|
 |
|
แนวความคิดเกี่ยวกับ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เป็นแนวคิดที่พยายามเสนอว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ |
สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปราศจากการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือระบบธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชน เป็นการพัฒนาที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ต่อได้อย่างปกติสุขและมีคุณค่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเราทุกคนในการจัดการและหาวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิถีทางที่ต้องใช้ความสามารถและทรัพยากรในท้องถิ่นโดยเกื้อกูลต่อวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม และการรักษาประโยชน์ดังกล่าวไว้ให้ได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถป้องกันความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกจากจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลแล้ว ในขณะเดียวกันยังปล่อยของเสียมากมายออกสู่ระบบสิ่งแวดล้อมอีกด้วย |
|
แนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" : การประยุกต์ใช้ในระดับท้องถิ่น |
|
เราสามารถนำแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลในระดับ |
ท้องถิ่นได้อย่างไร?ผลเบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจของการพัฒนาเทศบาล ได้แก่ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น น้ำ การจัดการของเสีย และการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน) การบริการด้านเศรษฐกิจ (เช่น โครงสร้างพื้นฐาน) และการบริการด้านสังคม (เช่น การอนามัย และการศึกษา) ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับเทศบาลจำเป็นจะต้องมีวิธีการเฉพาะในการวางแผนการจัดหาและให้บริการดังกล่าว ICLEI เรียกวิธีการเฉพาะนี้ว่า"การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ"การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการนี้ เป็นกรอบแนวทางที่กำหนดให้หน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และองค์กรอื่นๆ ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดหาวิธีการให้บริการอย่างยุติธรรม สนับสนุนให้มีความคิดริเริ่มจากชุมชน และให้สามารถป้องกันความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก |
 |
|
การให้บริการสามารถดำเนินการโดยผ่านการพัฒนา การก่อสร้าง และการซ่อมแซมบำรุงรักษา |
ระบบบริการต่างๆ ระบบการบริการเหล่านี้ ได้แก่ |
|
เครือข่ายต่างๆ ของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบการขนส่งมวลชน ระบบระบายน้ำ |
|
แผนงานโครงการต่างๆ เช่น คลีนิกสุขภาพ การรักษาความปลอดภัยของประชาชน |
|
กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการอนุมัติโครงการการพัฒนา |
|
งานประจำ เช่น การเก็บขยะมูลฝอย การตรวจสอบอาคาร |
|
การจัดการอื่นๆ เช่น การควบคุมมลพิษ |
|
ระบบการบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพจะสามารถตอบสนองหรือให้บริการที่พึงปรารถนาได้อย่าง |
สม่ำเสมอ สามารถลดต้นทุน หรือการลงทุน ทั้งในด้านพลังงานและทรัพยากร อย่างไรก็ตามระบบการบริการเหล่านี้ยังคงต้องอาศัยระบบอื่นๆ ที่ใหญ่กว่า เช่น ระบบนิเวศน์ (ได้แก่ สันปันน้ำ ประมงชายฝั่ง ป่าไม้) และระบบสังคม (เช่น ครอบครัว องค์กร หมู่บ้าน กลุ่มหรือเผ่าต่างๆ ) |
|
ดังนั้น การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ จึงมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่จะสนับสนุนและเกื้อกูลระบบสำคัญ |
ที่ตอบสนองความต้องการด้านการบริการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ในแง่นี้จึงสามารถให้คำจำกัดความของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนระดับท้องถิ่น ได้ดังนี้ |
|
การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาซึ่งสามารถตอบสนองหรือให้บริการขั้นพื้นฐานทั้งทางด้าน |
สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ทำลายระบบสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทางวัตถุ และทางสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดการให้บริการดังกล่าว |
 |
|
ขอบเขตของการวางแผนและการจัดการเทศบาล มักจะถูกจำกัดด้วยปัจจัยหลายประการ |
