ระบบบูรณาการพื้นฐานและยอดสุด

 

ทีนี้ก็อาจจะถามว่าองค์หลัก อย่างนี้มาจากไหน ถ้าพิจารณาดูให้ดีก็จะเห็นว่ามันมาจากบุคคลที่เป็นอุดมคติ บุคคลที่เป็นตัวอย่างซึ่งมีพัฒนาการสูงสุดแล้วคือใคร ถ้าตอบแบบชาวพุทธก็ต้องรวมเป็นอันเดียวกันว่า ได้แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่มีการพัฒนาสูงสุดแล้ว แม้แต่ตามความหมายในคัมภีร์ที่พูดถึงเมื่อกี้ก็บอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้พัฒนาตนสูงสุดแล้ว เมื่อพัฒนาตนสูงสุดแล้ว พระพุทธเจ้ามีพระคุณหรือคุณสมบัติหลักกี่อย่าง ผู้ที่เรียนพระพุทธศาสนาย่อมรู้ดีว่ามี อย่างคือ

 

()

 

มี ปัญญาคุณ ทรงมีพระปัญญา คือความรู้

()

 

มี กรุณาคุณ คือมีคุณธรรมความดี แต่ในที่นี้เน้นกรุณาในฐานะเป็นตัวนำที่จะทำให้ปวงความดีงาม หรือคุณธรรมต่าง และประโยชน์สุขแผ่ขยายออกไปแก่คนอื่น

()

 

มี วิสุทธิคุณ นี้ว่าตามที่เรานิยมใช้กันในเมืองไทย แต่ตัวเดิมเป็นวิมุตติ ได้แก่ วิมุตติคุณ คือความหลุดพ้น อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้นว่า หมายถึงความเป็นอิสระหรือภาวะไร้ทุกข์ไร้ปัญหา ที่เรามาใช้กันว่าความสุข

 

นี้คือองค์ประกอบ อย่างที่เราเรียกว่าพระคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะต้องนำมาใช้เป็นองค์ของการศึกษา เป็นตัวประกอบร่วมที่เราจะต้องพัฒนาการให้มีบูรณาการขึ้นมา

 

ขอย้อนกลับไปถึงเรื่องระบบบูรณาการ คราวนี้จะพูดถึงระบบบูรณาการในวงกว้างที่สุด ได้พูดมาแต่ต้นแล้วว่าระบบบูรณาการหลักใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอยู่นั้นมี ระบบด้วยกัน

 

ระบบที่หนึ่งคือตัวของมนุษย์หรือระบบของชีวิตมนุษย์ มนุษย์เป็นระบบบูรณาการใหญ่อันหนึ่ง ประกอบด้วยระบบย่อยคือกายกับระบบย่อยคือใจ ระบบย่อยทั้งสองคือกายกับใจนี้มาประมวลเข้าเป็นระบบใหญ่คือมนุษย์ ซึ่งเป็นระบบใหญ่อันที่หนึ่งที่เรายกขึ้นมาตั้งไว้ในฐานะที่เอาตัวเราเป็นศูนย์กลาง

 

ระบบบูรณาการที่สองคือธรรมชาติหรือธรรมชาติแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมบัญญัติศัพท์กันใหม่เรียกว่า นิเวศวิทยาหรือระบบนิเวศวิทยา เป็นศัพท์ที่ค่อย พัฒนาขึ้นมาในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า ecological systems หรือที่เดี๋ยวนี้นิยมใช้สั้นเข้ามาอีกเป็นศัพท์ค่อนข้างใหม่ว่า ecosystems ระบบนิเวศนี้ว่าที่จริงขอใช้ศัพท์เดิม ก็คือธรรมชาติแวดล้อมนั่นเอง ธรรมชาติแวดล้อมเมื่อตัดตัวคนที่ถูกแวดล้อมออกไปก็คือธรรมชาติ ซึ่งที่จริงว่าตามหลักพุทธศาสนาก็รวมทั้งคนหรือมนุษย์อยู่ในนั้นด้วย เพราะฉะนั้นเราอาจจะใช้ศัพท์กันสั้น ง่าย ว่าธรรมชาติ ระบบธรรมชาตินี้ก็เป็นระบบบูรณาการใหญ่อันที่สอง

 

