แก้ไขให้ครบองค์ประกอบทุกด้าน

 

ทีนี้อีกหัวข้อหนึ่งที่ยังคงค้างอยู่ก็คือ การฝึกฝนในทางจริยธรรมนี้ต้องทำที่องค์ประกอบต่าง ให้ครบถ้วนด้วย คราวนี้เราจึงต้องมาพูดถึงเรื่ององค์ประกอบต่าง ในการฝึกฝนหรือปฏิบัติการในทางจริยธรรมว่า องค์ประกอบเหล่านี้มีอะไรบ้าง

 

ที่จริงองค์ประกอบในการฝึกฝนทางจริยธรรม ก็คือองค์ประกอบในการศึกษานั่นเอง เพราะว่าจริยธรรมนั้น ว่าที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องของการศึกษาทั้งหมดหรือแทรกอยู่ในทุก ส่วนของการศึกษา แทบจะเป็นตัวการศึกษาเลยทีเดียว จริยะ ในทางพุทธศาสนานั้น แปลว่าการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นคือจริยธรรม ทีนี้เราจะฝึกฝนคนอย่างไรให้รู้จักการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง นี้ก็เป็นจริยศึกษา องค์ประกอบต่าง ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในจริยศึกษานี้ ขอแบ่งออกเป็นสองด้าน คือองค์ประกอบภายนอกกับองค์ประกอบภายใน

 

องค์ประกอบภายนอก ก็คือสิ่งที่แวดล้อมตัวบุคคลนั้นอยู่ หรือองค์ประกอบด้าน สภาพแวดล้อม ซึ่งมีทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม ทางฝ่ายรูปธรรมนั้นก็ชัดเจนอยู่แล้ว ปัญหาทั่ว ไป สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงอะไรต่าง ที่เกิดขึ้นในสังคม สภาพ เศรษฐกิจ การเมืองเป็นต้น ที่เป็นอยู่นี้ล้วนมีอิทธิพลต่อจริยธรรมของบุคคลทั้งสิ้น ฉะนั้น องค์ประกอบที่อยู่ภายนอกนี้ เราก็ต้องแก้ปัญหาหรือเกี่ยวข้องจัดการด้วย ยกตัวอย่างง่าย
เช่น สื่อมวลชนก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในด้านสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

ตัวบุคคลนั้น ด้านหนึ่งก็เป็นไปตามองค์ประกอบภายนอกที่มาหล่อหลอม พูดอีกนัย หนึ่งว่าสภาพแวดล้อมนี้มาหล่อหลอมคน สังคมมีอิทธิพลในการหล่อหลอมคนได้มาก อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้ว ฉะนั้นในการแก้ปัญหาทางจริยธรรมด้านหนึ่ง ต้องแก้ที่องค์ประกอบภายนอกจะละทิ้งไม่ได้ แต่องค์ประกอบบางอย่างก็อาจจะเกินวิสัยของเรา จึงต้องหาทางเชื่อมโยงร่วมมือประสานกัน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาทางจริยธรรม จึงต้องมีการร่วมมือกันของบุคคลในสถาบันต่าง หรือทั้งระบบ และที่ว่านี้ก็รวมไปถึงบุคคลที่เป็นตัวอย่างด้วย เช่นถ้าผู้ใหญ่ประพฤติไม่ดี ก็เป็นธรรมดาที่ว่าจะมีแนวโน้มให้เด็กประพฤติในทางที่ไม่ดีด้วย แต่ถ้าเรามีตัวอย่างในทางสังคมที่ดี ผู้ใหญ่ประพฤติดีงาม มันก็มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอิทธิพลต่อเด็กในการที่จะประพฤติดีงามด้วย เดี๋ยวนี้บางอย่างเราแก้ไขได้ง่ายกว่าก็ต้องรีบแก้ไข หรือบางอย่างต้องเน้นเราก็ต้องเน้นกัน เช่นสื่อมวลชนนี้เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากในฝ่ายภายนอก เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เราจะต้องพยายามแก้ไขและส่งเสริมให้ถูกต้อง

