องค์สาม ที่การศึกษาจะต้องบูรณาการ

 

ย้อนกลับเข้ามาหาการศึกษาปัจจุบันอีกหน่อย ในการศึกษาปัจจุบันนี้มีเรื่องที่ต้องพูดเกี่ยวกับบูรณาการมากมาย เมื่อกี้ก็พูดไปบ้างแล้วแต่ยังมีอีกแง่หนึ่งที่ควรจะพูด ก็คือในการศึกษาปัจจุบันนี้เราเห็นได้ชัดว่ามีการเน้นองค์ด้านความรู้มากเหลือเกิน จนบางทีให้คำจำกัดความว่า การศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ หรือ การได้ความรู้มา ทีนี้องค์ด้านความรู้นี่พอไหม มันครบบูรณาการหรือเปล่าที่จะให้เป็นการศึกษาที่ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องจะต้อง
มีองค์ประกอบอะไรอีกที่จะมาบูรณาการกับความรู้ เพื่อให้เป็นการศึกษาที่สมบูรณ์ถูกต้อง

 

เริ่มต้นเอาแค่ความรู้ก่อน ความรู้ที่เราเข้าใจกันนี้ก็ยังพร่า กำกวม ความรู้มีความหมายว่าอย่างไร แม้แต่ถ้าเรายอมรับว่าความรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษา ก็ยังมีปัญหาว่าความรู้ที่เราเข้าใจที่ว่าเป็นองค์ของการศึกษานั้น เป็นความรู้แบบไหน ความรู้ที่ถูกต้องคืออะไร เราลองหาดูว่าอะไรคือความหมายของความรู้ ศัพท์หนึ่งที่เราใช้แปลความรู้ก็คือ ปัญญา ปัญญาคือความรู้ ปัญญานั้นยอมรับได้ว่าเป็นความรู้ที่เป็นองค์หนึ่งของการศึกษา แต่ความรู้ที่เราใช้พูดถึงกันอยู่นี้เป็นปัญญาหรือไม่ อันนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ขอวินิจฉัยตามหลักการของพระพุทธศาสนาก่อนอย่างน้อยต้องแยกได้ว่า ความรู้นั้นมี อย่าง และต้องแยกให้ชัดระหว่างความรู้ อย่างนั้น

 

ความรู้อย่างที่ ทางพระเรียกว่า สุตะ สุตะนี่อาจจะเรียกว่าข้อรู้คือความรู้ที่ได้รับฟังมา ได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ถ่ายทอดกันมา ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามเรียกว่าสุตะทั้งสิ้น

 

ความรู้อย่างที่ เรียกว่า ปัญญา ความรู้ที่เรียกว่าปัญญาคืออะไร ขอให้ความหมายแบบซอยย่อย ให้เห็นลักษณะด้านต่าง ของปัญญา ลักษณะด้านต่าง ของปัญญาก็มี

 

รู้เข้าใจ

 

รู้คิด

 

รู้วินิจฉัย

 

รู้ที่จะใช้แก้ปัญหา

 

รู้ที่จะสร้างสรรค์จัดทำดำเนินการให้สำเร็จ

 

นี้เป็นความหมายในแง่ต่าง ของปัญญาในความหมายอย่างแรกปัญญาจะมาสัมพันธ์กับความรู้ประเภทที่ ที่เรียกว่า สุตะ ความรู้ที่ได้เล่าเรียนและถ่ายทอดกันมาที่เรียกว่าสุตะนี้ เป็นตัวข้อมูลมากกว่า มันเป็นตัวตั้ง เป็นตัวตาย เป็นของที่มาจากผู้อื่นเรียกว่าเป็นของคนอื่นไม่ใช่ของเรา พอเราเกิดความรู้ที่เรียกว่าปัญญาขึ้นมา คือรู้เข้าใจก็กลายเป็นความรู้ของเราขึ้นมาทันที

 

