ชื่อวิทยาศาสตร์


Zingiber zerumber (L.) Smith

ชื่อท้องถิ่น

กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

วงศ์

Zingiberaceae

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินสีเหลืองซีด ๆ เหง้ามีขนาดใหญ่ เนื้อข้างในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบออกตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ใบยาวเรียวเขียวดกหนาทึบ ซ้อนกันเป็นแผงติดต่อกันไปยืดยาว ช่อดอกโผล่ขึ้นจากหัวใต้ดิน อัดกันแน่นสีแดง ตอนปลายประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดงจำนวนมาก ดอกสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ที่ปลายกลีบมีรูปร่างเหมือนปากอ้า

การขยายพันธุ์

ใช้เหง้าในการปลูก ปลูกได้โดยทั่วไป ชอบดินร่วนซุย และปลูกได้ทุกฤดูกาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา

หัวหรือเหง้าสด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ในเหง้าพบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารหลายตัว เช่น methylgingerol, zingerone และ citral เป็นต้น

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้บิด(ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดปนด้วย) : ใช้เหง้าสดขนาด 20 กรัม ย่างไฟพอสุก นำมาโขลกกับน้ำปูนใส ประมาณ 1/2 แก้ว (110 มิลลิลิตร) คั้นเอาน้ำมาดื่มเมื่อมีอาการ

กระชาย สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน กระเทียม