![]() |
![]() |
![]() |
ประวิง หนูเกื้อ เป็นนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เกิดวันพุธ เดือน 8 ปีมะแม พ.ศ.2462 เป็นบุตรนายแดง นางช่วย เกิดที่บ้านดอนออก หมู่ที่ 5 ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้อง 4 คน ประวิงเป็นคนสุดท้องและเป็นชายคนเดียว ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด อายุ 6 ปี เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบางตะพาน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพังไกร เรียนอยู่ 6 ปี ได้ชั้น ป.2 ก็ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงาน ครั้นอายุ 16 ปี เที่ยวเป็นลูกคู่ตีเครื่องให้หนังปานบอดบ้างและหนังหญิงยกหลับบ้าง ซึ่งเป็นมูลเหตุ ให้รักชอบการเล่นหนังตะลุง และได้ฝึกหัดจนเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา |
กล่าวได้ว่าประวิงเกิดในตระกูลของศิลปิน คือหนังปานบอดซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบรมครูหนัง คนหนึ่งมีฐานะเป็นลุง (ปู่ของประวิงเป็นน้องของหนังปานบอด) เรือนของหนังปานบอดกับเรือนนายแดงบิดาของประวิงก็อยู่ติดกัน ซ้ำนายแดงเองยังเป็นคนชักรูป (พากย์รูป) สีแก้วให้หนังปานบอดด้วย (สมัยก่อนหนังคณะหนึ่งมีผู้เล่น 2 - 3 คน) ประวิงจึงได้คลุกคลีกับหนังตะลุงมาแต่เด็กๆ แต่ใจเพิ่งจะรักชอบเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว มูลเหตุที่ได้หัดหนังเนื่องจากนายแสงซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับประวิงคิดจะหัดหนัง จึงปลูกขนำเล็กๆ ขึ้น หัดเล่น ให้ประวิงไปคัดลอกบทกลอนและเรื่องจากหนังปานบอดมาให้ เมื่อนายแสงหัด ประวิงก็ลองเล่นดูบ้าง ครั้นหนังปาดบอดเห็นหน่วยก้านของทั้ง 2 คน จึงบอกนายแสงว่าไม่ต้องหัดเพราะไม่มีแวว ให้ประวิงหัด ่พอประวิงจะหัดจริงๆ หนังปาดบอดก็ว่า "อย่าหัดเลย หนังตะลุง มีประโยชน์ค่าไม้กลอง" ของมาหลายปี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงคือประโยชน์น้อย เอาดียาก เป็นหนังดีแล้วจะรักษาชื่อเสียงให้ยืนนานก็ยาก ทั้งยังขัดญาติมิตรเพื่อนฝูงไม่ได้ เมื่อเขาต้องการ ครั้นประวิงว่า ถ้าหนังปานบอด ไม่หัดให้จะไปหัดกับหนังขับ ดีหลวง ปานบอดจึงต้องตกลงใจให้หัดให้ โดยให้เรียนและเล่นอยู่บนบ้านราว 6 เดือน ครั้นประวิงอายุได้ 20 ปี หนังปานบอดก็ให้ปลูกโรงทำพิธีครอบมือยื่นรูปให้และประวิงลองเล่นบนโรงหนังจริงๆ เป็นคืนแรก ปรากฏว่าคืน นั้นกลัวเครื่อง กลัวจอ กลัวคน จนเล่นไม่ได้ ว่ากลอนก็ไม่ลงจังหวะ พอดีกับที่บ้านบางปอซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก นายเขียวคนชักรูปตลกให้หนังปานบอดอีกคนหนึ่งปลูกโรงให้ลูกชายชื่อนายร่วม