การประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายอย่างมาโขลกแล้วห่อรวมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นยาสมุนไพรที่มีนำมันหอมระเหย ซึ่งเมื่อถูกความร้อน จะระเหยออกมา เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ การบูร เป็นต้น เป็นวิธีการบำบัดรักษาของแพทย์แผนไทย จึงสามารถนำไปใช้ ควบคู่กับการนวดไทย โดยใช้การประ คบหลังจากการนวดไทย การประคบสมุนไพรมี 2 ชนิด คือ การประคบเปียก และการประคบแห้ง
  ประโยชน์การประคบสมุนไพร

            ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดยึดตัวออก
             ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบ
             ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
             บรรเทาอาการปวดเมื่อย
             ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือ บริเวณข้อต่อต่างๆ
             ช่วยกระตุ้น หรือ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

  วิธีเตรียมยา
ตัวยาสมุนไพรใช้ในการทำลูกประคบ
             ล้างเหง้าไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ให้สะอาด ตะไคร้ ผิวมะกรูด หั่นแล้วพร้อมโขลกพอหยาบๆ
             นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ตำผสมกับข้อ 1 แล้วใส่เกลือ การบูร พิมเสน คลุกให้เข้ากัน
             แบ่งตัวออกเป็น 3 ส่วน ใช้ผ้าห่อลูกประคบรัดด้วยเชือกให้แน่น
             นำลูกประคบไปนึ่งในหม้อ ครั้งละ 3 ลูก ประมาณ 15-20 นาที สับเปลี่ยนประคบบริเวณที่ต้องการ

  วิธีการประคบ

             ใช้ผ้าจับลูกประคบขณะร้อน ยกขึ้นจากปากหม้อ
             ใช้ลูกประคบแตะที่ท้องแขนตนเองทดสอบความร้อน
             ช่วงแรก แตะลูกประคบ และยกขึ้นโดยเร็ว จนกว่าลูกประคบจะคลายความร้อนลง
             จากนั้น จึงวางลูกประคบให้นานพอประมาณ แล้วกดเน้นบริเวณที่ต้องการ
             เปลี่ยนลูกประคบเมื่อเย็นลง ลักษณะประคบ ดูสังเกตลูกประคบว่ามีความร้อนมากหรือเปล่า ถ้ามีความร้อนต้องห่มผ้าขนหนูก่อน แล้วประคบ ตอนแรกห้ามประคบที่ใดที่หนึ่งนานๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยพุพอง หรือผู้ป่วยตกใจอาจช็อกได้ เมื่อร้อนต้องประคบเร็วๆ คอยซักถามดูเรื่อยๆ แล้วค่อยช้าลง ถ้าไม่ร้อนเอาผ้าขนหนูออก