เช่น การเมือง ข้อจำกัดด้านกฎหมายหรือข้อบังคับ ระเบียบราชการ เทคโนโลยี และงบประมาณ ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคต่องานวางแผนของเทศบาลโดยตรงเท่านั้น ยังขัดขวางวิธีการและงานประจำที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เกี่ยวกับเทศบาล แต่สามารถส่งผลกระทบต่อชุมชน และระบบการให้บริการโดยรวมในท้องถิ่น เมื่อผลกระทบของการพัฒนาเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นและหากเทศบาลละเลยไม่พิจารณาถึงประเด็นดังกล่าว ในการวางแผน ก็จะมีผลเสียหายต่อการปฏิบัติงานการบริการของเทศบาล และสาธารณูปการที่เกี่ยวข้องได้อย่างรุนแรง |
|
การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะขยายขอบเขตของปัจจัยต่างๆ |
ที่นำมาใช้พิจารณาในการวางแผนของเทศบาล และกระบวนการตัดสินใจภายในขอบเขตและข้อจำกัดทางกฎหมาย อาชีพและงบประมาณ ซึ่งมีผลต่อกิจกรรมต่างๆ ของเทศบาล |
|
การวางแผนยุทธวิธีนี้ได้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคเอกชน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ |
(Vision) และเป้าฟมายระยะยาว รวมทั้งการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะสั้นให้แก่บริษัทและภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังอาจใช้เป็นวิธีการรวบรวมทรัพยากรของหน่วยธุรกิจโดยมียุทธวิธีเฉพาะ ซึ่งออกแบบเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบในการแบ่งปันทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต |
|
การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ ได้รวมเอาหลักและวิธีการในการวางแผนของภาคธุรกิจเอกชน |
การวางแผนชุมชน และการวางแผนสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อกิจกรรมสาธารณะ ที่เน้นเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ จะเน้น กระบวนการประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในกระบวนการคิดและตัดสินใจ และหาคำตอบหรือแนวทางแก้ไขปัญหา สำหรับชุมชนหรือเทศบาล จึงจัดเป็นกระบวนการเตรียมการล่วงหน้า (Pro-active process) ที่ให้เทศบาลสนับสนุนและระดมทรัพยากรทั้งทางสติปัญญา กายภาพ และเศรษฐกิจของคนในชุมชน ให้ร่วมกันกำหนดทิศทางเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาในอนาคต |
|
จะไม่มีวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในการดำเนินการวางแผน |
ยุทธวิธีการให้บริการแต่ละเทศบาลจะต้องร่างแผนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเงื่อนไขเฉพาะของตนทั้งทางด้านกฎหมาย ประเพณีแต่ละท้องถิ่น ในที่นี้โครงร่างการวางแผนของ ICLEI ได้นำเสนอองค์ประกอบสำคัญๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์หรือพัฒนาเป็นกระบวนการวางแผนยุทธวิธีการให้บริการที่เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นได้ ดังต่อไปนี้ |
ภาคีภาพ (Partnership) |
|
การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ เป็นวิธีการที่เทศบาลใช้เพื่อให้เกิดการประสานร่วมมือกันของ |
ประชาชน สถาบันต่างๆ และองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนและดำเนินการ วิธีการนี้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของกลุ่มดังกล่าวและจะต้องสะท้อนหรือตอบสนองความต้องการ ค่านิยม และอุดมคติของผู้เกี่ยวข้องจากทุกฝ่าย (Stakeholders) ในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้บริการซึ่งอยู่ในชุมชนนั้น ในการวางแผนนี้มีประเด็น เกี่ยวกับ "วิสัยทัศน์ร่วม (Common Vision) " เกี่ยวกับ "กระบวนการแสวงหาภาคีหรือผู้มีส่วนร่วม (Buy- in process)" ซึ่งเป็นการสร้างพันธะสัญญาร่วมกันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น โดยใช้ความร่วมมือและการประนีประนอม เงื่อนไขดังกล่าวจะเอื้ออำนวยให้แผนบรรลุผล สำเร็จ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากปราศจากเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้วแผนก็ยากจะบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ต่างกัน และมีบทบาทต่างๆ กันในการวางแผน ดังนั้น แต่ละชุมชนจะต้องเน้นและให้ความสำคัญของขั้นตอนแรกนี้ |
การจัดลำดับความสำคัญของชุมชน |
|
เทศบาลจะต้องเข้าใจและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการและปัญหาของผู้ใช้บริการ |