 

อีกแง่หนึ่ง องค์ประกอบทางด้านสภาพแวดล้อมหรือภายนอกทางด้านรูปธรรมนี้ ก็โยงไปถึงด้านนามธรรมด้วย สภาพแวดล้อมในด้านนามธรรมนี้ ก็เช่นค่านิยม หรือค่านิยมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมชอบบริโภค ค่านิยมชอบโก้หรือชอบอะไรก็ออกมาจากคน เมื่อแต่ละคนเป็นอย่างนั้นก็ออกมาทางสังคมเป็นอย่างนั้น และกลายเป็นค่านิยมทางสังคมแล้วก็กลับไปมีอิทธิพลต่อคน ทำให้คนอยากได้รับเกียรติได้รับความยกย่องในทางสังคม ได้รับยกย่องจากสังคม จึงประพฤติให้สอดคล้องกับแนวลักษณะความนิยมของสังคมนั้น ถ้าสังคมมีค่านิยมผิดพลาด การปฏิบัติทางจริยธรรมก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ แต่กลายเป็นการหนุนให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมขึ้น

 

องค์ประกอบภายนอกก็อย่างที่ว่าแล้ว มีทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเรา
จะต้องแก้ไขส่งเสริมทั้งด้านสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม สภาพเศรษฐกิจ
การเมือง และโยงมาถึงค่านิยมซึ่งเป็นนามธรรมอย่างที่กล่าวแล้วอีกด้านหนึ่ง จะขอพูดเพียงว่าให้เราคำนึงใส่ใจ แต่จะคำนึงกันอย่างไรนั้นก็เป็นส่วนรายละเอียดจะขอข้ามไปก่อน

 

ต่อไปก็องค์ประกอบด้านที่สอง คือ องค์ประกอบภายใน หรือองค์ประกอบภายในของตัวบุคคล องค์ประกอบภายในตัวบุคคลหรือปัจจัยภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาและ เป็นพื้นฐานของตัวจริยธรรมนี่จะต้องจับให้ได้และจะต้องสร้างให้มีขึ้นในคน มิฉะนั้นแล้วการฝึกฝนทางจริยธรรมจะสำเร็จได้ยาก ตัวปัจจัยภายในที่เป็นหลักในที่นี้มีสามอย่าง

 

ประการที่หนึ่ง จิตสำนึกในการศึกษา เราให้การศึกษา แต่คนมีจิตสำนึกในการศึกษาหรือไม่ ถ้าคนไม่มีจิตสำนึกในการศึกษาแล้วยากที่การศึกษาจะสำเร็จผล หรือการศึกษา
ที่ไม่สร้างจิตสำนึกในการศึกษาก็ยากที่จะสำเร็จผลได้ จิตสำนึกในการศึกษาคืออะไร การศึกษาคืออะไรล่ะ ถ้าเข้าใจความหมายของการศึกษาถูกต้องแล้ว จิตสำนึกในการศึกษาก็จะตามมา

 

การศึกษาคืออะไร การศึกษานี้พูดกันง่าย หมายถึงการฝึกฝนพัฒนาคน เราอาจจะบอกว่าพัฒนาด้านกาย พัฒนาด้านอารมณ์ พัฒนาด้านสังคม พัฒนาด้านปัญญา รวมเป็นสี่ด้าน ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเราก็มีศัพท์เรียกว่า กายภาวนา ฝึกอบรมด้านกาย ศีลภาวนา ฝึกอบรมด้านศีล (ทางสังคมในการเป็นอยู่ร่วมกัน) จิตภาวนา ฝึกอบรมด้านอารมณ์ก็คือด้านจิต แล้วก็ ปัญญาภาวนา ฝึกอบรมด้านปัญญา

 

