การศึกษาไทย:
แก้ปัญหา หรือสร้างปัญหาให้สังคม

 

ขอเจริญพร ท่านนายกสมาคมฯ ท่านประธานที่ประชุม
ท่านผู้ดำเนินการอภิปราย และท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

คุณหญิงอัมพร มีศุข
... จันทร์แรม ศิริโชค จันทรทัต
ดร. วิชัย ตันศิริ

ก่อนจะมาพูดกันในที่นี้ เมื่อสักครู่หนึ่งนี้ อาตมภาพได้สนทนากับท่านอาจารย์คุณหญิง ผู้เป็นนายกสมาคมฯ ท่านได้ปรารภว่าปัจจุบันนี้การอภิปรายมักจะมีลักษณะเป็นปาฐกถาหมู่ อาตมภาพก็รู้สึกอย่างนั้น และก็นึกว่าวันนี้ก็คงจะเป็นอย่างนั้นอีก ถ้าหากว่าจะเป็นอย่างนั้นจริง ก็ขอให้ถือว่าเป็นไปตามธรรมเนียมของปัจจุบันก็แล้วกัน อีกอย่างหนึ่งในความรู้สึกส่วนตัวของอาตมภาพเอง ก็เห็นว่าเวลาที่ให้อภิปรายนี้ค่อนข้างน้อยมากสำหรับเรื่องที่ใหญ่ อย่างนี้ ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าจะต้องเขียนมาอ่านเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม ยิ่งพูดไปก็เท่ากับกินเวลาที่จะต้องใช้ ก็ขอเข้าสู่เรื่องที่ตั้งกันไว้

หัวข้อเรื่องบอกให้พูดว่า การศึกษาไทย: แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหาให้สังคม ตอนแรก ทีเดียวที่เห็นชื่อหัวข้อนี้ อาตมภาพก็นึกว่ามีแง่ที่จะต้องสงสัยคือ คำว่า การศึกษาไทย นี้เราต้องการความหมายแค่ไหน เพราะสำหรับพระแล้วความรู้สึกอาจจะมองไปถึงการศึกษาที่เป็นพื้นของคนไทยทั่วไปหมด รวมไปถึงการศึกษาของพระที่วัดด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้ก็กลายเป็นว่า เราจะต้องมาจำกัดความให้ชัดว่า คำว่าการศึกษาไทยในที่นี้เราเอากันแค่ไหน อาตมภาพก็มานึกว่าในที่นี้ ผู้ตั้งหัวข้อคงจะประสงค์การศึกษาไทย เพียงในความหมายของการศึกษาระบบที่เราได้เริ่มดำเนินการมาประมาณหนึ่งศตวรรษ ตามแบบแผนที่เรียกได้ว่านำเข้ามาจากตะวันตก อย่างที่เรียกกันว่าการศึกษาสมัยใหม่ซึ่งดำเนินการโดยรัฐหรือรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างน้อยในการวางนโยบายซึ่งอันนี้จะไม่คลุมไปถึงการศึกษาในวัดเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อตกลงกันในความหมายอย่างนี้ได้แล้ว ก็ถึงจะพิจารณาในเรื่องที่ว่าการศึกษาไทย แบบสมัยใหม่ตามระบบตะวันตกที่เข้ามาประมาณหนึ่งศตวรรษนี้ ได้แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหาให้แก่สังคมไทย

ตอน : แก้ปัญหา

การศึกษาไทย: เพื่อแก้ปัญหาอะไร?

ก่อนที่จะพูดว่าการศึกษาระบบนี้แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหาให้สังคม เราก็ต้องมาดูว่า การศึกษาแบบนี้เราได้เริ่มต้นจัดขึ้นเพื่อความมุ่งหมายอะไร หมายความว่าเพื่อความมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาอะไรนั่นเอง ถ้าอย่างนี้แล้วก็รู้สึกว่าจะมีความชัดเจน

ปัญหาของประเทศไทยในขณะเมื่อจะเริ่มต้นจัดการศึกษาแบบนี้ขึ้นนั้น เป็นปัญหาที่เรียกได้ว่าอันเดียว แม้จะมีหลายด้าน คือการคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก ซึ่งพร้อมกับปัญหานี้ก็โยงไปถึงปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นลักษณะอีก ด้านหนึ่งของปัญหาเดียวกัน กล่าวคือ ประเทศไทยของเราไม่เจริญก้าวหน้าพอที่จะแข็งข้อต่อต้านประเทศอาณานิคมเหล่านั้น คำว่า "ไม่เจริญก้าวหน้า" ในที่นี้หมายถึงว่าไม่เจริญก้าวหน้าในทางวัตถุ ในทางวิทยาการและระบบการต่าง เมื่อมีปัญหาอย่างนี้ขึ้นก็จะต้องหาทางแก้ ซึ่งผู้นำของประเทศในเวลานั้นก็จะต้องหันมามุ่งที่จะระดมกำลังเข้าแก้ปัญหานี้ ในการที่จะแก้ปัญหานี้สิ่งที่จะต้องทำก็คือ

 

.

 

รวมกำลังรวมจิตรวมใจคนทั้งชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีจิตสำนึกร่วมกัน ตลอดจนกระทั่งมีศูนย์อำนาจอันเดียวกันพุ่งไปทางเดียวกัน แน่วแน่ตามผู้นำแล้วก็คอยเป็นกำลังหนุน เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพให้กับผู้นำในการที่จะแก้ปัญหานั้น หรือในการที่จะต่อสู้กับลัทธิอาณานิคม

.

