกษตรดินดอน
 
4. สหกรณ์เครดิตยูเนียนลานแก้ว ประชาสรรค์ จำกัด
 
5. สหกรณ์กองทุนสวนยางกะโรม จำกัด
 
6. สหกรณ์กองทุนสวนยางยูงทอง จำกัด
 
7. สหกรณ์การตลาดเพื่อลูกค้า ธกส. จำกัด

  การบริการ
 
- มีโรงแรม จำนวน - แห่ง
 
- สถานบริการและเริงรมย์ จำนวน - แห่ง

  การท่องเที่ยว
 
- มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกกะโรม น้ำตกวังไม้ปัก
 
- อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

 
สภาพทางสังคม
  การศึกษา
 
- ข้อมูลด้านการศึกษา

สถานศึกษาสังกัด จำนวน (โรงเรียน) จำนวนห้องเรียน จำนวนครู จำนวนนักเรียน
สปช. 23 234 324 5,023
สศ.   2 46 116 1,646
สช.   2 11 15 339
  ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการอำเภอลานสกา

 
- ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
     กลุ่มสนใจ
15   กลุ่ม
     กลุ่มอาชีพระยะสั้น
6   กลุ่ม
     ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
33   แห่ง
     ห้องสมุดประชาชน
1   แห่ง
 
- การศึกษาอื่น ๆ
  โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม 1   แห่ง
ศูนย์อบรมเด็กอ่อนก่อนเกณฑ์ในวัด 5   แห่ง
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 1   แห่ง

  การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
 
- การศาสนา ประชาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 99 % ศาสนาอื่น ๆ ประมาณ 1 %
 
มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา
1.  วัด ที่พักสงฆ์ จำนวน 20   แห่ง
2.  มัสยิด จำนวน   -    แห่ง
3.  ศาลเจ้า จำนวน   -    แห่ง
 
-  ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญได้แก่ งานมังคุดหวาน ประเพณีชักพระ การทำบุญให้ทานไฟ วันขึ้นปีใหม่ ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบ ประเพณีสงกรานต์


  การสาธารณสุข
 
1. มีการบริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
1.1โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง
จำนวน 1   แห่ง
1.2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
จำนวน 1   แห่ง
1.3 สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน
จำนวน 7   แห่ง
1.4 สำนักงานส่วนมาเลเรีย
จำนวน -   แห่ง
1.5 สถานพยาบาลเอกชน
จำนวน -   แห่ง
1.6 ร้านขายยาปัจจุบัน
จำนวน 2   แห่ง
 
2. จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
2.1 แพทย์
จำนวน 1   คน
2.2 ทันตแพทย์
จำนวน 1   คน
2.3 เภสัชกร
จำนวน 2   คน
2.4 พยาบาล
จำนวน 50   คน
2.5 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
จำนวน 30   คน
2.6 เจ้าหน้าที่อื่น ๆ
จำนวน 1   คน
2.7 อาสาสมัครสาธารณสุข (ผสส.อสม.)
จำนวน 668   คน
 
3. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
 
4. หอกระจายข่าว จำนวน 52 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 100

  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ สถานีตำรวจภูธรอำเภอลานสกา

ปี พ.ศ. ม.ค. - พ.ย. 42 ม.ค. - พ.ย. 43 % เปรียบเทียบ จับกุมคดีค้างเก่า ประเมินผลเป้าหมาย
ประเภทคดี รับแจ้ง จับ รับแจ้ง จับ เพิ่ม/ลด %
อุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ 8 7 8 6   ท.   2  
ประทุษร้ายต่อชีวิตและเพศ 15 12 19 11   + 5   10  
ประทุษร้ายต่อทรัพย์ 26 17 36 18   + 10   9  
คดีที่น่าสนใจ 11 6 21 12   + 10   6  
คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย 145 257 141 269   - 4   3  
 
ที่มา : สถานีตำรวจภูธรอำเภอลานสกา

  ระบบบริการพื้นฐาน

  การคมนาคม
             การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้านมีรายละเอียดดังนี้
 
1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1405 สายนครศรีธรรมราช - ฉวาง
 
2. ทางหลวงแผ่นดิน สายลานสกา - รอนพิบูลย์
 
3. ทางหลวงชนบท รพช. สายขุนทะเล - พระพรหม
 
4. ทางหลวสงชนบท รพช. สายลานสกา - วัดโคกโพธิ์สถิตย์
 
สำหรับเส้นทางเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน 83 สาย
  การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
 
1. มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
 
2. มีการให้บริการตอดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีจำนวนคู่สาย 172 คู่สาย
 
3. มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลานสกา
  การสาธารณูปโภค
 
1. มีการประปาระดับอำเภอและตำบล หมู่บ้าน ดังนี้
 
     - การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ การประปาน้ำตกกะโรม
 
     - การประปาหมู่บ้าน จำนวน 16 แห่ง
 
2. แหล่งน้ำกิน - น้ำใช้ ประเภทอื่น ๆ
 
     - บ่อบาดาล จำนวน 30 บ่อ
 
     - บ่อน้ำตื้น จำนวน 76 บ่อ
 
     - ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 14 แห่ง
 
     - โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 12 ใบ

  ทรัพยากรธรรมชาติ

  ทรัพยากรดิน
 
ทรัพยากรดิน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินปนทรายในที่ราบ และดินภูเขาประเภทดิน เรด - เยลโลว์ ทอคโซลิค เหมาะสมสำหรับการเกษตร
 
ทรัพยากรน้ำ
 
ทรัพยากรน้ำส่วนใหญ่ใช้น้ำฝน และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ได้แก่ คลองท่าดี คลองเขาแก้ว และตามลำธาร ลำห้วย สำหรับใช้ในการเกษตร การอุปโภค ใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ บ่อน้ำตื้น และบ่อบาดาล
 
ทรัพยากรป่าไม้
 
อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติเขาหลวง และอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลกำโลน และตำบลเขาแก้ว

กลับสู่หน้าแรก