ตัวความรู้ที่เป็นของเรานี้มันมีความสัมพันธ์กับสุตะ คือพอเข้าใจแล้วมันจะวินิจฉัยสุตะนั้น จะวินิจฉัยความรู้ที่ถ่ายทอดกันมา ที่ได้รับมาว่าเป็นความรู้ที่เข้ากับการที่เราจะใช้ประโยชน์ไหม มีคุณค่าไหม เป็นคุณหรือเป็นโทษอย่างไร จะใช้อย่างไร ปัญญาเป็นตัววินิจฉัยทั้งหมด อาจจะพูดสั้น ว่าปัญญาคือความรู้ เข้าใจ และใช้ความรู้เป็น เพราะฉะนั้นทางพระจึงแสดงหลักว่า ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี แปลว่าปัญญาเป็นตัววินิจฉัยสุตะ นี่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ อย่างคือ สุตะ กับ ปัญญา หมายความว่าความรู้อย่างที่ วินิจฉัยความรู้อย่างที่

 

ความรู้แบบสุตะคือความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมา เป็นความรู้ที่เป็นส่วนประกอบของการศึกษาก็จริงแต่ยังไม่ใช่องค์ของการศึกษา ความรู้ที่เป็นองค์ของการศึกษาก็คือปัญญา

 

ถึงตอนนี้ก็กลับเข้ามาสู่ปัญหาเดิมที่ว่า ปัญญาอย่างเดียวพอไหมที่จะเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์ ถ้าไม่สมบูรณ์ก็มาพิจารณาตามหลักบูรณาการว่า จะต้องมีองค์ประกอบร่วมอะไรมาประสานกับปัญญาอีกจึงจะเกิดเป็นการศึกษา ทีนี้ก็ลองมาดูว่ามีอะไรบ้าง แต่อย่างที่บอกไว้แล้วจะต้องระลึกกันไว้ก่อนว่า องค์ประกอบอื่น ที่จะมาร่วมบูรณาการนั้น จะต้องสัมพันธ์เป็นอันเดียวกันกับปัญญาตามทัศนะแบบพุทธธรรมนั้น องค์ประกอบร่วมรวมทั้งปัญญาในระบบบูรณาการของการศึกษานั้นมี อย่างคือ

 

()

 

ความจริง

()

 

ความดีงาม

()

 

ความสุข

 

ความจริง ความดีงาม และความสุขเป็นองค์ประกอบร่วมในบูรณาการ ที่จะทำให้เกิดการศึกษาที่สมบูรณ์ที่จะพัฒนาคนทั้งคนขึ้นมา อย่างแรกคือความจริงนั้นก็เป็นสภาวะของสิ่งทั้งหลายนั่นเอง แต่ในเวลาที่มันเกิดขึ้นในคนนี่ความจริงคืออะไร ความจริงปรากฏแก่คนโดยเป็นความรู้ คือเรารู้ความจริงและการรู้ความจริงนั่นเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นองค์ประกอบที่ จึงเป็นปัญญาซึ่งเป็นตัวประกอบที่สำคัญมาก แล้วพ่วงมาด้วยกับปัญญานั้น ก็จะมีตัวกำกับที่เป็นเครื่องยืนยันทำให้แน่ใจได้ว่าเป็นปัญญาที่แท้จริงหรือไม่ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์หรือไม่ ปัญญาที่สมบูรณ์จะมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาร่วมด้วย คือความดีงามและความสุข แต่ความสุขในกรณีนี้ท่านใช้ภาษาที่เคร่งครัด เรียกว่าภาวะไร้ทุกข์ เพราะความสุขนั้นท่านถือว่าเป็นคำที่กำกวม เมื่อจะให้จำกัดชัดต้องเรียกว่า ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ก็คือภาวะไร้ปัญหาปราศจากความบีบคั้นเป็นต้น เมื่อปราศจากความบีบคั้นไร้ปัญหาก็เรียกว่าภาวะไร้ทุกข์ ก็คือความสุขที่แท้ ล้วน เมื่อพัฒนาคนขึ้นมาองค์ประกอบสามอย่างนี้จะต้องมีด้วยกัน คนที่มีการศึกษาจะต้อง