 

จะต้องเร่งรัดปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าทันสมัย ทันเหตุการณ์
ภายในเวลาอันรวดเร็ว

 

นี้เป็นหลักการสำคัญสองประการ ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้ผลอย่างนี้ก็มี สองอย่าง เอาเฉพาะที่เป็นตัวเอก ก็คือ

ประการที่ การปกครอง ได้แก่การจัดแบบแผนระบบการปกครองให้เข้าสู่ความมุ่งหมายที่ว่า รวมศูนย์อำนาจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมใจคนทั้งชาติเพื่อให้ระดมกำลังได้เต็มที่และมุ่งหน้าไปในทางเดียวกัน

ประการที่ ก็คือจัดการศึกษาเพื่อเสริมคุณภาพคน หรือสร้างคนที่มีคุณภาพที่จะมาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ หรือสร้างสรรค์ความทันสมัยนั้น และให้การศึกษานั้นเป็นปัจจัยที่จะช่วยเสริมให้การปกครองได้ผลตามที่ต้องการด้วย

ฉะนั้น จึงสรุปสิ่งที่จะต้องทำได้ดังนี้

 

.

 

ทำให้คนรวมเข้าในระบบแบบแผนอันเดียวกัน ด้วยการจัดระบบการปกครอง และลึกลงไปก็คือด้วยการจัดระบบการศึกษา ที่จะเป็นฐานให้แก่ระบบการปกครองนั้น

.

 

สร้างกำลังคนให้แก่รัฐโดยเฉพาะในเวลานั้น ข้อสำคัญก็คือด้วยการเตรียมคนเข้ารับราชการ เพราะข้าราชการเป็นฐานสำคัญอันดับแรกที่จะรวมกำลังคนได้ เอามาใช้ได้และเป็นแหล่งแรกที่จะต้องสร้างเสริมคุณภาพ

 

เมื่อจะทำให้ได้ผลเช่นนี้ ว่าเฉพาะในทางการศึกษาจะต้องทำอะไรบ้าง สิ่งที่จะต้องดำเนินการในด้านการศึกษาก็คือ

 

)

 

จัดระบบการศึกษาแบบรวมศูนย์ให้เอื้อต่อและสอดคล้องกับระบบแบบแผนการ ปกครอง และแผ่ระบบรวมศูนย์นี้ไปทั่วประเทศ ให้เป็นเครื่องชักนำคนทั้งชาติเข้ามาอยู่ในระบบแบบแผนการปกครองอันเดียวกัน โดยอาจจะให้มีความรู้แบบเดียวกัน คิดแบบเดียวกัน พูดแบบเดียวกัน ทำเหมือนกันด้วย ซึ่งก็จะทำให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้เต็มที่

)

 

จัดหลักสูตรการศึกษาให้พลเมืองได้เล่าเรียนวิทยาการสมัยใหม่ ที่จำเป็นสำหรับการเร่งรัดปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าทันสมัย โดยเฉพาะจำพวกวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งในตอนนั้นจะเห็นว่ามีการเน้นบางวิชาอย่างที่เปิดขึ้นก็มีพวกกฎหมาย การปกครอง การพาณิชย์ วิศวกรรม สถาปัตย์ การแพทย์ รวมทั้งการฝึกหัดครู เพื่อเตรียมคนให้มีคุณภาพแล้วจะได้พัฒนาวิชาการต่าง อย่างที่ว่าข้างต้นด้วย

 

เพื่อให้เป็นอย่างนี้ ก็ได้มีปฏิบัติการในทางการศึกษาที่สำคัญสองประการ

ประการที่หนึ่ง คือดำเนินการศึกษาระดับพื้นฐานทั่วประเทศออกไปจากส่วนกลาง

ประการที่สอง คือจัดการศึกษาระดับสูงในส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่ามีการตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก หรือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน และพัฒนาต่อมาอีกจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัย คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในที่สุด มหาวิทยาลัยทั้งหลายในปัจจุบันก็พัฒนามาจากการศึกษาแบบนี้

เมื่อมองในขั้นสุดท้าย การศึกษาพื้นฐาน (ประการที่หนึ่ง) ก็ช่วยให้คนได้มาเข้าสู่การศึกษาที่อยู่ในส่วนกลาง (ประการที่สอง) นี้อีกชั้นหนึ่งนั่นเอง ถ้าดูตามสภาพในปัจจุบัน
ก็คือเริ่มจากประถมศึกษาในชนบทจนมาเข้ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ข้อคำนึงที่จะจัดการศึกษาข้อแรกที่สุดก็คือ การศึกษาระดับพื้นฐานในชนบททั่วประเทศจะทำอย่างไร

พอถึงตอนนี้เรื่องก็เลยโยงไปหาพระ โยงไปหาอย่างไร ก็มองเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นศูนย์กลางของการศึกษามาแต่สมัยโบราณ พระเป็นผู้นำของชนบทและมีบทบาทสำคัญในการศึกษา เพราะฉะนั้นก็จะต้องให้พระเป็นผู้นำในเรื่องการศึกษาระดับพื้นฐาน ที่จะดำเนินการขึ้นในชนบททั่วประเทศ และแม้แต่ตัวพระนั้นเองก็จะต้องรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางด้วยเหมือนกัน พูดให้แน่นเข้าอีกว่า พระเป็นผู้นำและเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านอยู่แล้ว และพระก็เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ชาวบ้านอยู่แล้วด้วย เพราะฉะนั้นก็เอาการศึกษาแบบรวมศูนย์ไปมอบถวายแก่พระ แล้วก็ให้พระใช้ความเป็นผู้นำที่มีอยู่แล้วนั่นแหละ รวมชาวบ้านเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยการให้การศึกษาแบบรวมศูนย์เสียเลยทีเดียว ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ราษฎร แก่รัฐ และแก่วัดพร้อมไปด้วยกัน