ให้หัดหนังประวิงจึงไปหัดเล่นกับนายร่วม แต่กลางวันกลับมาฝึกฝนกับหนังปาน โดยหัดว่าให้ลงจังหวะฉิ่ง ประวิงหัด อยู่เช่นนี้ระยะหนึ่ง เห็นจะราว 3 - 4 เดือน โดยประมาณ จากนั้นเมื่อหนังปานบอดไปเล่นที่ไหนประวิงจะไปเป็นลูกคู่ ก่อนหนังปานบอดจะบอกเรื่อง จะให้ประวิงชักฤาษี พระอิศวรและรูปกาศ เที่ยวเล่นอยู่เช่นนี้ราว 1 ปี หนังปานบอดก็ให้เล่นเรื่องและสามารถออกโรงเล่นเดี่ยว ๆ ได้ พอดีอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดบางตะพาน ขณะบวชก็แอบขับบทหนังตะลุงอยู่เสมอๆ จนถูกเจ้าอาวาสตักเตือนหลายครั้ง บวชอยู่พรรษาเศษๆ พอพ้นหน้ากฐินก็ลาสิกขาออกไปเล่นหนังคู่กับหนังปานบอด แต่ระยะแรกนี้รับบทไม่หนัก เช่น ฤาษี เจ้าเมืองและรูปเบ็ดเตล็ดต่างๆ อย่างไรก็ตามประวิงหวังจะเอาดีทางหนังตะลุงให้ได้จึงตั้งปณิธานว่า ถ้าตนยังไม่ มีชื่อเสียงจะยังไม่แต่งงาน จึง ครองโสดตอนหนึ่งว่าสงคราม หนังตะลุงซบเซามากเพราะทางราชหารห้ามตามไฟในยามค่ำคืน ด้วยเกรงว่าจะเป็นเป้าในการทิ้งระเบิดข้าศึกจึงเป็นเหตุให้ประวิงต้องหาคู่ครอง ในที่สุดเมื่อประวิงอายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานกับนางสาวเรียง บุตรสาวผู้ใหญ่ร่วง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลหัวไทร เสร็จสงคราม ประวิงยังเล่นหนังคู่กับหนังปานบอดต่อไปอีก แต่ช่วงนี้หนังปานบอดเล่นเป็นเพียงบทบาทประกอบเท่านั้นเพราะอายุมากแล้ว ชื่อคณะหนังที่เล่นคู่กันก็ยกเอาประวิงขึ้นเป็นหลัก โดยใช้ชื่อว่า "คณะ ป.ชีช้าง" ป. คือประวิง ส่วนชีช้าง เป็นนามสกุลของหนังปานบอดประวิงแสดงคู่กับหนังปานบอดจนอายุได้ 29 ปี (หนังปานบอดอายุ 60 ปี) ก็แยกมาตั้งคณะขึ้นต่างหากเที่ยวเล่นอยู่จนอายุ 55 ปี จึงหยุดการแสดง เพราะเป็นโรคปอด ต้องเข้าพยาบาลรักษา รวมเวลาเล่นหนังประมาณ 30 ปี |
ประวิงได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการเล่นหนังตะลุงชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะเที่ยวเล่นหนังไปทั่วจบทั้งภาคใต้ตลอดถึงมาเลเซีย และบางจังหวัดในภาคกลาง เรื่องนี้ประวิงเขียนไว้ในหนังสือ "ชุมนุมกลบทแปลง" |
ในด้านการประชันขันแข่ง ประวิงแข่งกับหนังดีในสมัยเดียวกันเกือบทุกคณะ เช่น แข่งกับหนังแคล้ว เสียงทอง จังหวัดพัทลุงราว 50 ครั้ง หนังจันทร์แก้วไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง หนังกั้นเกือบ 20 ครั้ง หนังจู่เลี่ยมและหนังเชย เชี่ยวชาญ เป็นต้น โดยเฉพาะการแข่งขันกับหนังจันทร์แก้ว ประวิงภูมิใจมากเพราะหนังจันทร์แก้วได้รับยกย่องจากหนังรุ่นหลังว่าเป็นบรมครูหนังคนหนึ่ง แต่ประวิงไม่ชอบวิธีการแสดง เนื่องจากเห็นว่าหนักไปทางหยาบโลน ดังกลอนเพลงบอกที่ประวิงกล่าวถึงหนังจันทร์แก้วไว้ตอนหนึ่งว่า |
