www.tungsong.com

  5. สภาพปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาและการบริหารราชการ
  5.1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
          1. ความยากจนของประชาชนมีรายได้ค่อนข้างต่ำ
          2. ความจำกัดในด้านทรัพยากรของพื้นที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ทุรกันดาร และสภาพดินเปรี้ยวไม่เอื้ออำนวยแก่การปลูกพืชผล ตลอดจนขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุปโภคบริโภค
          3. เกษตรกรยังขาดเงินลงทุน
          4. การพัฒนาอาชีพอื่น ๆ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
          5. การส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ยังไม่มีการริเริ่มเป็นรูปธรรม
          6. กิจการพาณิชย์และลงทุนในพื้นที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
          7. ถนนที่ใช้สัญจรไปมาและขนส่งผลผลิต ชำรุดทรุดโทรม และบางสายไม่ได้มาตรฐานใช้ได้เฉพาะบางฤดูกาลเท่านั้น
          8. การสื่อสาร ยังไม่มีการไปรษณีย์ และชุมสายโทรศัพท์
          9. การไฟฟ้า บางชุมชนในหมู่บ้านยังขยายเขตไฟฟ้าไปไม่ถึง
          10. แหล่งท่องเที่ยว ยังไม่มีการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่
  5.2 ปัจจัยด้านสังคม
          1. ภาพพจน์ของพื้นที่ในอดีตเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยทำให้มีผลกระทบต่อการลงทุน
          2. สถาบันการศึกษา ยังขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร
          3. ไม่มีโรงพยาบาลชุมชนและแพทย์ในพื้นที่
  5.3 ปัจจัยทางด้านอื่น ๆ
          1. การเสี่ยงภัยธรรมชาติ ได้แก่
          - ภัยแล้ง เนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตร น้ำใต้ดินและน้ำธรรมชาติไม่สะอาดมีธาตุเหล็กปนเปื้อนในปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานอุทกภัยและวาตภัย เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีแนวภูเขาทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่รองรับน้ำฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากแนวภูเขา จึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยและสภาพทางทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ราบ ไม่มีแนวกำบังลม หากเกิดมรสุมหรือพายุจึงเป็นที่พื้นเสี่ยงต่อวาตภัย
กลับสู่หน้าแรก