http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document

หลักในการวางแผน : ภาคีภาพ (Partnerships)
การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการออกแบบหรือจัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลืองานเทศบาลในการ
ปรับปรุงการบริการโดยสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาครัฐภาคเอกชน กลุ่มบุคคลที่สนใจและกลุ่มผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและพัฒนาการบริการ โดยยึดหลักว่าไม่มีองค์กรใดเพียงองค์กรเดียวที่มีทั้งทรัพยากรอำนาจและความสามารถที่จะพัฒนาหรือ จัดการให้บริการตอบสนองความต้องการ และจะต้องมีความเสมอภาคประสิทธิภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม
ถึงแม้ว่าองค์กรหนึ่ง ๆ จะเป็นแกนนำหลักในการให้บริการเฉพาะบางเรื่อง แต่อย่างน้อยก็จะต้องมีอีก
หนึ่งหน่วยงานหรือองค์กร ที่คอยให้การสนับสนุน จึงจะประสบผลสำเร็จและนั่นก็คือผู้รับบริการนั่นเอง ถ้าหากผู้รับบริการมีความต้องการต่างจากบริการที่ให้ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และ หากผู้ให้บริการไม่ยอมรับที่จะปรับปรุงการบริการ การบริการนั้นก็จะล้มเหลวไปในที่สุด ดังนั้น การวางแผนการบริการจะต้องมีการกำหนดร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
โดยทั่วไปจะมีกลุ่มบุคคลต่าง ๆ หลายกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและซ่อมแซมบำรุงรักษา
ระบบการบริการ และการให้บริการ นอกจากผู้รับบริการแล้วยังมีนักลงทุนภาคเอกชน องค์กรธุรกิจในท้องถิ่น กลุ่มผู้สนใจ เช่น ผู้เสียภาษีหรือองค์กรการค้า องค์กรชุมชนเทศบาล และตัวแทนที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หรือแม้แต่องค์กรระหว่างประเทศ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องการบริการจะไม่บรรลุผลสำเร็จได้เลยถ้าหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ยอมร่วมมือกันอย่าง จริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาหรือทรัพยากร ในการวางแผนการปฏิบัติตามแผน
- วางแผนให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบประสานงาน และเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึง
- สนับสนุนประชาชนในท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นและองค์กรธุรกิจเอกชน ให้ร่วมมือกันปฏิบัติตามแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่กำลังดำเนินงานอยู่
- ระดมและรวบรวมทรัพยากรจากภาคเอกชนในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนหรือเสริมบริการของรัฐ
- กำหนดกรอบการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนจากหลายส่วนอย่างรอบด้าน
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาลมากขึ้นและให้เข้าใจถึงความจำเป็นและปัญหาอุปสรรคในการพัฒนา
ขั้นตอนแรกในการวางแผนการให้บริการ มีดังนี้ คือ
- กำหนดประเภทหรือกลุ่มของภาคีหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สำหรับการวางแผนแต่ละด้าน
- กำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสม
- กำหนดขอบเขตการวางแผน เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
- กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติสำหรับแต่ละฝ่าย
- กำหนดกรอบแนวทางในการประสานร่วมมือกันของแต่ละภาคี
1. กำหนดประเภทหรือกลุ่มภาคีหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความสำเร็จในการวางแผนขึ้นอยู่กับการมีภาคีหรือกลุ่มที่แตกต่างกันสำหรับงานและความรับผิดชอบที่
แตกต่างกัน
กระบวนการวางแผนทั้งหมดจำเป็นต้องกำหนดโดยกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องหรือภาคีให้ชัดเจน อันได้แก่
ตัวแทนจากองค์กรของรัฐและเอกชน กลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน กลุ่มภาคีบางครั้งหมายถึง "กลุ่มประสานงาน" (Coordination Group) หรือ "กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง" (Stakeholder Group) ซึ่งเป็นเสมือนคณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) ทำหน้าที่ผู้ควบคุม และอำนวยการวางแผน
เมื่อมีการกำหนดบริการหนึ่ง ๆ ออกมาตามลำดับความสำคัญในการวางแผน ก็จำเป็นต้องมีการตั้งภาคี
กลุ่มต่าง ๆ ขึ้น จากตัวแทนขององค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐของเอกชน (NGO) บริษัท กลุ่มผู้รับบริการ ซึ่งมีความรู้ความชำนาญพิเศษ และมีความสนใจในการวิเคราะห์ และจัดลำกับความสำคัญ ตามประเด็นของการบริการ และจะต้องเข้ามาร่วมในกระบวนการวางแผนปฏิบัติการ และการติดตาม ตรวจสอบ กลุ่มนี้บางครั้งเรียกว่า "กลุ่มทำงานเฉพาะ (Specialiist Working Groups) " หรือ "เวทีอภิปราย (Forums)" ซึ่งกำหนดขึ้นเฉพาะแต่ละประเด็นหรือปัญหาที่แต่ละกลุ่มต้องการวางแผน แต่ละกลุ่มสามารถรายงานผลไปยัง กลุ่มนโยบาย (Stakeholder Group) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกลุ่มทำงานต่าง ๆ
เมื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเสร็จ จะต้องจัดตั้งภาคีกลุ่มต่างๆ ขึ้น เพื่อดำเนินงานตามแผนงาน
โครงการนั้น ๆและติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานด้วย
2. กำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องหรือภาคีในชุมชน
เมื่อมีการกำหนดประเภทหรือกลุ่มภาคีในการวางแผนปฏิบัติงานแล้ว องค์กรและตัวแทนจะต้องกำหนด
ตัวบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงานแต่ละประ เภทโดยทั่วไปภาคีจะหมายรวมถึง
      * ผู้ให้บริการ : กลุ่มบุคคลที่ควบคุมและจัดการบริการ
      * ผู้รับบริการ : กลุ่มบุคคลที่ใช้และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบริการ
      * กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อมจากการบริการหรือระบบการบริการ
      * กลุ่มผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับการบริการหรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการบริหาร
และที่สำคัญคือจะต้องไม่ลืมให้มีตัวแทน จากกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เข้ามาร่วมอยู่
ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหรือ ภาคี (Partnership Group) ด้วยเสมอ
3. กำหนดขอบเขตของกระบวนการวางแผน
จากแต่ละระบบและแต่ละพื้นที่บริการมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นกระบวนการ
วางแผนการบริการ จึง ควรจะเปิดกว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้แผนปฏิบัติการควรจะเป็นแผนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในการดำเนินการทั้งระบบและพื้นที่ทั้งหมด อาจจะมีทรัพยากรไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้บริหารหรือกลุ่มผู้กำหนดนโยบายจึงจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจกำหนดขอบเขตของการวางแผนตั้งแต่ต้น
การกำหนดขอบเขตของกระบวนการวางแผนจะต้องพิจารณาหรือตอบคำถามสำคัญเหล่านี้ :
      *  "ขอบเขตของแผนปฏิบัติการควรจะเป็นอย่างไร ? ขอบเขตนี้ครอบคลุมในพื้นที่กว้าง หรือเน้นในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะจุดเท่านั้น ?"
