มุนไพร นอกจากจะสามารถใช้สดๆ กินสดๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีวิธีการปรุงยาสมุนไพรมากมาย หลายวิธีเพื่อให้ได้สมุนไพรในรูปแบบที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่นที่ชวนกิน อีกทั้งสะดวกในการพกพา และที่สำคัญ สามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย
การปรุงสมุนไพรขึ้นใช้เองนั้น ผู้ใช้จะมั่นใจในคุณภาพและความสะอาดของยาสมุนไพร แต่บางครั้งสมุนไพรบางชนิดไม่มียาเตรียมสำเร็จรูปขาย อาจเนื่องจากติดขัดด้วยข้อบังคับทางกฎหมายบางประการ ความจำเป็นทางด้านการตลาด หรือความไม่คงตัวของสารในพืชนั้น ดังนั้นการเรียนรู้วิธีปรุงยาเองอย่างง่ายๆ จะข่วยให้ผู้ใช้สมุนไพรมากขึ้น
 

การชง (Infusion)

เป็นวิธีการที่ง่าย และรวดเร็วที่สุด ทำได้โดยใช้น้ำร้อนใส่ลงไปในภาชนะที่ใส่ตัวยาไว้              รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

การต้ม (Decoction)

วิธีนี้เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารละลายออกมาในน้ำ เป็นวิธีการที่สกัดเอาตัวยาสมุนไพรได้ดีกว่าการชง        รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

การดอง (Tincture)

เป็นวิธีการที่สกัดตัวยาออกจากพืชสมุนไพร ซึ่งเหมาะสำหรับพืชสมุนไพรที่มีสารสำคัญที่ไม่ละลายน้ำ      รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

การเชื่อม (Syrup)

การเชื่อมเป็นการนำน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมลงในยาชงหรือยาต้ม เหมาะสำหรับการปรุงยาแก้ไอ       รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

การสกัดด้วยน้ำมัน
(Infused Oils)

การสกัดด้วยน้ำมันนี้ มักใช้เป็นยาภายนอกร่างกาย เช่น สำหรับนวด      รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

ครีม (Cream)

การทำครีมสมุนไพรไว้ใช้เองภายในบ้านสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น      รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

ขี้ผึ้ง (Ointment)

เหมาะสำหรับตัวยาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในน้ำมันหรือเหล้า      รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

ผง แคปซูล และลูกกลอน (Powders Capsuls and Pills)

เป็นวิธีการทำยาสมุนไพรที่ง่ายอีกวิธีหนึ่งและยังได้คุณค่าทางสมุนไพรอย่างดีอีกด้วย       รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

ประคบ (Compress)

คือ การใช้สมุนไพรหลายอย่างมาโขลกแล้วห่อรวมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นยาสมุนไพรที่มีนำมันหอมระเหย      รายละเอียดเพิ่มเติม  
 

การพอก (Poultice)

การทำยาพอกด้วยวิธีการที่ง่ายที่สุด คือการตำหรือตัด หรือบดสมุนไพรสด ๆ ให้ละเอียดเพื่อให้น้ำสมุนไพร ออกมา      รายละเอียดเพิ่มเติม