www.tungsong.com
      ประวัติ | อาณาเขต | การปกครอง | การคมนาคม | การศึกษา | ศาสนา | เศรษฐกิจ |
          หน่วยงาน | การสาธารณสุข | สถานที่ท่องเที่ยว | ปัญหาและอุปสรรค |
             ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ | ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ |
ฉวางเมืองคนดี มั่งมียางพารา แข่งเรือวันออกพรรษา ศูนย์การค้าตลาดจันดี สนุกดีงานปีใหม่ ก้าวไกลการศึกษา  
    ประวัติ
   
        คำว่า "ฉวาง" ตามพจนานุกรมมี 2 ความหมาย ความหมายหนึ่งเป็นนาม หมายถึงวิธีคิดเลขชั้นสูงของโบราณหนึ่งอย่าง อีกความหมายหนึ่งเป็นกริยา แปลว่า ขวาง โดยแยกตัวอย่างคำในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มัทรีว่า "อันว่าพยัคฆราชอันฉวางวมรรคาพระมัทรี"

            เมืองฉวางเป็นเมืองเก่าขึ้นอยู่กับนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งราชการที่ 1 ใช้ร่วมกับคำว่า ฉวาง-ท่าชี-พดชมโร ฉวาง คืดฉวางปัจจุบันท่าชีอยู่ที่ท้องที่อำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนพุดชมโร คือทุ่งสงและเจ้าเมืองหรือนายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่น ได้แก่ หมื่นเพชรธานี ศักดินา 600 ซึ่งถือเป็นเมืองเล็ก ๆเมืองหนึ่งของนครศรีธรรมราช

            เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองของประเทศใหม่ในราชกาลที่ 5 เมื่อ ปี 1439 เมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้สถาปนาเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศษภิบาลเป็นผู้ปกครอง และหลังจากที่ได้ใช้กฏหมายลักษณะปกครองท้องที่ร.ศ.116 (พ.ศ.1441) แล้วก็เริ่มมีการจัดการปกครองในรูปของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ขึ้น เมืองฉวางก็ได้สถาปนาเป็นอำเภอขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.1443 โดยมีหลวงปรามประทุษราษฎร์ (เอียด ณ นคร) เป็นนายอำเภอคนแรก และมีนายอำเภอสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันคือ "นายบุญเลิศ ถังมณี" เป็นลำดับที่ 40

            การตั้งที่ว่าการอำเภอฉวาง ได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้งส่วนมากจะอยู่ตามริมแม่น้ำ ซึ่งอาศัยเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เช่น เคยตั้งอยู่บ้านในไร่ ตำบลนาแว ริมแม่น้ำตาปี เคยตั้งที่วังอ้ายล้อนริมคลองดุดด้วน เคยตั้งที่ปากคลองลุง และได้ย้ายมาที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อ ปี 1458 เหตุที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอหลายครั้งก็เพราะเนื่องจากปัญหาถูกน้ำท่วมบ่อย จนไม่อาจใช้เป็นสถานที่ราชการได้ เมื่อได้มีการย้ายมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันก็ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมหลายครั้งหลายหน จนกระทั้งใน ปี 1539 หลังจากที่อำเภอได้รับอุทกภัยอย่างหนัก อาคารไม้ 1 ชั้นก็ถูกน้ำท่วมจนชำรุดทรุดโทรมอย่างมากจนยากที่จะบูรณะให้กลับคืนดังเดิมได้อีก กรมการปกครอง จึงอนุมัติงบประมาณมาก่อสร้างเป็นจำนวน 6,595,000 บาท เพื่อก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างหลังที่ว่าการอำเภอหลังเก่า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 50 เมตรก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ 16 กันยายน 1540   ปัจจุบันอำเภอฉวางมี 10 ตำบล