ระบบบูรณาการที่สามก็คือระบบที่เรียกว่าสังคม สิ่งที่เกี่ยวข้องที่มนุษย์จะต้องจัดต้องทำ ต้องประสาน ต้องไปทำหน้าที่บูรณาการก็คือระบบทั้งสามนี้ ซึ่งเมื่อเข้ามาเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันแล้วก็ทำให้เกิดผลดีผลร้ายแก่มนุษย์ทั้งหมด ตกลงว่าสามอย่างคือ มนุษย์ ธรรมชาติ สังคม นี้เป็นระบบใหญ่ที่เราจะต้องเกี่ยวข้อง ซึ่งประสานประกอบกันเข้าเป็นองค์รวมอันเดียว ขอพูดรวบรัดว่าในระบบทั้งสามนี้เราจะต้องทำการบูรณาการและพัฒนาการให้เป็นไปด้วยดี ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเราในขั้นต่อไปที่จะต้องศึกษากันว่า จะพัฒนาการและบูรณาการอย่างไรจึงจะประสานกลมกลืนกัน เกิดความสมดุลพอดีที่เป็นผลดี แต่เฉพาะในที่นี้จะขอยกตัวอย่างอันหนึ่งที่มีอยู่แล้วมาพูดก่อน คือโยงเข้ามาหาหลักพระพุทธศาสนา

 

ตามหลักพุทธธรรมนั้น ระบบบูรณาการ อย่างคือ มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคมนี้ มีส่วนสุดยอดตรงกันในแต่ละอย่าง ขอให้ช่วยกันนึกในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาว่า องค์ที่ตรงกันกับ อย่างใหญ่คือ มนุษย ธรรมชาติ สังคม นี้ได้แก่อะไร ตามหลักการของพระพุทธศาสนา มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคมนี้ มีตัวพัฒนาการสุดยอดของแต่ละอย่างปรากฏเป็นหลักที่เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มนุษย์พัฒนาสูงสุดแล้วเป็นอะไร มนุษย์พัฒนาสูงสุดแล้วเป็นพระพุทธ ธรรมชาติเมื่อเราเข้าถึงแล้วตัวความจริงของธรรมชาติที่ปรากฏแก่มนุษย์นั้นคืออะไร สาระของธรรมชาติหรือตัวความจริงของธรรมชาติที่ปรากฏแก่มนุษย์นั้นเราเรียกว่าธรรม ข้อต่อไปสังคมเมื่อพัฒนาถึงขั้นอุดมคติแล้วเป็นอะไร ก็เป็นหมู่ชนที่เรียกว่าสงฆ์

 

เพราะฉะนั้นหลักของพระพุทธศาสนาที่เราเรียกว่าพระรัตนตรัยนั้น ก็คือระบบบูรณาการในระดับแห่งพัฒนาการสูงสุดของระบบบูรณาการใหญ่ทั้ง นี้เอง ในเรื่องนี้ถ้าเราจะพิจารณาความหมายของพระรัตนตรัยแต่ละอย่างแล้ว ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น ขอให้มองให้ทั่วตลอด ก็จะเห็นว่าองค์ทั้งสามของพระรัตนตรัยจะมาบูรณาการกันเป็นระบบใหญ่อันเดียว

 

พระพุทธมาจากมนุษย์ พระพุทธนั้นเมื่อให้ความหมายสมบูรณ์เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าคืออะไร พระพุทธคือมนุษย์ผู้พัฒนาตนสมบูรณ์แล้ว โดยได้ค้นพบธรรมและเปิดเผยธรรมแก่สังคม เมื่อกี้นี้ได้บอกแล้วว่า พระพุทธเจ้านั้นมีความหมายอย่างหนึ่ง คือเป็นมนุษย์ผู้พัฒนาตนสูงสุดโดยมีพัฒนาการครบทั้ง ด้าน จึงบอกว่าพระพุทธคือมนุษย์ผู้พัฒนาตนสมบูรณ์ โดยได้ค้นพบธรรมและเปิดเผยธรรมแก่สังคม

 

ทีนี้ธรรมก็มาจากธรรมชาติ ธรรมคืออะไร ธรรมคือตัวความจริงของธรรมชาติที่เปิดเผยขึ้นโดยการค้นพบและประกาศของพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าค้นพบธรรมแล้วก็ประกาศธรรมออกมา นับเป็นองค์ที่สอง

 

ส่วนสงฆ์ก็มาจากสังคมนี้แหละ สงฆ์มีความหมายอย่างไร สงฆ์ก็คือสังคมของมนุษย์ที่พัฒนาตนแล้วด้วยการปฏิบัติหรือเข้าถึงธรรม ตามอย่างพระพุทธเจ้า