ถึงขั้นนี้ก็เป็นอันได้นโยบายและเห็นทางปฏิบัติ ทางรัฐบาลในสมัยนั้นก็จึงได้ให้พระในฐานะตัวแทนของฝ่ายการศึกษา และกระทรวงมหาดไทยในฐานะตัวแทนของฝ่ายปกครอง มาช่วยกันดำเนินการศึกษาดังที่ได้ปรากฏชัดเจนว่า ในด้านการศึกษานั้น ในหลวงรัชกาลที่ห้า ได้อาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ให้เป็นผู้รับผิดชอบจัดดำเนินการศึกษาในชนบททั่วประเทศ แล้วก็โปรดฯ ให้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยฝ่ายปกครอง เป็นผู้เกื้อหนุนในด้านอุปกรณ์เป็นต้นทุกอย่าง เพื่อให้พระดำเนินการศึกษาไปได้ด้วยดี

เรื่องที่ว่านี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษากับการปกครองมาเกื้อหนุนกันอย่างไร หรือว่าการดำเนินการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อให้มาเอื้อต่อการปกครองอย่างไร ดังได้กล่าวแล้วว่าในเวลานั้น เราจะต้องจัดระบบการปกครองให้ประชาชนทั้งชาติอยู่ในแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน การปกครองนี้หมายถึงการปกครองทั้งฝ่ายบ้านเมืองและพระสงฆ์ และเราก็ได้อาศัยการศึกษามาเป็นตัวช่วย ให้วางระเบียบแบบแผนการปกครองเช่นนั้นได้สมประสงค์

เรื่องนี้มีหลักฐานชัดเจนดังจะแสดงให้เห็นตัวอย่าง กล่าวคือ เมื่อจะวางพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ .. ๑๒๑ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรกของประเทศไทยนั้น ได้มีการเตรียมการในทางการศึกษาก่อน ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นได้ชัดจากประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ .. ๑๒๑ อาตมภาพจะขอโอกาสอ่านสักหน่อย จะได้เห็นชัดว่าการศึกษาสัมพันธ์กับการปกครองอย่างไร

 

"มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า
ด้วยเมื่อ .. ๑๑๗ ได้โปรดให้พระราชาคณะหลายรูป ออกไปจัดการศึกษาตามอารามใน
หัวเมือง และได้ทรงอาราธนา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ที่สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ ให้ทรงรับภาระธุระอำนวยการนั้นในฝ่ายสมณะ และได้โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงรับหน้าที่อุดหนุนการนั้นในส่วนหน้าที่เจ้าพนักงานฝ่ายฆราวาส ความแจ้งอยู่ในประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมืองซึ่งได้ออกเมื่อ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน .. ๑๑๗ นั้นแล้ว พระสงฆ์เถรานุเถระและเจ้าพนักงานในฝ่ายฆราวาส ได้ช่วยกันจัดและอำนวยการตามพระราชดำริ ด้วยความสามารถและอุตสาหะ
อันเป็นที่พอพระราชหฤทัย ได้เห็นผลความเจริญในการเล่าเรียน ตลอดจนความเรียบร้อยในการปกครองพุทธมณฑลขึ้นโดยลำดับมา บัดนี้ทรงพระราชดำริเห็นว่าถึงเวลาอันสมควร
จะตั้งเป็นแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ให้มั่นคงเรียบร้อยได้แล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ เดือน มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑"

เอาแค่นี้ก่อน เพียงเท่านี้ก็ชัดแล้วว่า ก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั้นก็ได้
มีการจัดการเล่าเรียนในหัวเมืองแล้ว จนกระทั่งว่าการศึกษานี้ได้ทำให้พระสงฆ์ ตลอดจน ประชาชนเข้ามาอยู่ภายในระบบแบบแผน ที่จะจัดตั้งเป็นการปกครองอันหนึ่งอันเดียวกันได้
จึงได้ออกพระราชบัญญัตินี้ นับว่าเป็นนโยบายที่เราจะต้องมองรวมทั้งประเทศว่า ดำเนินการเพื่อความมุ่งหมายอะไร ความมุ่งหมายก็เป็นดังที่อาตมภาพกล่าวมาแล้วข้างต้น คือเมื่อทำอย่างนี้ การศึกษาก็เกื้อหนุนแก่การปกครอง และการปกครองที่จัดก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น แล้วเราก็ได้ผลสำเร็จตามนั้น กล่าวคือประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จ แก้ปัญหาได้จริงตามที่มุ่งหมาย

 

.

 

เราพ้นจากการครอบครองของลัทธิอาณานิคม

.

 

ประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าทันสมัยในทางวัตถุ วิทยาการ และระบบการที่ทันสมัยแบบประเทศตะวันตก

 

จึงตอบได้ว่า การศึกษาไทยสมัยใหม่นี้ได้แก้ปัญหาให้แก่สังคมได้แล้ว ฉะนั้นที่ตั้งคำถามไว้ว่า การศึกษาไทยแก้ปัญหาหรือสร้างปัญหาให้สังคมไทย เราก็ตอบคำถามนั้นเสร็จไปแล้วเป็นขั้นที่หนึ่ง อันนี้เป็นช่วงที่หนึ่ง ต่อไปก็จะถึงช่วงที่สองซึ่งจะมาดูกันในปัจจุบันนี้ว่า การศึกษาไทยได้มีการสร้างปัญหาหรือไม่

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้การศึกษาแก้ปัญหาของสังคมไทย

ก่อนที่จะพูดถึงช่วงที่สองว่า การศึกษาไทย แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา ก็อยากจะตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่กล่าวข้างต้นนั้นเสียก่อน ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นมีอยู่ประมาณ อย่าง แต่ตอนแรกนี้จะพูดถึงลักษณะของการแก้ปัญหาก่อน ลักษณะการแก้ปัญหาของเมืองไทยในเวลานั้นมี ประการ

 

.