การศึกษานั้นหมายถึงการฝึกฝนพัฒนาคน เพื่อให้มีความเจริญงอกงามในด้านต่าง แต่คนเรานี้มีจิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตนไหม จิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตัวเองจะต้อง
มีขึ้น เรียกว่าเป็นจิตสำนึกในการศึกษา คือต้องมีความใฝ่ที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นไป ใฝ่ที่จะ
พัฒนา คือต้องการให้ตนเองมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้น มีชีวิตจิตใจที่เจริญงอกงาม
ยิ่งขึ้น การใฝ่ศึกษาคือการใฝ่ฝึกฝนตนเอง ความสำนึกที่จะทำตัวเองให้ดีขึ้น ถ้าเขามีจิต
สำนึกอันนี้ รักที่จะฝึกฝนตัวเองทำตัวให้ดีขึ้นแล้ว ก็จะมีความรักดีใฝ่ดีเกิดขึ้น แล้วก็เกิด
ความพร้อมที่จะรับ และพร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักจริยธรรม แต่ถ้าไม่มีจิตสำนึกในการ
ศึกษานี้เป็นตัวนำ ไม่ต้องการที่จะพัฒนาตัวเองแล้วเขาจะไปทำอะไรให้ดีขึ้นทำไม จะไป รับปฏิบัติข้อปฏิบัติต่าง ทำไมถ้าจะให้ทำก็ต้องใช้เหยื่อล่อหรือสร้างเงื่อนไขกันอยู่เรื่อยไป

 

จิตสำนึกในการศึกษานี้ที่ว่าใฝ่ที่จะฝึกฝนพัฒนาตัวเอง ทำชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้นนี้
ก็รวมไปถึงการใฝ่รู้หรือความต้องการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นคนที่มีจิตสำนึกในการศึกษา
ต้องการฝึกฝนพัฒนาตน ก็จะใฝ่เรียนรู้และมีจิตใจที่มองอะไรด้วยความรู้สึกที่จะเรียนรู้
อยู่เสมอ แต่ปัญหามีว่าคนของเรานี้มีการมองโลกด้วยความรู้สึกที่จะเรียนรู้หรือไม่ มีเจตคติ
หรืออะไรทำนองนี้ในทางที่จะเรียนรู้ไหม ถ้าเป็นคนที่มีจิตสำนึกในทางการศึกษา ก็จะมี
ลักษณะจิตใจที่มองอะไร ในลักษณะของการเรียนรู้

 

เป็นธรรมดาว่าคนทุกคนย่อมจะมีทัศนคติ หรือท่าทีต่อสิ่งต่าง ถ้าเป็นคนที่ไม่มีการ ฝึกฝน ไม่มีการศึกษา ก็จะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ในลักษณะหนึ่ง กล่าวคือตามปกติ จิตของคนทั่วไปที่ไม่มีการศึกษา เมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบ (ในทางพระพุทธศาสนาเรียก ว่าอารมณ์ ปัจจุบันเรียกว่าประสบการณ์) คือมีประสบการณ์ที่เราต้องเกี่ยวข้องอย่างใด อย่างหนึ่งเข้ามากระทบ เราจะมีปฏิกิริยา คือ ชอบหรือชัง ภาษาพระเรียกว่า ยินดียินร้าย
พออารมณ์เข้ามาปั๊บ ถูกใจไหม ถ้าถูกใจก็ชอบทันที ถ้าไม่ถูกใจ ก็ชังไม่ชอบ ยินร้าย
นี้คือสภาพจิตของคนปกติทั่วไป จะเป็นอย่างนี้เสมอ

 