" หนังจันทร์แก้วบรมครู |
ชาวบ้านเขาดูพาโกรธเคือง |
||
เพราะแกหลก (ตลก)อ้ายเมืองตัวคาด | อุบาทว์เสียเกินหนัง" |
สิ่งที่ทำให้ประวิงภูมิใจในการประชันกับหนังจันทร์แก้ว คือสามารถเอาชนะได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามประวิงให้ความเห็นว่าที่เอาชนะได้อาจเป็นเพราะประวิงแข่งกับหนังจันทร์แก้วในช่วงทีประวิงกำลังโด่งดังและจันทร์แก้วกำลังตกเพราะล่วงเข้าวัยชรา |
ในการเล่นหนังในช่วงต้นๆ ประวิงได้หลักหรือแบบอย่างส่วนใหญ่จากหนังปานบอด แม้แต่เรื่องและกลอนก็ใช้ของหนังปานบอดไม่น้อย แต่หลังจากมีประสบการณ์มากขึ้นได้ดูหนังอื่นๆ และได้วิสาสะกับหนังดีๆ รุ่นก่อนมากขึ้น ก็ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น ได้ความคิดจากหนังขับหลวงว่า"หนังดีต้องไม่ทิ้งอาจารย์" อาจารย์คือตำรับตำราต่างๆ นั่นคือ ต้องหาความรู้อยู่เสมอได้ความคิดจากหนังหิ้นเฒ่าว่า "หนังดีได้ต้องไม่ทิ้ง 4 อย่าง คือเมื่อโศกต้องโศกจริง เมื่อรักต้องรักจริง เมื่อโกรธต้องโกรธจริง และต้องให้คนดูสบายใจ" นั่นคือต้องเล่นให้ถึงอารมณ์จะข้ามหรือตัดบท เสียมิได้ ข้อคิดเหล่านี้ประวิงได้นำมาเป็นแนวทางและฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อไปดูหนังอื่นๆ เห็นอะไรดีก็เอามาใช้ เช่น เรื่องหรือนิยาย ของหนังอื่นก็เอามาเล่นหรือดัดแปลงเล่นหลายเรื่อง เช่น เอาเรื่องอัมมรน้อย สร้อยสุทิน มาจากหนังหิ้น เป็นอาทินอก จากนี้ในด้านกาพย์กลอน ก็ได้อาศัยนักเลงกลอนฝีปากดีๆ ช่วยแต่งให้บ้าง คือ นายพร้อม บ้านราม อำเภอหัวไทรและอาศัยจากการอ่านตำรากลอน โดยเฉพาะที่หนังตะลุงถือเอาเป็นเสมือนคัมภีร์ทางกาพย์กลอน คือ "ยศกิต" (กลบทสิริวิบุลกิติ ของหลวงศรีปรีชา - เซ่ง) ประวิงศึกษาหนังสือเล่มนี้จนแตกฉาน สามารถแต่งกลอนกลบทได้เกือบทุกชนิด และที่พิเศษคือ สามารถเอากลบทของเดิมต่างชนิดกันมาแต่งประสมเป็นกลบทชนิดใหม่ มีงูกลืนกบเต้น จักวาลครอบกบเต้น กบเต้นพันหลักวัว เป็นต้น ดังปรากฏในหนังสือรวมกลอนของประวิง "ชุมชุมกลบทบทแปลง" |
ฝีปากเชิงกาพย์กลอนของประวิงเป็นที่เล่าลือกันในหมู่นายหนังตะลุงว่ามีความคมคาย กระชับ และได้อารมณ์ยิ่งประวิงจะไม่ว่ากลอนประเภทที่เพียงให้พอมีสัมผัสหรือพอลงกลอน แต่กลอนต้องมีจังหวะจะโคนเหมาะกับบทบาทของเรื่องและตัวละคร การจะว่ากลอนให้คมคาย ประวิงเห็นว่าจะต้องแต่ง ต้องเรียน การด้นกลอนสด แม้จะว่าได้ดีแต่ไม่เด็ด ประวิงจึงนิยมแต่งกลอนหลักๆ ไว้ก่อนเป็นส่วนใหญ่ เป็นกลอนที่สามารถเอาไปใช้ในการแสดงเรื่องใดๆ ก็ได้ กลอนแบบนี้ประวิงเรียกว่า "บทกลาง" ดังตัวอย่างบทยักษ์จับสัตว์ ซึ่งใช้ทำนองกลอนสี่ประสมกับกลอนลอดโหม่ง |
