ชื่อท้องถิ่น

กะแอน, ระแอน, หัวละแอน (ภาคเหนือ) ; ขิงแดง, ขิงทราย( มหาสารคาม) ; ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) ; จี๊ปู่, จี๊พู (ฉาน - แม่ฮ่องสอน) ; เป๊าะซอเถ๊ะ, เป๊าะสี (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Boesenbergia rotunda (L.) Mansf

วงศ์

ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ

 

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีรากฝอยที่เก็บสะสมอาหารเป็นรูปทรงกระบอกปลายแหลม เนื้อในรากมีสีเหลือง มีกลิ่นหอม อยู่รวมกันเป็นกระจุก (เป็นพวง) เรียก "รากพวง" ส่วนที่อยู่บนพื้นดินสูงได้ถึง 50 ซม.มีกาบใบเป็นแผ่นบาง สีแดงเรื่อตรงกลางเป็นร่องหุ้มซ้อนกัน กาบใบยาว 12 - 25 ซม.ตัวใบรูปร่างรี ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ตัวใบกว้าง 5 - 10 ซม. ดอกสีชมพู่อ่อน และดอกสีม่วงแดงอยู่ตรงโคนกลีบ บานทีละ 1 - 2 ดอก

ขยายพันธุ์

เหง้า หรือเรียกว่า หัว เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ ฤดูปลูกคือฤดูแล้ง

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เหง้าและราก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

กระชายเป็นพืชที่ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ในรากและเหง้ากระชาย ได้แก่ ไพนีน (pinene), แคมฟีน (camphene), ทูจีน (thujene), ไลโมนีน (limonene) และ กานบูร นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าหลายอย่างเช่น แคลเซียม เหล็ก เกลือแร่ และวิตามินต่าง ๆ

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 ปวดท้อง ท้องเดินในเด็ก: กระชาย 1 ราก เผาไฟ หรือ หมกขี้เถ้าจนสุก เอามาฝนกับฝาละมีหม้อดิน ละลายกับน้ำปูนใสให้ข้นพอดื่มได้

 โรคบิด (มีตัว): ใช้เหง้าและรากกระชายแก่ๆ 4 หัว เผาไฟให้สุก ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากัน คั้นเอาแต่น้ำ กินครั้งละ 3 - 5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า - กลางวัน - เย็น เมื่อหาย แล้วกินต่ออีก 1 - 2 วันๆ ละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น

 แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ: ใช้เหง้าและราก ถ้าสด 5 - 10 กรัม แห้ง 3 - 5 กรัม บุบพอแหลกต้มเอาน้ำดื่มหรือปรุงเป็นอาหาร

 บำรุงกำลัง: เอาเหง้าและรากกระชายแก่ประมาณ 3 หัว ทุบให้แตกแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำผึ้งแท้กินครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหารเย็นหรือก่อนนอน
หรือเอารากกระชาย 1 กำมือ ใส่ครกตำคั้นเอาแต่น้ำได้น้ำกระชายเท่าไรก็ใส่น้ำผึ้งรวงไปเท่านั้น คนให้เข้ากัน กินก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละ 1 ถ้วยชา กินทุกวันจะมีอาการสดชื่น หากได้รากหรือเหง้ากระชายดำยิ่งวิเศษ เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ไม่แก่เร็ว ไม่ปวดเมื่อยหลัง ถ่ายลมดี ท้องไม่ผูก

 แก้ปวดท้อง: เอาเหง้าและรากกระชายแก่ๆ มาปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกินกับน้ำร้อน ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น

 แก้ลมวิงเวียน: เอาเหง้าและรากกระชายแก่ๆ (มากน้อยตามต้องการ) นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง เก็บใส่ขวดไว้ใช้กินกับน้ำร้อน แก้โรคลมตีขึ้น มีอาการวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม เอารากกระชายแก่ๆ หั่นเป็นแว่นบางๆ ตากแห้ง   ชงน้ำแทนใบชา

 แน่นหน้าอก: เอาเหง้าและรากกระชายฝนกับน้ำซาวข้าว ประมาณ ครึ่ง ถ้วยชา

 แก้ปวดเมื่อย: เอาเหง้าและรากกระชายแก่ๆ หั่นเป็นแว่นบางๆ ตากแห้ง    ชงน้ำแทนใบชา

 แก้แผลในปาก แก้กลาก :  เอาเหง้าและเหง้ากระชายฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ แล้วเอาน้ำยาที่ฝนได้ทาบริเวณที่เป็น

 แก้ฝี: เอาเหง้าและรากกระชายตำให้ละเอียด ทาหัวฝีที่พองบวมอยู่ ทำให้ลดลงและหายเร็ว

ข้อควรระวัง

ถ้ากินยาไม่ครบขนาด มีเชื้อบิดหลงเหลืออยู่ จะทำให้กลายเป็นบิดเรื้อรัง และโรคอาจจะลุกลามจนทำให้เกิดฝีในตับได้ เพราะเชื้อบิดจะเจาะทะลุลำไส้เข้าไปทำลายตับ ดังนั้นเวลากินยาจนหยุดถ่ายแล้ว ควรกินต่ออีกอย่างน้อย 1 - 2 วัน เพื่อให้เชื้อบิดหาย

กระเจี๊ยบ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน กระทือ