เพราะฉะนั้น คนเราทั่วไปนี้จะรับรู้ต่ออารมณ์หรือประสบการณ์ ในลักษณะของการ ที่ชอบหรือไม่ชอบ ยินดีหรือยินร้าย ในการรับรู้แบบนี้ จะไม่มีการพัฒนาตัวเองเกิดขึ้น
จะมีแต่ปัญหา คือถ้าเป็นเรื่องชังยินร้ายก็จะโกรธ เกลียด ขัดแย้งกัน ถ้าชอบก็ไปสนับสนุนความเห็นแก่ตัว การที่จะเอามาให้แก่ตัว การมุ่งผลประโยชน์ทั้งยินดีและยินร้ายนี้ไม่มีการเรียนรู้ ไม่มีการฝึกฝนพัฒนาตัวเอง แต่พอเปลี่ยนมาเป็นคนที่มีจิตสำนึกในการศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ต่าง หรือท่าทีในการเกี่ยวข้องกับประสบการณ์จะเปลี่ยนไป คือจะมีลักษณะที่มองในแง่ของการเรียนรู้ว่า ได้อะไรเพื่อมาฝึกฝนพัฒนาชีวิตของเราให้ดีขึ้นบ้าง

 

โดยนัยนี้ การที่จะฝึกฝนพัฒนาตนนี้จะคลุมไปในตัวเองถึงการที่จะต้องเรียนรู้ เราจะเรียนรู้จากสิ่งที่เข้ามาแวดล้อม จากสิ่งที่เข้ามาประสบทุกอย่าง เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องพบเห็นสถานการณ์ทุกอย่าง คนที่มีจิตสำนึกในการศึกษาจะเรียนรู้ว่าอันนี้มีอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของตนเอง แล้วนำมาฝึกฝนพัฒนาตนเอง ปรับปรุงชีวิตของตนเองให้ดียิ่งขึ้น จิตสำนึกในการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงลักษณะจิตใจและท่าทีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด จากลักษณะท่าทีสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ในแบบชอบชังมาสู่การเรียนรู้

 

การเรียนรู้ก็คือแก่นของการศึกษา ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจิตสำนึกในการศึกษานี้ คือการมีท่าทีที่มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ ถ้าคนเรามองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ ไม่ว่าประสบการณ์นั้นตามปกติจะน่ายินดีหรือไม่น่ายินดีก็ตาม ก็จะไม่เกิดปฏิกิริยาที่กระทบต่อตนเองในทางที่เป็นปัญหา คนพวกนี้จะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะได้เรียนรู้เสมอ สิ่งที่ดีมีประโยชน์ก็ได้เรียนรู้ในแง่ดีมีประโยชน์ สิ่งที่เป็นโทษไม่ดี ีก็ได้เรียนรู้ในแง่ที่ว่าอันนี้เป็นโทษอย่างไร เกิดความรู้ความเข้าใจ แทนที่จะเกิดปัญหา ก็จะเกิดปัญญา ไม่ว่าในแง่ลบที่ว่าจะไม่ทำตามอย่างนี้ หรือในแง่บวกที่จะเอามาใช้ประยุกต์ อย่างไรก็ตามได้ประโยชน์ทั้งนั้น การมองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ นี่คือลักษณะจิตใจที่ใฝ่รู้หรือมีการศึกษา นี่เป็นการพูดอย่างสั้น เราจะต้องสร้างองค์อันนี้ขึ้นมา พอสร้างอันนี้ได้ คนก็พร้อมที่จะฝึกฝนปฏิบัติในเรื่องจริยธรรมทุกอย่าง

 

ประการที่สอง ก็โยงมาถึงแรงจูงใจ จิตสำนึกในทางการศึกษาหรือการใฝ่เรียนรู้นี้ โยงมาถึงแรงจูงใจในทางจริยธรรม ซึ่งส่งผลย้อนกลับมาเป็นตัวส่งเสริมการพัฒนาด้วย เพราะว่าการที่ใฝ่เรียนรู้ก็เพื่อเอามาฝึกฝนพัฒนาตัวเอง การที่จะพัฒนาตัวเองให้เกิดความดีงามขึ้นก็ต้องการปัญญาหรือความรู้ การที่จะทำให้เกิดความดีงามและความต้องการปัญญานี้ ก็คือตัวแรงจูงใจที่เรียกสั้น ว่าใฝ่ดีและใฝ่รู้ หรือใฝ่ความดีงามและใฝ่ความรู้ ความใฝ่ดีและใฝ่รู้นี้ ทางพระเรียกอย่างเดียวว่าใฝ่ธรรม (แต่เดี๋ยวนี้คำว่าใฝ่ธรรมอาจจะมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปก็ได้) ฝ่ายธรรมนี้เรียกว่า ฉันทะ คือตัวแรงจูงใจนี้เรียกว่า ฉันทะ เป็นคู่ตรงข้าม เป็นปฏิปักษ์กับ ตัณหา ที่ใฝ่หาสิ่งบำเรอ