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านการบริการ และเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ความสำคัญขั้นแรกในกระบวนการวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ จึงเป็นการจัดลำดับประเด็นสำคัญๆ ดังกล่าวตามลำดับ ทั้งนี้เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากข้อจำกัดของทรัพยากรด้านต่างๆ และเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิผลในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลำดับความสำคัญ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา การจัดลำดับความสำคัญจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผล และปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญเป็นระยะๆ ไป |
การติดตามตรวจสอบระบบ (Systems Auditing) |
|
การติดตามตรวจสอบระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การให้บริการในประเด็นต่างๆ ว่ามีปัญหา |
อุปสรรคอะไรบ้าง? เพื่อจะได้กำหนดและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ถูกต้อง ประเด็นปัญหาเหล่านั้น เช่นปัญหาสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน หรือการขนส่งมวลชนสำหรับผู้มีรายได้น้อย ส่วนใหญ่มักจะต้องใช้ยุทธวิธีการปฏิบัติงานแบบผสมผสานในระหว่างสาขา หน่วยงาน และกลุ่มวิชาชีพที่แตกต่างกัน ปราศจากการวิเคราะห์ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นการยากที่จะเกิดการพัฒนาวิธีการหรือหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบประสานสอดคล้องกัน ปฏิบัติการส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นที่สาเหตุ ของปัญหา แต่ไม่คาดการณ์หรือคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติงานเหล่านั้นต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมในขอบเขตที่กว้างขวาง การติดตามตรวจสอบระบบจึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ เพราะจะทำให้เข้าใจระบบการบริการ และมีข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ในการติดตามตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ยุทธวิธีการให้บริการ (Strategic Service Plans) |
|
หลังจากที่มีการติดตามตรวจสอบระบบบริการตามลำดับความสำคัญก่อนหลังแล้ว ภาคีหรือ |
ผู้มีส่วนร่วม (Partner) สามารถเริ่มกระบวนการจัดทำแผน ยุทธวิธีการให้บริการได้ ซึ่งกระบวนการวางแผนปฏิบัติการนี้ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้คือ |
|
1. วิสัยทัศน์ของชุมชน (Community Vision) |
|
การติดตามตรวจสอบหรือวิเคราะห์ระบบจะทำให้รู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการบริการ |
และระบบซึ่งควบคุมการให้บริการดังกล่าว อาศัยข้อมูลเหล่านี้กับข้อมูลที่ได้จากการลำดับความสำคัญของชุมชน ภาคีหรือผู้มีส่วนร่วม (Partner) และชุมชนสามารถสร้างภาพลักษณ์ของการบริการในอุดมคติและสภาพของชุมชนที่ต้องการในอนาคตได้ |
|
2. การกำหนดยุทธวิธี (Strategy Formulation) |
|
ยุทธวิธีจะเป็นตัวกำหนดแนวทางให้ผู้มีส่วนร่วม (Stakeholders) รู้ถึงบทบาทหน้าที่ |
และความรับผิดชอบของตนที่ต้องปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมความพยายามและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันหรือองค์กรที่มีอยู่แล้ว และพยายามแก้ไขจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่างๆ โดยกำหนดแนวทางและทิศทางที่ชัดเจน รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างเหมาะสม การนำเสนอนโยบายที่ระบุหลักปฏิบัติและข้อผูกพันของผู้มีส่วนร่วม ให้ช่วยกันเสียสละทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงาน และที่สำคัญยิ่งก็คือยุทธวิธีต่างๆ และควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ ความเป็นจริง และสามารถดำเนินการได้จริง |
|
3. การกำหนดเป้าหมาย (Target Setting) |
|
เป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมจะเอื้ออำนวยต่อการวางแผนและช่วยในการกำหนดขีด |
ความสามารถของระบบต้นทุน ค่าใช้จ่าย และสามารถประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้ |
|
4. แผนปฏิบัติการ (Action Plans) |
|
ยุทธวิธีต่างๆ จะไม่เกิดประสิทธิผลเลย หากไม่สามารถนำไปประยุกต์หรือแปรเป็นโครงการอย่าง |
เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมมีทรัพยากรเพียงพอที่จะนำไปปฏิบัติหรือช่วยกันแสวงหา แหล่งเงินทุนมาสนับสนุนในการดำเนินโครงการ แต่ละยุทธวิธีจำเป็นจะต้องมีแผนปฏิบัติการโดยละเอียด แผนปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องมีความถูกต้องชัดเจนและแผนปฏิบัติควรมีพันธสัญญาให้ผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนสนับสนุนการดำเนินงานด้วย และที่สำคัญคือแผนปฏิบัติการ ควรจะออกแบบให้สามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที ซึ่งในบางกรณีการปฏิบัติอาจเริ่มต้นก่อนการจัดทำแผนเสร็จสมบูรณ์ด้วยซ้ำไป |
การปฏิบัติตามแผนและการติดตามผล (Implement and Monitor) |
|
การนำยุทธวิธีการบริการที่เน้นการมีส่วนร่วมไปปฏิบัติ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีหรือกระบวนการดำเนินงานที่เคยถือปฏิบัติมา |
และบ่อยครั้งจะต้องมีการจัดรุปแบบ ข้อตกลง หรือองค์กรและสถาบันบางส่วนเสียใหม่ ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ การแบ่งความรับผิดชอบ ตลอดจนสัญญาต่าง ๆ ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ผู้ใช้บริการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Partners) สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ข้อตกลงต่าง ๆ จะต้องรวมถึงการลงทุนและความรับผิดชอบของแต่ละภาคีหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีตารางเวลาดำเนินงานและมีวิธีติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง |
|
การติดตามผลการปฏิบัติงานเริ่มระหว่างการดำเนินงานตามแผน จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมและรวบรวมเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ |
ที่จะปฏิบัติ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของกิจกรรมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการปะเมินผลยุทธวิธีการให้บริการ คุณภาพหรือประสิทธิภาพในการบริการ รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ เอกสารข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป้นสิ่งที่ประโยชน์และคุณค่ายิ่ง ในบางครั้งยังสามารถใช้ในการค้นคว้าและระบุสาเหตุของปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในการกำหนดแนวทางหรือยุทธวิธีการบริการใหม่ ๆ ด้วย |
การประเมินผลและผลสะท้อนกลับ (Evaluation and Feedback) |
|
การติดตามผล (Monitoring) มีผลประโยชน์สำหรับการจัดการภายในองค์กร ในขณะที่การ |
ประเมินผลและผลสะท้อนกลับ ใช้สำหรับการจัดการทั้งภายในและภายนอก และจำเป็นที่จะต้องอธิบายให้ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเข้าใจ และเชื่อถือรวมทั้งจะต้องชี้แจงให้สาธารชนทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ตลอดจนการแจ้งให้ทราบเมื่อจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป |
|
ระบบการประเมินผลและผลสะท้อนกลับ ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของ |
ระบบการบริการและความสำเร็จของการบริการทั้งในส่วนของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวสามารถปรับพฤติกรรมและกิจกรรมของกลุ่มได้ทันท่วงที ระบบนี้จะป้อนข้อมูลเข้าสู่กระบวนการวางแผนที่มีอยู่ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ระบบผลสะท้อนกลับ (Feedback System) สามารถประยุกต์ใช้กับแนวความคิดของ "การสร้างสถานการณ์ผลักดัน" (Triggers) ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการวางแผนหรือการดำเนินงานต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่แผนปฏิบัติการที่มีอยู่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ |
|
การวางแผนยุทธวิธีการให้บริการ เป็นกระบวนการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อ |
ปรับปรุงการปฏิบัติงานในแต่ละด้านของเทศบาล เพื่อจัดสรรและรวบรวมทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น เนื่องจากกระบวนการนี้เน้นการมีส่วนร่วมในการให้บริการ และยอมรับว่าประชาชนมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา รวมทั้งเน้นถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบสังคม จึงเป็นที่คาดหวังว่ากระบวนการนี้จะ สนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) |
|
|
|