      *  "มีการกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการอย่างไร ?"
      *  "เทศบาลมีบทบาทอย่างไร ? กองต่าง ๆ ของเทศบาลมีส่วนร่วมและรับผิดชอบปฏิบัติตามแผนอย่างไร ?"
      *  "ท่านจะดึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชนให้เข้ามาร่วมงานได้อย่างไร ?"
      *  "กระบวนการที่เสนอได้รับการสนับสนุนจากทางการเมือง หรือไม่ ? ถ้าไม่มีทำอย่างไร ? จึงจะได้รับสนับสนุน"
      *  "ใครเป็นผู้จัดเตรียมแผน ? และทำอย่างไร ? แผนนี้จึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณ"
      *  "เราจะวางแผนระยะสั้น ปานกลาง หรือระยะยาว ? ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำแผนนานเท่าใด ?"
      *  "การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการมีความเชื่อมโยงหรือเสริมกระบวนการวางแผน หรือกฏหมายที่มีอยู่เดิมหรือไม่ อย่างไร ?"
      *  " จะผนวกแผนเข้าสู่กระบวนการทางงบประมาณของเทศบาลได้อย่างไร ?"
4 . การกำหนดข้อตกลงสำหรับภาคีหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อกำหนดผู้ที่เกี่ยวข้อง (Partners) และขอบเขตของการวางแผนแล้ว ก็ควร มีการกำหนดข้อตกลง
และกำหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวางแผนด้วย ซึ่งมีดังนี้คือ
      *  กิจกรรมที่ควรทำร่วมกันในการวางแผน
      *  บทบาทของฝ่าย ๆ ในการวางแผน รวมทั้งกิจกรรมเฉพาะด้านที่ต้องทำ ข้อมูลที่ต้องการ และตารางเวลาของการเข้าร่วม
      *  เกณฑ์หรือมาตราฐานที่ใช้ในการดำเนินงาน การแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งข้อตกลงที่เป็นความลับ
      *  วิธีการตัดสินใจ รวมทั้งการพิจารณาทบทวนและยุติข้อขัดแย้ง
      *  ทรัพยากรด้านต่าง ๆ ที่แต่ละฝ่ายต้องจัดเตรียมให้
5. การจัดกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือภาคี
ผู้ที่เป็นภาคี (Partmers) มิได้เพียงแค่เข้ามามีส่วนร่วมเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุน
และร่วมรับผิดชอบในกระบวนการวางแผนรวมถึงผลที่เกิดขึ้นด้วย การเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง จึงต้องมีกลไกการจัดการที่จะช่วยให้การเข้าร่วมง่ายและสะดวกขึ้น เนื่องจากกระบวนการ - วางแผนให้การบริการมีกิจกรรมที่หลากหลาย จึงมีรูปแบบ การจัดการที่แตกต่างกันเพื่อดำเนินกิจกรรมเหล่านั้น ภาคีหรือกลุ่มดำเนินการควรมีกำหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมปฏิบัติงานซึ่งอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือคงไว้ หลังจาก ดำเนินงานเสร็จและประเมิณผลโครงการแล้ว
อย่างไรก็ดี อาจจะมีการตั้งคณะทำงานแบบถาวรเพื่อให้กลุ่มผูเป็นภาคีสามารถวางแผนได้ระยะยาวและ
ต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วจากประสบการณ์ดำเนินงานในชุมชนต่าง ๆ ในโลกพบว่า การวางแผนและการดำเนินงานนี้ จำเป็นจะต้องมีองค์กรกลาง ( Intermediary Ins titution) ซึ่งทำหน้าที่นอกระบบที่เป็นทางการและกระบวนการทางกฏหมาย และ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางหรือประสานงานระหว่างภาคีกลุ่มต่าง ๆ ที่สำคัญ และสามารถจัดเตรียมและวางแผนยุทธวิธีการให้บริการได้


กิจกรรมของเทศบาลภายในระบบต่าง ๆ back การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ร่วมกัน