 

เรามุ่งเพื่อแก้ปัญหาประเภทที่เรียกได้ว่า เป็นปัญหาเฉพาะหน้า คือการที่ลัทธิ
อาณานิคมได้เข้ามาคุกคาม และเราจะต้องทำตัวให้หลุดพ้นไปจากการคุกคามนั้น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมมีลักษณะเป็นเรื่องชั่วคราว หรือเรียกว่า การแก้ปัญหาระยะสั้น

.

 

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ตามปกติจะเป็นเรื่องเร่งด่วน ต้องเร่งรัดทำจนอาจจะกลายเป็นเรื่องเร่งรีบ หรือบางทีก็รีบร้อนด้วย นี่เป็นลักษณะประการที่สอง

 

อย่างไรก็ตามจะต้องเข้าใจด้วยว่าความจริงท่านได้คิดแก้ปัญหาระยะยาวด้วย โดยมุ่ง
ให้การแก้ปัญหาระยะสั้นนั้นเป็นฐาน และมีการเตรียมการสร้างสรรค์ระยะยาวแทรกไปด้วย แต่จุดเน้นจุดเด่นหรือการระดมกำลังมุ่งแก้ปัญหาระยะสั้นที่เผชิญอยู่เฉพาะหน้า หรือสภาพที่มองเห็นโต้ง เป็นสำคัญ

รวมความว่า หนึ่ง เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น สอง เป็นการเร่งด่วนหรือรีบร้อน ในเมื่อลักษณะของการแก้ปัญหาเป็นอย่างนี้ ก็จึงมีข้อสังเกตสืบเนื่องต่อไปอีก ซึ่งข้อสังเกตทั้งหมดนี้จะโยงไปถึงปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันทุกอย่าง

ประการที่หนึ่ง ตามธรรมดาของการแก้ปัญหา บางทีก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรีบร้อนหรือจำเป็น บางทีเราต้องยอมเสียอะไรบางอย่าง ต้องยอมสร้างปัญหาบางอย่างขึ้นมาทั้ง ที่รู้ด้วยซ้ำ เพื่อจะทำให้วัตถุประสงค์สำคัญในการแก้ปัญหาใหญ่เฉพาะหน้าเป็นผลสำเร็จ และเรื่องนี้ก็เป็นอย่างนั้นด้วย

ประการที่สอง ในการแก้ปัญหาระยะสั้น ถ้าผู้บริหารประเทศที่รับช่วงต่อมาเข้าใจปัญหาและรู้ทันเหตุการณ์ เมื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้นเสร็จ เข้ารูปดีแล้ว ก็จะต้องหันมาตั้งหลักใหม่เพื่อแก้ปัญหาแทรกซ้อนซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างนั้น และวางแนวความคิดในการที่จะสร้างสรรค์พัฒนาระยะยาวต่อไป อันนี้คือข้อสำคัญ

ประการที่สาม ข้อนี้จะสัมพันธ์กับเรื่องปัญหาที่จะพูดถึงต่อไป กล่าวคือ การแก้ปัญหาระยะสั้นและรีบเร่ง แม้จะทำสำเร็จแต่มักจะมีสภาพแบบให้รอดตัวไปก่อน อย่างที่ว่าทำกันอยู่แค่เปลือกผิวภายนอก ซึ่งปรากฏว่าเราอาจจะมีรูปร่างที่ทันสมัย แต่เนื้อตัวยังไม่พัฒนา ที่เรียกกันว่าทันสมัยแต่ไม่พัฒนา หรือว่าแต่งตัวศิวิไลซ์แต่ข้างในคือคนเดิม หรืออีกอย่างหนึ่งจะขอเทียบเหมือนกับการสร้างเจดีย์ของศรีธนญชัย เข้าใจว่าหลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องการสร้างเจดีย์ของศรีธนญชัย

เรื่องมีอยู่สั้นๆว่าพวกพม่าได้มาท้าทายเมืองไทยว่าให้สร้างเจดีย์แข่งกัน เป็นการพนันเอาเมืองกันเลย ให้สร้างเจดีย์เสร็จในวันเดียว หนึ่งวันหนึ่งคืน ประเทศไทยก็รับท้า แต่มีความวิตกมากคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไรดี ในที่สุดศรีธนญชัยก็มาขันอาสาว่าจะสู้ ตกลงว่าจะสร้างเจดีย์แข่งกันที่ชายแดน พอถึงเวลาแข่งขัน ฝ่ายพม่าก็เริ่มการตั้งแต่เช้า ก่ออิฐทำเจดีย์ขึ้นไป เช้าก็แล้ว สายก็แล้ว เย็นก็แล้วไม่เห็นไทยเริ่มสักที จนกระทั่งค่ำ พอถึงกลางคืนมืดแล้วศรีธนญชัยก็เริ่มเอาไม้มาผูกทำเป็นโครงขึ้น แล้วก็เอาผ้าขาวพันรอบ พอถึงเวลารุ่งสางยังไม่สว่างดีเห็นไม่ชัด พม่ามองมาเห็นเจดีย์ไทยขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ของตัวเองจวนจะเสร็จเหมือนกันแต่ว่ายังไม่เรียบร้อย เห็นว่าถ้าขืนรออยู่เสียเมืองแน่ พม่าก็เลยถอนกำลังหนีกลับประเทศหมดเลย ปรากฏว่าประเทศไทยชนะ อย่างน้อยก็เอาตัวรอดมาได้ นี่คือลักษณะของการแก้ปัญหาแบบศรีธนญชัย เอาให้รอดตัวไปก่อน การพัฒนาประเทศของเรานั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าขอให้พิจารณาด้วย

ประการที่สี่ การพัฒนาประเทศของเราที่ว่าให้ทันสมัยนั้นก็เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการคุกคามของลัทธิอาณานิคม ความมุ่งหมายจึงชัดเจนอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ขอให้พิจารณาว่าการกระทำแต่ละอย่างที่มีความมุ่งหมายนั้น เมื่อความมุ่งหมายของมันสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าการกระทำนั้นยังคงดำเนินอยู่ต่อไป การกระทำนั้นก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าเคว้งคว้าง เลื่อนลอยไร้จุดหมาย แกว่งหรือระส่ำระสาย ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะต้องทำอย่างไร มีทางที่จะทำได้สองประการกับการกระทำนั้นคือ

 

.