 

ถ้ามีลักษณะจิตใจแบบสนองตอบต่อประสบการณ์แบบชอบชัง ก็เรียกว่ามีแรงจูงใจแบบตัณหา คือแสวงหาสิ่งที่สนองความสุขส่วนตัว (ชอบ) แล้วก็เกิดการขัดแย้งขึ้นมา และดิ้นรนเพื่อจะออกไปจากสิ่งที่ขัดแย้ง (ชัง) ปฏิกิริยาแบบนี้เรียกว่าแรงจูงใจแบบตัณหา ทีนี้พอมีการศึกษาขึ้นมาท่าทีของจิตใจก็เปลี่ยนไป เกิดความใฝ่รู้ใฝ่แสวงความรู้ และต้องการทำให้ชีวิตของตนดีงามขึ้น ก็กลายเป็นใฝ่ความดีงามและใฝ่แสวงความรู้จริงหรือใฝ่ปัญญา ซึ่งเรียกว่าฉันทะ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ตรงข้ามกับตัณหา ในทางพระพุทธศาสนาต้องการให้สร้างแรงจูงใจที่เรียกว่า ฉันทะ นี้ขึ้นมาซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่อง ตัวตัณหา
ตัวมานะ ตัวทิฐิ ที่ว่ามาแล้วได้ ไม่ต้องใช้กิเลสเหล่านั้นเป็นแรงจูงใจอีกต่อไป

 

ถ้าคนมีฉันทะ มีความใฝ่ดีใฝ่ต้องการให้ชีวิตพัฒนาตลอดจนกระทั่งใฝ่ดีต่อสังคม ต้องการให้สังคมพัฒนา ให้คนในสังคมมีความสุข มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตสมบูรณ์ อยู่ร่วมกันด้วยความดีงาม มีความสงบ มีความสะอาด มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี
มีประชาธิปไตยที่ถูกต้องแท้จริง ต้องการให้สังคมดีงาม ต้องการเสริมสร้างความดีงามต่าง ให้เกิดขึ้น เราจะศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้มาพัฒนาชีวิต พัฒนาสังคม มาช่วยพ่อแม่พี่น้องและท้องถิ่นของเราให้อยู่ดีมีสันติสุข อย่างนี้ก็จะเป็นแรงจูงใจในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำอาชีพการงานอย่างถูกต้อง แต่ถ้าไม่มีฉันทะนี้เราก็ต้องไปกระตุ้นที่กิเลส เช่น กระตุ้นมานะว่าเธอจงตั้งใจเล่าเรียนไปนะ ศึกษาไปนะจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน หรือกระตุ้นตัณหาว่าเธอตั้งใจเรียนเพียรศึกษาเข้านะ ต่อไปจะได้มีเงินทองมากร่ำรวยเป็นเศรษฐี แรงจูงใจนั้นก็ทำให้เพียรพยายามเรียนได้เหมือนกัน

 

ลักษณะอาการที่ปรากฏออกมาก็เป็นความเพียรพยามเหมือนกัน แต่คนหนึ่งเพียรพยายามด้วยตัณหามานะ ต้องการที่จะไปหาผลประโยชน์ส่วนตัวที่จะไปเป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน ส่วนอีกคนหนึ่งเรียนด้วยแรงจูงใจคือฉันทะ เพื่อจะพัฒนาชีวิตของตนเองให้เป็นชีวิตที่ดีงาม เพื่อจะพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมที่ดีงาม มีความสงบสุข ให้คนอยู่ร่วมกันด้วยดีมีคุณภาพชีวิตอะไรต่าง อันนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะใช้แรงจูงใจอย่างไหน