 

()

 

มีปัญญาคือรู้ รู้อะไรก็รู้ความจริงคือมีความจริงเข้าถึงความจริง

()

 

มีความดีงาม ซึ่งอาจจะเรียกว่าคุณธรรม

()

 

มีความสุขหรือไม่มีทุกข์

 

คนที่เรียกว่ามีการศึกษานั้น จะต้องได้รับการตรวจสอบดูเสมอว่าได้พัฒนาไปโดยมีองค์ประกอบ อย่างนี้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย หรือไม่ ถ้าหากว่าการศึกษาทำให้คนมีความรู้มากขึ้น แต่มีความสุขน้อยลงมีความทุกข์มากก็แสดงว่าการศึกษานั้นคงจะผิด ถ้าหากว่าการศึกษาทำให้คนมีความรู้มากขึ้นแต่มีความดีงามน้อยลงมีความชั่วมากขึ้น การศึกษานั้นก็คงจะผิด ถ้าหากว่าคนมีความดีงามโดยไม่มีความรู้ก็ผิดเหมือนกัน เพราะเป็นความดีงามโดยความหลงงมงายไม่ได้เป็นไปด้วยความรู้ ไม่ได้เป็นไปด้วยปัญญา ถ้ามีความสุขโดยไม่มีปัญญาไม่มีความดีงามก็ผิดอีกต้องครบทั้ง อย่าง ในการพัฒนานี้จะต้องดูว่าผู้ที่ได้รับการศึกษา คือคนที่เราสอนหรือให้การศึกษานี้มีปัญญาเพิ่มขึ้นไหม มีความดีงามและความสุขหรือภาวะไร้ทุกข์เพิ่มขึ้นหรือไม่

 

องค์ประกอบ อย่างนี้สัมพันธ์กันอย่างไร มันสัมพันธ์กันโดยเป็นองค์เดียวกัน กล่าวคือเมื่อบูรณาการถึงขั้นสุดท้าย มันจะไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมเป็นอันเดียวกันอย่างไร ปัญญาคือการรู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงถึงที่สุดแล้วจะเกิดความเป็นอิสระมีอิสรภาพขึ้นภายใน จิตใจจะมีภาวะที่ปราศจากสิ่งบีบคั้น หลุดพ้นจากสิ่งบีบคั้น หลุดพ้นจากสิ่งขุ่นมัวเศร้าหมองทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่าภาวะวิมุตติ วิมุตติหรืออิสรภาพนั้นก็คือภาวะไร้ทุกข์ ซึ่งเรามาเรียกกันง่าย ว่าความสุข แต่ทางพระท่านไม่นิยมใช้ ถ้าเรียกให้เข้ากับภาษาปัจจุบันก็เรียกว่า อิสรภาพ หรือความเป็นอิสระ เมื่อเป็นอิสระหลุดพ้นจากสิ่งบีบคั้นขุ่นมัวเศร้าหมองก็เป็นความบริสุทธิ์เรียกว่า "วิสุทธิ" และพร้อมกันนั้นก็มีความสงบเพราะปราศจากความเดือดร้อนกระวนกระวายจึงเรียกว่า "สันติ" เมื่อเป็นสันติมีความสงบปราศจากความกระวนกระวายก็เป็นความสุขนั่นเอง มันพัวพันกันอยู่อย่างนี้

 