 

ตั้งความมุ่งหมายให้ใหม่แก่การกระทำนั้น

.

 

ปรับเปลี่ยนการกระทำนั้นเสียใหม่

 

ถ้าหากว่าเรามีการตั้งความมุ่งหมายให้ใหม่ และจุดหมายนั้นมีความชัดเจนแล้ว การกระทำนั้นก็เดินหน้าแน่วแน่ต่อไปได้ แต่ถ้าหากว่าเราไม่ตั้งความมุ่งหมายให้ใหม่ เมื่อความมุ่งหมายเก่าเสร็จสิ้นไปโดยที่การกระทำนั้นยังไม่หยุดเลิกไปด้วย การกระทำนั้นก็จะกลายเป็นการกระทำซึ่งขาดจุดหมายที่ชัดเจน มันก็จะเกิดอาการเคว้งคว้างแล้วก็อาจจะเกิดความมุ่งหมายที่เลื่อนลอย หรือแทรกซ้อนประเภทไขว้เขวที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาก็ได้

ยกตัวอย่างเช่นว่าเกิดมีข้าศึกหรือโจรผู้ร้ายมา เราก็ระดมกำลังพลในหมู่บ้านในถิ่นในตำบลของเราขึ้นมา จับอาวุธเข้าสู้กับผู้ร้ายเหล่านั้นจนกระทั่งโจรผู้ร้ายแตกพ่ายหนีไป ถอยไป แล้วก็เสร็จ ทีนี้สิ่งที่จะต้องทำต่อไปกับกองกำลังที่ระดมขึ้นมาคืออะไร คือหนึ่งสลายตัวเสีย หรือสองตั้งความมุ่งหมายใหม่ว่าจะเอากำลังพลนั้นไปทำอะไร เช่นถ้าเราคิดต่อไปว่าเอาละตอนนี้เรารวมกำลังพลไว้ดีแล้ว โจรผู้ร้ายก็ปราบเสร็จแล้ว เราเอากำลังนี้ไปใช้งานอื่นเถอะ ถ้าเราเป็นประเทศหนึ่ง เราก็อาจจะเอากำลังพลนั้นไปบุกประเทศอื่นต่อไปเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำอะไรลงไปให้ชัดเจน ก็จะต้องมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อกำลังพลนั้นก็ไม่สลายตัวยังจับอาวุธกันอยู่ และเราก็ไม่มีความมุ่งหมายให้ใหม่ ก็เลยเกิดระส่ำระสาย พวกนี้อาจจะหันมารบกันเอง หรืออาจจะเอาอาวุธเอากำลังนั้นไปปล้นไปทำอะไรขึ้นมา กลายเป็นอาชญากรรมหรืออะไร ที่ไม่ดีไปก็ได้ แล้วก็จะเกิดผลเสียขึ้นมาได้มากมาย

การกระทำในการพัฒนาประเทศนี้ อาจจะยังคงมีความมุ่งหมายเหมือนอย่างประเทศไทยสมัยเดิม คือการทำประเทศให้เจริญก้าวหน้าทันสมัย จนสามารถต้านทานสู้กับลัทธิอาณานิคมเพื่อให้เอาตัวรอดได้ ซึ่งต่างจากบางประเทศที่เขาอาจจะพัฒนาให้ทันสมัยเจริญก้าวหน้า โดยตั้งความมุ่งหมายว่าเขาจะต้องยิ่งใหญ่กว่าประเทศใด ทั้งหมด แม้แต่ประเทศตะวันตกที่เขาเคยต้องตาม เขาจะต้องยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ญี่ปุ่นอาจจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการตั้งจุดมุ่งหมายอย่างนั้น ถ้ามีความมุ่งหมายอย่างนี้อยู่ แม้ว่าการต่อสู้กับลัทธิอาณานิคมจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่จุดหมายก็ยังไม่สำเร็จ การพัฒนาประเทศของเขายังคงมีทิศทางชัดเจนที่จะต้องเดินหน้าแน่วแน่ต่อไป แต่ถ้าไม่มีความมุ่งหมายที่ชัดเจนแล้วจะเกิดปัญหาขึ้นมา

การกระทำที่เรามุ่งให้คนของเราทันสมัยเพื่อจะสู้กับตะวันตกได้นั้น ในเมื่อตะวันตกนั้นเราเกิดรู้สึกว่าไม่ต้องสู้ หรือเลิกสู้ได้แล้ว เพราะเขาไม่แสดงอาการรุกรานให้เห็นต่อไปอีก ก็เรียกได้ว่าความมุ่งหมายเดิมของการกระทำนั้นหมดไป ทีนี้เมื่อเรายังมีการกระทำอย่างเดิม คือการสร้างความทันสมัยนั้นต่อไปโดยไม่ได้ตั้งความมุ่งหมายใหม่เข้ามารับช่วงแทน เราก็อาจจะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น คือคนของเราที่พยายามทำตัวให้ทันสมัย ให้ทันเขานั้น จะขาดจุดหมายในการพัฒนา แล้วก็เลยเกิดความเลื่อนลอย มีจุดหมายพร่า มัว การพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างประเทศตะวันตก เพื่อต่อสู้ต้านทานลัทธิอาณานิคมของตะวันตกได้นั้นก็จะหดสั้นเข้า เหลือแค่ว่าพัฒนาเพื่อให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยตามอย่างประเทศตะวันตก แล้วจุดหมายที่ค้างอยู่ครึ่ง กลาง นั้น ก็อาจจะกลายหรือแปรไปในลักษณะที่เกิดไปนิยมชื่นชมเขาแล้วก็เลยเห่อฝรั่ง ตั้งหน้าตั้งตาเลียนแบบ มุ่งแต่ตามเขาอย่างเดียว