ชมเพลินเดินตัด มารลัดลอดเลียบ | กวางหลบหบเหียบ ดีดติ้งวิ่งผ่าน | ||
สิงห์โตกระต่ายเต้น วิ่งเล่นตามกัน | โคควายหลายพรรณ ดุนดันดงดอน | ||
ครุบผิดบิดหลุด ผลุดโดนโผนผัน | ค่อยไล่ให้ทัน รับดั้นผันผอน | ||
คชสารคชสีห์ ทรพีสุกร | เห็นทางกวางนอน รีบจรตามมา | ||
พอเห็นไม้ใหญ่ มารเข้าไปแอบข้าง | สัตว์มาท่าทาง วิ่งวางหลักหน้า | ||
ฉวยได้ตีนสัตว์ ฟัดกับโคนพูด | เลือดฉาตาฉูด ลากสูดฉีกขา | ||
ใส่โอษฐ์ยักษ์ครุบ ปากตุบหน่วยตา | ผ้าร้ายไส้พา ตับปอดทอดกลืน | ||
กระดูกเอ็นเนื้อหนัง กินไม่เหลือไหร | จับหัตถ์ซัดใส่ เนื้อหนังทั้งผืน | ||
ไม่อิ่มยักษา เที่ยวเดินหาอื่น | จับได้ทอดกลืน มากมายหลากพรรณ | ||
คชสารคชสีห์ หมูหมีหมาเม่น | มันยิกไล่ผายผัน | ||
แดดร้อนเหงื่อไหล ไล่ไปเหนื่อยครัน | มารไล่ให้ทัน ได้กินมันหรอยมาร | ||
หนึ่งแรดสองช้าง สามกวางสีวัว | สมเด็จเจ็ดตัว อิ่มหนำสำราญฯ |
ด้วยความสามารถในเชิงกลอนเช่นนี้ ประวิงจึงอยู่ในฐานะที่หนังตะลุงรุ่นหลังๆ มาขอให้แต่งกลอนให้เป็นจำนวนมาก หนังดีๆ ที่นำกลอนของประวิงไปใช้เล่น เช่น หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์ (หนังอรรถโฆษิต) หนังนครินทร์ ชาทอง หนังละมุล และหนังเอื้อม บ้านควนเนียง เป็นต้น |
ประวิงยังสามารถว่าเพลงบอกได้คมคาย แต่ว่าช้าไม่ทันใจส่วนใหญ่จึงแต่งให้เพลงบอกเผียน เพชรคงทอง บ้านเขาพังไกร อำเภอหัวไทร เป็นคนว่า บทที่ประวิงแต่งมักมีลักษณะพิเศษไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อย่างเช่น บทที่ขึ้นต้นด้วย "หนัง" ลงด้วย "หนัง" ซึ่งลักษณะแบบนี้เพลงบอกสมัยโบราณนิยมลองภูมิปัญญากัน ประวิงก็แต่งไว้น่าฟัง และที่สำคัญสะท้อนให้เห็นนิสัยใจคอของประวิงเอง ว่าเป็นคนโผงผาง ตรงไปตรงมา รู้จักสังเกตและละเอียดรอบคอบ |
ประวิงได้ถ่ายทอดฝึกหัดลูกศิษย์ไว้หลายคน ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วไปคือ หนังประทุม เสียงชาย ที่จัดว่าพอมีชื่อ ได้แก่ หนังลำยอง และหนังครูเศวต นอกนั้นพอแสดงได้ |
ชีวิตการเป็นศิลปินของประวิงประสบความสำเร็จตามสมควร ได้รับการยอมรับนับถือจากรุ่นหลังจำนวนไม่น้อย ส่วนชีวิตครอบครัวก็ราบรื่น มีนางหนูเรียงเป็นภรรยาเพียงคนเดียว มีบุตร 3 คน ได้ รับการศึกษาอย่างดี คนโตชื่อนุวงศ์ จบ วท.บ. คนรองชื่อนงเยาว์ จบ กศ.ม. คนสุดท้องชื่อนิวัฒน์ จบ กศ.บ. ในบั้นปลายของชีวิตหนังประวิง หนูเกื้อ อยู่กับภรรยาคู่ชีวิต ทำงานอดิเรก คือทำสวนและเลี้ยงปลาเล็กๆ น้อยๆ ตามกำลัง นอกจากนั้นก็ยังได้แต่งกาพย์กลอนให้แก่หนังตะลุงรุ่นหลังๆ จนถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2536 สิริรวมอายุได้ 74 ปี |
![]() ประทุม โสมจันทร์ |
![]() |
![]() ปรีชา ลุยจันทร์ |