เพราะฉะนั้นในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้วศัพท์เหล่านี้จะมีความหมาย
เกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นไวพจน์กันทั้งหมด วิมุตติ คือความเป็นอิสระหรืออิสรภาพ
วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์หมดจด สันติ คือความสงบและ สุข คือความสุข ทั้งหมดนี้
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นตัวเดียวกัน ดังนั้นปัญญาที่แท้จึงมากับความสุขหรือพาเอา
ความสุขมาด้วยแล้วพร้อมกันนั้นเอง มันก็ไปสัมพันธ์กับความดีงามเพราะว่าเมื่อมีอิสรภาพ
มีภาวะไร้ทุกข์ ก็หมายถึงว่ามีความปลอดโปร่งผ่องใส ปราศจากความชั่วความเสียหาย
ที่ทำให้จิตใจขุ่นมัวเศร้าหมองหรือบีบคั้นจิตใจด้วย นอกจากนั้นเมื่อเป็นอิสระไร้ทุกข์แล้ว
เราก็สามารถพัฒนาความดีงามได้ ถ้าคนเรายังเต็มไปด้วยปัญหาจิตใจมีความทุกข์อยู่
อย่างน้อยก็จะเกิดความฝืนในการที่จะประพฤติความดีงาม แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่ามันจะ ประพฤติความดีงามอยู่ไม่ได้ คนที่มีความทุกข์ย่อมมีความโน้มเอียงไปในการที่จะระบายทุกข์ และระบายปัญหาแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้นเขาก็จะต้องสร้างปัญหา ซึ่งก็คือสิ่งไม่ดีไม่งามให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าการศึกษาไม่สามารถทำให้คนเกิดความไร้ทุกข์ แล้วก็จะไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะสามารถทำให้คนมีความดีงามได้มาก และคนเช่นนั้นก็ยังเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์

 

รวมความก็คือว่าในพัฒนาการระดับสูงสุด ปัญญา คุณธรรม และความสุขหรือความมีอิสรภาพไร้ทุกข์นี้ เป็นองค์ประกอบร่วมของสภาวะอันหนึ่งอันเดียวกันที่บูรณาการเข้าด้วยกัน เป็นหลักการที่เราจะต้องทำให้ได้ในการศึกษา แต่ในพัฒนาการระดับต่ำลงมา องค์ อย่างนี้จะกระจัดกระจายจนบางทีเรารู้สึกว่าไม่ประสานกันเลย หนำซ้ำบางครั้งก็รู้สึกว่าขัดแย้งกันด้วยซ้ำ เช่นว่าทำความดีงามแล้วอาจจะมีทุกข์ หรือคนบางคนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนมีปัญญาแต่ไม่ใช่คนดี คือมีความรู้แต่ไม่ดี และคนมีปัญญามีความรู้นั้นก็ไม่ใช่มีความสุขเสมอไป ในระดับของพัฒนาการขั้นต้นนี้องค์ประกอบเหล่านี้ยังไม่บูรณาการ เพราะมันยังไม่ใช่ตัวแท้ตัวจริงมันไม่ใช่ความดีงามที่แท้จริง มันไม่ใช่ความรู้หรือปัญญาที่แท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง แต่เมื่อเรารู้ในฐานะนักการศึกษาหรือผู้ให้การศึกษาว่า ในพัฒนาการที่สูงสุดองค์ประกอบทั้งสามนี้จะไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้แล้วเราก็จะพยายามจัดสรรควบคุม เพื่อที่จะพัฒนาให้มันไปสู่จุดรวมอันเดียวกัน

 

เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีความเข้าใจอย่างนี้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เราก็ให้การศึกษาพัฒนาคนโดยคอยคุมให้องค์ประกอบทั้ง อย่างนี้เกิดขึ้นและเป็นไปด้วยกัน กล่าวคือในระดับเบื้องต้น การพัฒนาคนโดยให้เขามีทั้งปัญญา มีทั้งความดีงาม และมีทั้งความสุขไปด้วยกันนั้น จะต้องเป็นการกระทำโดยตั้งใจคิดจัดสรรหรือวางแผนโดย พยายามทำให้องค์ประกอบทั้งสามนั้นเกิดขึ้นและพยายามให้กลมกลืนกันให้ได้ แต่ในขั้นสุดท้ายมันจะพากันมาและกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามธรรมดาของมันเอง


Back