 

ถ้าไม่มีพุทธะ ธรรมะก็ไม่ปรากฏ และสังคมก็ไม่อาจพัฒนาให้เกิดสังฆะ ถ้าไม่มีธรรมะ มนุษย์ก็ไม่พัฒนาเป็นพุทธะและสังฆะก็ไม่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่มีสังฆะ ก็ไม่มีเครื่องยืนยันความเป็นพุทธะ และธรรมะก็ไม่คงปรากฏสืบทอดในสังคมอยู่ต่อไป จะเห็นว่าองค์ทั้งสามนี้มีความสัมพันธ์อิงอาศัยกัน และประสานกลมกลืนกันเข้าเป็นระบบใหญ่อันเดียว

 

เมื่อกี้นี้ได้บอกแล้วว่าพระพุทธเจ้ามีคุณสมบัติ อย่าง คือปัญญา กรุณาและวิมุตติ หรือวิสุทธิ คุณสมบัติ อย่างนี้เป็นหลักที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้า
กับองค์อื่นทั้งสองของพระรัตนตรัย เรียกว่าเป็นหลักความสัมพันธ์ระหว่างองค์ทั้ง
กล่าวคือ

 

พระพุทธสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยมีปัญญารู้เข้าใจค้นพบความจริงของธรรมชาติ คือได้ตัวธรรมขึ้นมาหรือค้นพบธรรมนั้นด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมีคุณสมบัติข้อที่ คือปัญญาเป็นตัวที่สัมพันธ์กับธรรม หรือธรรมชาติเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่มาโยงกับองค์ที่ ของพระรัตนตรัย พระพุทธค้นพบธรรมด้วยปัญญา มีองค์คือปัญญาเป็นตัวทำหน้าที่ต่อธรรมชาติหรือธรรม พูดสั้น ว่า ปัญญาเป็นตัวสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธกับพระธรรม

 

ต่อไปคุณสมบัติข้อที่ พระพุทธค้นพบธรรมในธรรมชาติด้วยปัญญานั้นแล้ว ตนเองก็เกิดวิมุตติขึ้น คือหลุดพ้นจากความทุกข์ หลุดพ้นจากกิเลสและความชั่วร้ายทั้งปวง จัดเป็นคุณสมบัติข้อที่ พระพุทธจึงเป็นผู้มีวิมุตติประจำตัว วิมุตติก็เป็นคุณสมบัติส่วนพระองค์ และวิมุตติคือความหลุดพ้นจากความทุกข์นั้น ก็รวมไปถึงการมีความสุข มีสันติ มีวิสุทธิ มีอิสรภาพด้วย พูดสั้น ว่าวิมุตติ (หรือวิสุทธิ หรือสุข) เป็นสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในตัวของพระพุทธเอง

 

ต่อไปคุณสมบัติข้อที่ คือเมื่อพระพุทธค้นพบธรรม กลายเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ภายในพระองค์เองแล้ว ก็เกิดมีคุณธรรมต่าง ขึ้น คุณธรรมหรือความดีงามทั้งหลายมีอยู่ในพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่คุณธรรมเหล่านั้นแผ่ขยายแสดงออกไปต่อสังคม โดยผ่านคุณธรรมที่เป็นตัวนำ ตัวนำที่จะทำให้ปฏิบัติต่อสังคมด้วยคุณธรรมก็คือความกรุณา ได้แก่ความคิดที่จะช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นคุณธรรมตัวเด่นที่นำแสดงต่อสังคมก็คือกรุณา กรุณาจึงเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่แสดงออกต่อสังคม ซึ่งทำให้เกิดสงฆ์เป็นตัวทำหน้าที่ต่อสงฆ์ และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้ากับสงฆ์ พูดสั้น ว่ากรุณาเป็นตัวสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธกับพระสงฆ์ (เป็นตัวชักนำสังคมขึ้นมาสู่ความเป็นสงฆ์)

 

สรุปอีกทีหนึ่งว่า พระพุทธเจ้ามีคุณสมบัติ คือ

 

)

 

ปัญญา เป็นคุณสมบัติที่สัมพันธ์กับธรรมะหรือทำหน้าที่ต่อธรรมชาติ

)

 