ในที่สุด แม้ว่าเราจะรอดพ้นจากความเป็นอาณานิคมทางการเมืองหรือการปกครองของฝรั่งมาได้ แต่เราก็อาจจะกลายเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจและทางปัญญาของเขาไป โดยสมัครใจอย่างไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นความมุ่งหมายจะต้องมีอย่างชัดเจน ถ้าจุดหมายเดิมสำเร็จแล้ว แต่การกระทำยังดำเนินต่อไป ก็ต้องสร้างจุดหมายใหม่ให้เป็นที่กำหนดของจิตสำนึกเอาไว้ มิฉะนั้นความมุ่งหมายที่ไม่ตั้งให้ชัดก็จะนำมาซึ่งปัญหา

ประการที่ห้า ในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น เราจะต้องทำสิ่งที่จำเป็นซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาด่วนนั้นก่อน ซึ่งในการทำเช่นนี้ บางส่วนในสังคมของเรานั้นจะเกิดอาการที่เจริญแซงล้ำหน้าส่วนอื่น ที่เคยประสานกลมกลืนกันอยู่ เรื่องนี้เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งทีเดียว กิจกรรมบางส่วนในสังคมของเราหรือในประเทศของเรา ตลอดจนคนบางประเภทในสังคมของเรา ได้เจริญล้ำหน้าคนพวกอื่นหรือกิจการส่วนอื่นที่เคยกลมกลืนประสานกัน จนกระทั่งว่า ส่วนที่เจริญแซงล้ำหน้าไปแล้วนั้นก็ไปแยกตัวโดดเดี่ยวเติบโตใหญ่เกินกว่าส่วนอื่น เป็นสาเหตุนำมาซึ่งปัญหาต่อไป คือการที่สังคมแตกหรือภาวะชุมชนแตก และเกิดช่องว่างในด้านและวงการต่าง ตัวอย่างของการแซงล้ำหน้านี้ขอยกมาให้ฟังเช่นว่า

ในระดับประเทศ กรุงก็เจริญพัฒนาล้ำหน้ากว่าชนบท

ฝ่ายบ้านเมืองก็แยกตัวจากศาสนาและก้าวหน้าห่างกันไป

ในระดับชุมชน สถาบันการศึกษาคือโรงเรียนก็ล้ำหน้าและแยกตัวจากสถาบันอื่น
ที่เป็นองค์ประกอบของชุมชนเดียวกัน คือล้ำหน้าสถาบันครอบครัวหรือบ้าน ล้ำหน้าสถาบันวัด แยกตัวออกจากวัฒนธรรมพื้นบ้าน ละทิ้งภูมิธรรมภูมิปัญญาของหมู่บ้านไปเสีย ในทางวิชาการวิชาชีพชั้นสูงต่าง ก็เจริญรุดเลยหน้าวิชาประเภทความคิดและคุณธรรม ในตอนที่เร่งรัดความทันสมัย เราจะไม่คำนึงถึงวิชาจำพวกปรัชญาและศาสนา

ในทางค่านิยมและพฤติกรรมของคนในสังคม คนก็แข่งขันกันเพื่อความเจริญก้าวหน้า โดยแสวงหาความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ตามความเจริญแบบที่ให้ทันสมัยนั้น จนเริดร้างออกไปจากคุณธรรมและจริยธรรม

ในด้านสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชนส่วนน้อยก็รวยยิ่งขึ้น คนส่วนมากที่จนก็ยิ่งจนลง ฐานะก็ห่างจากกัน ช่องว่างก็กว้างไกล

ตกลงว่า สังคมได้สูญเสียความประสานกลมกลืนอย่างที่ในสมัยใหม่เขาใช้คำว่า ระบบบูรณาการ ระบบบูรณาการนี้สูญเสียไปชุมชนก็แตก เต็มไปด้วยช่องว่างในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา เมื่อความประสานกลมกลืนขององค์ประกอบในสังคมเสียไปแล้ว ก็ยากที่จะพัฒนาให้ได้ผลดี ความจริงปัญหานี้ได้เริ่มปรากฏขึ้นแล้วไม่นานหลังจากเริ่มการศึกษาแบบสมัยใหม่นั้น หรือหลังจากเริ่มความเจริญสมัยใหม่นี้ไม่นานเลยประมาณ ๑๐-๒๐ ปีก็ปรากฏแล้ว ซึ่งท่านผู้ดำเนินการรับผิดชอบการศึกษาสมัยนั้นก็ได้ตระหนักดีถึงปัญหานี้ แต่เราก็ได้ปล่อยให้ปัญหานี้คืบหน้าต่อมาจนปัจจุบัน อาตมภาพจะขออ่านความคิดสมัยนั้นให้ฟัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงแสดงทัศนะไว้เมื่อ .. ๒๔๔๓ ตอนหนึ่งว่า

"เมื่อแรกในประเทศอินเดียจับบำรุงการเรียนวิชาขึ้น คนทั้งหลายทุ่มเทกันเรียนแต่วิชา ไม่เอาใจใส่ในการทำมาหากินตามตระกูลของตน เมื่อหาผลเพราะวิชาเรียนไม่ได้ เพราะคนมีมากกว่างานที่จะทำ นักเรียนที่ได้ประโยคสูงสุดต้องรับจ้างเป็นบ๋อยชักพัดเขาก็มี ครั้นจะกลับไปทำกิจตามประเพณีเดิมก็ไม่ได้ฝึกฝนมาเสียแต่แรก ถึงในกรุงเทพ บัดนี้ก็จะลงหาเค้านั้น คนชอบเรียนหนังสือและพอใจเป็นเสมียนมาก ด้วยเห็นว่าง่ายไม่ลำบาก"