 

แต่ถ้าเป็นแรงจูงใจในการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งถูกต้องตามจริยธรรมก็ต้องเปลี่ยนจากการใช้ตัณหา มานะ มาเป็นฉันทะ ถ้าเราจับหลักนี้ไม่ถูก ไปเข้าใจเป็นว่าคนจะพัฒนาประเทศได้ต้องมีความอยากได้สิ่งบริโภคมาก ก็เลยไปกระตุ้นตัณหาขึ้นมา แล้วก็เลยจำใจทำงานเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ได้ค่าตอบแทน มาหาสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตัวเอง ผลที่สุดเป็นอย่างไร ก็เกิดการหลีกเลี่ยงงาน และหาผลประโยชน์ทางลัดขึ้นมากู้หนี้ยืมสินชาวบ้านมีสิ่งของใช้ต่าง บริโภคฟุ่มเฟือย แต่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น กลับเป็นหนี้เป็นสินมากขึ้นประเทศชาติเสื่อมถอยลง ความยากจนมากยิ่งขึ้น หรือประเทศมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประชาชนไม่มีคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาผิดเพราะไปใช้แรงจูงใจแบบตัณหาและมานะ แทนที่จะกระตุ้นฉันทะนี้ขึ้น เป็นอันว่าจะต้องเปลี่ยนจากแรงจูงใจด้านตัณหา มานะ โน้มมาเป็นแรงจูงใจใฝ่ดีที่เรียกว่าฉันทะ

 

ประการที่สามก็คือตัวที่เรียกว่าความรู้จักคิด คิดเป็น คิดแยบคาย หรือ โยนิโสมนสิการ อันนี้ก็เป็นหลักสำคัญ ความรู้จักคิด หรือคิดเป็นนี่เป็นตัวที่ช่วยคนในทุกกรณี คนที่จะพึ่งตัวเองได้ในการศึกษาที่แท้จริงจะต้องมีความรู้จักคิด คิดเป็น ไม่งั้นจะต้องอาศัยคนอื่นเรื่อยไป เพราะคนที่ไม่มีโยนิโสมนสิการ ไม่รู้จักคิดเอง ก็ต้องอาศัยศรัทธา ศรัทธาซึ่งจะต้องให้คนอื่นคอยบอกว่าจะต้องทำอย่างไร ทีนี้ถ้าขาดศรัทธาปุ๊บ ก็กลายเป็นคนเลื่อนลอยไปเลย

 

ตามหลักพุทธศาสนานั้น ท่านให้มีศรัทธาต่อสิ่งที่ดี เพื่อให้ได้สื่อที่จะชักนำไปสู่ความรู้และความคิดที่ถูกต้อง ให้รู้จักคิด เพื่อให้รู้จักสร้างปัญญาขึ้นมาด้วยตนเอง ในการที่จะได้ปัญญานั้นตนเองต้องรู้จักคิดหรือคิดเองเป็นด้วย การที่คิดเป็นนั้นมันก็กลับไปเชื่อมโยงกับจิตสำนึกในการศึกษาและความใฝ่รู้อีก เพราะการมองสิ่งต่าง เป็นการเรียนรู้นั้นก็ต้องมีความรู้จักคิด คิดเป็น จะมองอะไรก็มองเป็น คนเราจะเรียนรู้อะไรได้ก็ต้องมองเป็นคิดเป็น

 

คนสองคนมองเห็นประสบการณ์อันหนึ่ง หรือประสบสถานการณ์อันเดียวกัน คนหนึ่งมองไปแล้วคิดไปอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งมองแล้วคิดไปอีกอย่างหนึ่ง คนหนึ่งมองแล้วคิดไปเกิดเป็นปัญหา อีกคนหนึ่งมองไปแล้วได้ปัญญาเอามาใช้สร้างสรรค์ชีวิตได้

 