วิมุตติหรือวิสุทธิ เป็นคุณสมบัติส่วนตัวที่เกิดขึ้นภายใน เป็นตัวรับรองและค้ำประกันคุณสมบัติอื่น ให้เป็นคุณธรรมความดีงามที่แท้จริงและสมบูรณ์ พระพุทธเจ้ามีคุณธรรมความดีงามที่แท้จริงและสมบูรณ์ ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยได้หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง หลุดพ้นจากความชั่ว หลุดพ้นจนอยู่เหนือความดีความชั่ว คือไม่ยึดติดในความดีความชั่วนั้นด้วย เพราะเป็นความดีงามของผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นแล้ว จึงเป็นความดีงามที่บริสุทธิ์ เป็นความดีงามที่แท้จริง เป็นคุณธรรมหรือความดีงามที่สมบูรณ์

)

 

กรุณา เป็นคุณสมบัติที่สัมพันธ์กับสงฆ์หรือทำหน้าที่ต่อสังคม กล่าวคือคุณธรรมทั้งหลายมีโอกาสแสดงออกต่อสังคม โดยเอากรุณามานำหน้าหรือชักจูงไป

 

นี้คือคุณสมบัติ ประการของพระพุทธเจ้าที่สัมพันธ์กัน

 

ทีนี้พูดถึงพระธรรมบ้าง พระธรรมก็คือความจริงที่เข้าถึงได้ด้วยปัญญา ซึ่งเมื่อใครเข้าถึงด้วยปัญญาค้นพบคนแรก ก็ทำให้คนนั้นเป็นพระพุทธ (ถ้าเป็นพระพุทธองค์แรกและนำธรรมนั้นมาเผยแพร่แก่ผู้อื่น คือทำให้มีสงฆ์ด้วย เราเรียกว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าค้นพบเองแต่ไม่เผยแพร่แก่ผู้อื่น คือไม่ทำให้เกิดสงฆ์ เราเรียกว่าปัจเจกพุทธ ถ้าเป็นผู้ที่รู้ตามเราเรียกว่าเป็นอนุพุทธ แต่เป็นพุทธทุกคน เพราะคนใดก็ตามที่ได้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติด้วยปัญญา คนนั้นก็เป็นพุทธะ แต่ในกรณีนี้คือในองค์ของพระรัตนตรัย พุทธ หมายถึงพระพุทธอย่างแรก หรือพระพุทธที่เป็นต้นแบบ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) เพราะฉะนั้นธรรมก็เป็นความจริงที่เข้าถึงด้วยปัญญาที่ทำให้เป็นพุทธะ แล้วก็เป็นหลักของสงฆ์ เพราะว่าผู้ที่ปฏิบัติตามรู้เข้าถึงแล้วก็มาเป็นสมาชิกของสงฆ์ ทำให้เกิดสงฆ์ขึ้น

 

ต่อไปองค์ที่ คือสงฆ์ สงฆ์ก็คือมวลหมู่ผู้ที่เข้าถึงธรรมตามอย่างพระพุทธ โดยอาศัยความกรุณาของพระพุทธทำให้เข้าถึงธรรม

 

สงฆ์นี้มีหลักการใหญ่ ประการ

 

หนึ่ง วินัย เป็นฐานเป็นตัวคุมให้ก่อและคงรูปเป็นสงฆ์ได้ ถ้าเราเอาแม่แบบนี้มาใช้กับสังคม ก็หมายความว่าสังคมต้องมีวินัย เช่นกฎหมายและการจัดระบบสถาบันต่าง เป็นต้นเป็นฐาน

 

สอง สามัคคี เป็นพลังยึดเหนี่ยว สงฆ์มีตัวยึดเหนี่ยวคือสามัคคี อันนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสย้ำเสมอ

 

สาม กัลยาณมิตร เป็นเนื้อหาของสงฆ์ เพราะว่าพระสงฆ์นั้นประกอบด้วยบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร ในเมื่อเนื้อหาของสงฆ์ก็คือตัวบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร สงฆ์ก็จึงเป็นแหล่งของกัลยาณมิตรที่คนในสังคมจะเข้าไปหาแล้วก็ได้รับประโยชน์ เป็นตัวช่วยนำคนให้เข้าถึงธรรมและมาร่วมเป็นสมาชิกของสงฆ์กันต่อ ไป

 

เพราะฉะนั้นหลักของสงฆ์ก็จึงมีวินัยเป็นฐาน มีสามัคคีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวคุม แล้วก็มีกัลยาณมิตรเป็นเนื้อหา


Back