 

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. ประมวล
พระนิพนธ์: ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา. (กรุงเทพฯ : มหามงกุฎ ราชวิทยาลัย, ๒๕๑๔), หน้า ๓๐๙

 

อีก ปีต่อมา คือใน .. ๒๔๔๘ ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงแสดงพระมติซึ่งเป็นการทบทวนผลการศึกษาเท่าที่ได้จัดมา ความตอนหนึ่งว่า

"ในชั้นต้น ได้จับบำรุงวิชาหนังสือขึ้นก่อน... ทั้งในราชการก็ยังต้องการคนรู้แต่เพียงวิชาหนังสือเท่านั้นอยู่มาก คนผู้สอบไล่ได้ในชั้นนั้นก็ได้เข้ารับราชการ ได้ประโยชน์แก่แผ่นดินสมหมาย ทั้งเป็นโอกาสตั้งตนขึ้นได้ด้วย ข้อนี้เป็นเหตุให้คนทั้งหลายนิยมในการเรียนหนังสือมากขึ้น และตั้งใจจะเอาความรู้หนังสือเป็นการงาน เมื่อกาลล่วงไป... เมื่อคนรู้หนังสือมีดาดดื่น โอกาสที่จะขึ้นในราชการก็แคบเข้าทุกที เมื่อเป็นเช่นนี้ คนผู้ไม่ได้ช่องน่าจะต้องหันไปหาการงานเดิมของตระกูล แต่หาเป็นเช่นนั้นไม เพราะเหตุว่าบากหน้ามาทางหนังสือแล้วก็หาได้สนใจในการงานนั้นไม จึงพาให้แลเห็นสั้นเฉพาะในการที่ตนถนัด จึงบากบั่นไปในทางหนังสือนั้นเอง ที่สุดเป็นแต่เพียงเสมียนคัดลอกได้ผลน้อย พอเป็นเครื่องเยียวยาชีวิตให้เป็นไปได้ก็มีโดยมาก

"เหตุดังนั้น การศึกษาวิชาหนังสือในชั้นนี้ของพวกบุตรราษฎร ไม่เป็นอันโยงกับการศึกษาพิเศษสำหรับการงานเดิมของตระกูล กลับเป็นเครื่องเปลี่ยนพื้นเพไปในทางใหม่... โรงเรียนตั้งออกไปถึงไหนความเปลี่ยนพื้นเพของคนก็มีไปถึงนั่น ในเมืองใกล้เคียงบุตรชาวนาเรียนหนังสือแล้วทำการเสมียนก็มี แลเห็นชัดว่า เมื่อล่วงมารดาบิดาแล้วคนนั้นคงไม่ทำนาต่อไป ถ้านาเป็นของตระกูลเอง ก็น่าจะขายเสียในไม่ช้า ตระกูลผู้เป็นเจ้าของที่ดินเช่นนั้น ก็จะไม่มีอะไรเป็นหลักทรัพย์กลับจะต้องหาเลี้ยงชีพด้วยกำลังแรง...

"ข้อที่การศึกษาสามัญที่จัดขึ้นไม่เป็นอันโยงกับการศึกษาพิเศษของราษฎรพื้นเมือง กลับเป็นเครื่องเปลี่ยนพื้นเพของเขาเพื่อความเป็นผู้ไม่มีหลักทรัพย์ฉะนี้ สมควรที่จะได้รับความดำริเป็นอย่างมาก...

... คนที่เข้าเรียนแล้วมีแต่ไม่คิดกลับถิ่นเดิม และบากหน้าไปทางอื่น ข้อนี้นอกจากเปลี่ยนพื้นเพยังจะสอนให้รู้จักรักถิ่นฐานบ้านเมืองของชาติตระกูลยากด้วย"

 

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, ประมวล
พระนิพนธ์: การศึกษา. (กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๑๔), หน้า ๗๓-๘๐

 

ทางด้านสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้มีรับสั่งชี้แจงในที่ประชุมเทศาภิบาลฝ่ายราชการในหน้าที่กระทรวงธรรมการ เมื่อ .. ๒๔๔๙ มีความตอนหนึ่งว่า

"การศึกษาซึ่งได้เริ่มจัดตลอดมาแล้วนี้ ก็เพื่อฝึกหัดคนเข้ารับราชการตามความประสงค์ของบ้านเมือง ซึ่งกำลังขยายการงานออกทุกแผนกทุกทาง แต่บัดนี้ ราษฎรพากันนิยมการเล่าเรียนมากขึ้นแล้ว เห็นได้โดยที่เปิดโรงเรียนขึ้นที่ไหนก็มีนักเรียนเข้าเต็มที่นั่น หน้าที่ราชการจะหามีพอแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการไม่ เมื่อเช่นนี้ผลซึ่งจะปรากฏในภายหน้าก็คือ ผู้เรียนไม่สมหวัง ความทะเยอทะยานอยากเข้าทำการตามวิชาที่เรียนมานี้ มีตัวอย่างคือผู้ที่บิดามารดาเคยหาเลี้ยงชีพทางทำนาทำสวน บุตรที่ได้เข้าโรงเรียนแล้ว เมื่อออกทำการกลับสู้สมัครข้างรับจ้างเป็นเสมียนรับเงินเดือนแม้แต่เพียงเดือนละ ๒๐ บาท ถ้าชีวิตบิดามารดาหาไม่บางทีจะเลยขายเรือกสวนไร่นา ละทิ้งถิ่นฐานเดิมของตัวเสียทีเดียว
ก็เป็นได้ เช่นนี้นับว่าการศึกษาให้โทษ..."