เหมือนอย่างนิทานในธรรมบท ที่ว่าคนใช้ของเศรษฐีไปเจอหนูตายตัวหนึ่ง เจ้าคนรับใช้คนนี้มี โยนิโสมนสิการ คิดได้ว่าหนูตัวนี้ถ้าเอาไปทำอย่างนั้น แล้วก็คงจะได้เงินขึ้นมา ปรากฏว่าคนรับใช้เศรษฐีคนนี้ แกเอาหนูตายตัวนั้นไปทำตามวิธีการที่คิดไว้ จนกระทั่งตนเองกลายเป็นเศรษฐีในที่สุด แต่อีกคนหนึ่งมามองเห็นหนูตายตัวนั้นเป็นเพียงสิ่งที่จะเน่าเหม็น น่าเกลียด ชิงชัง มีจิตใจขุ่นมัวเศร้าหมองในตอนนั้น แล้วก็จบกัน อาจจะกล่าวคำหยาบคายออกมา นอกจากไม่ได้อะไรแล้วยังเสียอารมณ์ด้วย นี่เรียกว่าไม่มีโยนิโสมนสิการ

 

การศึกษาสอนคนให้รู้จักคิด คิดเป็นในทุกสิ่งทุกอย่าง คิดความหมายได้กว้างขวาง คิดเรื่องเดียวกันแต่ได้หลายแง่หลายมุม คิดในทางที่ให้เกิดประโยชน์ขึ้น รู้จักคิดศึกษา
หาเหตุปัจจัยของสิ่งต่าง ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากภาพที่มองเห็นแยกแยะออกไป
สืบสาวหาเหตุปัจจัยได้ รู้ว่าความเสื่อมความเจริญที่เกิดขึ้น จนกระทั่งปรากฏผลอย่างนี้ มีเหตุปัจจัยเป็นมาอย่างไร แล้วเอาเหตุปัจจัยที่รู้นั้นไปใช้ประโยชน์แก้ปัญหาได้ ทำการสร้างสรรค์ และจัดสรรสิ่งทั้งหลายหรือกิจการต่าง ได้ ความคิดอย่างนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีมากมายหลายอย่างเป็นสิ่งซึ่งจะต้องฝึกฝนสร้างขึ้นในคน

 

โยนิโสมนสิการนี้ เป็นองค์ประกอบทางจริยธรรมที่มีประโยชน์มากมาย อย่างที่ว่า
ไปเห็นสิ่งของอย่างเดียวกัน คนหนึ่งโกรธ คนหนึ่งสงสาร ไปเห็นคนคนหนึ่งหน้าบึ้งมา
คนที่ไม่มีโยนิโสมนสิการก็คิดปรุงแต่งเอาว่า ไอ้นี่มันเป็นปฏิปักษ์ต่อเราแล้ว ก็โกรธทันที แกบึ้งได้ฉันก็บึ้งได้ โมโหกลับไปก็จบ

 

หรือไม่ก็เกิดการขัดแย้งอาจจะเกิดปัญหารุนแรงยิ่งกว่านั้น แต่อีกคนหนึ่งมี โยนิโสมน
สิการ พิจารณาได้หลายแง่หลายมุม แง่หนึ่งก็คือ พิจารณาว่าตาคนนี้คงมีปัญหา
มีอารมณ์ค้างจากบ้าน มีปัญหา ครอบครัว หรือ ถูกพ่อแม่ดุมา เอ... ไม่ได้แล้ว เราจะต้องช่วย เกิดความกรุณา เห็นคนหน้าบึ้งแล้วสงสาร จิตใจตัวเองก็ดี แล้วก็แก้ปัญหาสังคมได้ด้วย นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

 

สามอย่างนี้เป็นตัวแกนองค์ประกอบภายในของการศึกษาที่สำคัญ การศึกษา การปลูกฝังจริยธรรม จะต้องจับตัวแกนตัวหลักเหล่านี้ให้ได้ ถ้าจับไม่ได้ การปลูกฝังจริยธรรมทำไม่ถูกเรื่องก็ยากที่จะสำเร็จผล


Back