 

กระทรวงศึกษาธิการ, ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ ๒๔๓๕-๒๕๐๗,
(
กรุงเทพฯ: .. คุรุสภา, ๒๕๐๗), หน้า ๑๘๔

 

เมื่อมองเห็นสภาพเช่นนี้ ทางราชการก็ได้พยายามดำเนินการแก้ไข แต่อีก ปีต่อมา
ปัญหาก็ยังคงปรากฏดังข้อความในประกาศชี้แจงเรื่องรูปโครงการศึกษา .. ๒๔๕๖ ของเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) ตอนหนึ่งว่า

"... ปรากฏว่านักเรียนผู้ชายที่ได้เข้าเรียนวิชา พอถึงชั้นมัธยมได้ครึ่ง กลาง ยังมิทันจะจบก็พากันออกหาการทำในทางเสมียนเสียมาก... ความนิยมอันทุ่มเทไปในทางเดียวเช่นนี้ เป็นความเข้าใจผิดของประชาชน จนผู้คนไปล้นเหลืออยู่ในหน้าที่เสมียน ผู้ที่ไม่มีความสามารถพอ ก็ไม่มีใครรับไว้ใช้ คนเหล่านั้นก็ย่อมขาดประโยชน์โดยหาที่ทำการไม่ได้ ทั้งการหาเลี้ยงชีพที่เหล่าตระกูลของตนเคยทำมาแต่ก่อนก็ละทิ้งเสีย จะกลับไปทำก็ต่อไม่ติดจึงเกิดความลำบากขึ้น..."

 

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒๘

 

ที่ท่านว่านี้เหมือนสภาพปัจจุบันแล้วแทบไม่ผิดกันเลย มันเป็นมานานแล้ว ไม่ได้เป็นเฉพาะแต่บัดนี้ ต่างแต่ว่าในปัจจุบันถึงเรียนจบสูงถึงอุดมศึกษาก็ยังล้นงาน ส่วนการอาชีพของตระกูลหรือของถิ่น ก็คงต่อไม่ติดเหมือนเดิม ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อสังเกตต่าง อาตมภาพยกมาชี้มาอ้างพอให้เห็นในเวลาที่จำกัด

ขอพูดต่อไปเพียงเล็กน้อยว่า ในกรณีนี้ก็เป็นเรื่องที่ผู้บริหารประเทศ ซึ่งคุมนโยบายจะต้องรู้เท่าทันความเป็นไปทั้งหมด รู้เท่าทันสภาพสังคม รู้เท่าทันสภาวการณ์ เมื่อการแก้ปัญหาหลักเสร็จไปตอนหนึ่ง ก็ต้องหันมาตั้งหลักแก้ปัญหาแทรกซ้อน และทำงานสร้างสรรค์ระยะยาว โดยวางแผนระยะยาวให้ดี เช่นหันมาพัฒนาเนื้อตัวให้สมกับเสื้อผ้าที่ศิวิไลซ์เป็นต้น พร้อมทั้งสร้างสภาพประสานกลมกลืนขององค์ประกอบต่าง ในสังคมต่อไป ถ้ารู้ไม่เท่าทันและไม่หันมาทำเช่นนี้ ปัญหาก็จะต้องเกิดท่วมทับทวีขึ้นมา และในเรื่องนี้ก็อย่าโทษแต่ฝ่ายการศึกษาอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของการพัฒนาประเทศทั้งกระบวนการ จะต้องโทษผู้บริหารประเทศในระดับสูงสุดทีเดียวที่จะต้องรับผิดชอบเป็นอันดับหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาเมื่อเราไม่ได้รีบแก้ปัญหานี้ คือไม่ได้หันมาตั้งหลักเตรียมตัวใหม่ให้ดีโดยชัดเจน ปัจจัยอื่นก็ตามเข้ามาท่วมทับซ้ำเข้าอีก ปัจจัยอื่นนั้นก็คือ ลัทธิทุนนิยมและระบบอุตสาหกรรม ซึ่งได้พรั่งพรูเข้ามาเป็นตัวหนุน ซึ่งส่งเสริมการแสวงหาวัตถุที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่ามีลักษณะเป็นวัตถุนิยม ทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น หมกมุ่นหลงใหลในวัตถุมากยิ่งขึ้น เพื่อจะให้เกิดความทันสมัยยิ่งขึ้น ทีนี้ถ้าหากว่าผู้บริหารประเทศและนักการศึกษารู้ไม่เท่าทัน ไม่มีความคิดเข้าใจที่เจาะลึก ก็ยิ่งแก้ปัญหาไม่ทัน ไม่ตรงจุด สับสน แล้วก็พัฒนาแบบตั้งตัวไม่ติด แล้วทีนี้แทนที่จะเป็นผู้นำสังคมการศึกษา โดยเฉพาะผู้บริหารประเทศ ก็จะต้องเป็นผู้ทำงานแบบตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เรื่อยไป ปล่อยให้การศึกษาเป็นตัวสนองตามสังคมแทนที่จะนำสังคม ครูก็เป็นผู้ตามค่านิยมของสังคมไม่เป็นผู้นำของสังคม เมื่อแนวทางของสังคมเป็นไปในทางก่อให้เกิดปัญหา การศึกษาไทยตามสังคมก็คือไปช่วยเพิ่มปัญหาขยายปัญหาให้มากยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้น โดยนัยนี้ การศึกษาไทยที่ดำเนินมาในสายความเจริญแบบที่ว่ามาแต่ต้นนั้น เมื่อก้าวสู่ยุคใหม่ ก็จึงเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้แก้ปัญหามาสู่ความเป็นตัวการสร้างปัญหา หรือผ่านจากยุคแก้ปัญหามาเป็นยุคก่อปัญหา ตอนนี้คิดว่าขอเพียงตั้งข้อสังเกตไว้ก่อน ตอนต่อไปจะพูดถึงปัญหาว่ามีอะไรบ้าง แล้วจะแก้กันอย่างไร


Back