บูรณาการในทุกขอบเขตของการศึกษา

 

ต่อไปข้อที่ คือตัวอย่างของพัฒนาการในแต่ละขนาดหรือขอบเขตย่อยภายในองค์รวมอย่างที่บอกเมื่อกี้แล้วว่า ในองค์รวมใหญ่ก็มีองค์รวมย่อย เช่นในระบบชีวิตของมนุษย์ก็มีระบบย่อยเช่น ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสูบฉีดโลหิตเป็นต้น ซึ่งแต่ละระบบต้องการบูรณาการทั้งสิ้น ทีนี้ในบูรณาการนั้นจะต้องประมวลองค์ประกอบที่สัมพันธ์อิงอาศัยกัน เข้ามาประสานอย่างครบถ้วน ให้เกิดความกลมกลืนหรือสมดุลจึงจะเป็นองค์รวมที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น การบูรณาการแม้แต่ในขอบเขตย่อย ทุกขนาด จะต้องจับให้ได้ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่จะต้องถูกนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน และองค์ประกอบ
เหล่านี้ก็จะต้องเชื่อมโยงกันอยู่ในครอบคลุมทั้งหมดนั้น แล้วจึงจะเกิดความสมบูรณ์ในตัว เช่นเป็นระบบหายใจที่สมบูรณ์ เป็นระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ เป็นระบบประสาทที่สมบูรณ์ แล้วจึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

 

ทีนี้มาพูดในแง่ของการศึกษา ขอโยงเข้าหาพระพุทธศาสนา เป็นที่รู้กันอยู่ว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งการศึกษา เป็นระบบการฝึกฝนอบรมคน ระบบการฝึกฝนอบรมคนก็คือการศึกษา พระพุทธศาสนาเรียกระบบการศึกษาอบรมนี้ว่า สิกขา สิกขาก็คือคำว่าการศึกษานั่นเอง การศึกษานั้นก็คือการสร้างพัฒนาการ การฝึกฝนอบรมคนก็คือการสร้างพัฒนาการ เหมือนอย่างที่บอกเมื่อกี้นี้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกอบรมตนแล้วนั้นคืออย่างไร
แล้วท่านก็ตอบว่า คือเป็นผู้พัฒนาตนแล้วทั้ง ด้าน เพราะฉะนั้นการฝึกฝนอบรมก็ดี การศึกษาก็ดี พัฒนาการก็ดี ในความหมายคร่าว แล้วเป็นอันเดียวกันทั้งหมด ดังที่จะแปล สิกขา หรือ ศึกษา ว่าการฝึกฝนพัฒนา

 

ทีนี้ขอให้สังเกตว่า ธรรมในพระพุทธศาสนานี้ ท่านตรัสไว้เป็นหมวด ทุกท่านที่
เรียนเรื่องพระพุทธศาสนา ได้ยินได้ฟังเรื่องพระพุทธศาสนาจะเห็นว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้า
สอน จะมาเป็นหมวด แทบทั้งนั้นเป็นหมวด หมวด หมวด หมวด หมวด
เช่นรัตนะ สิกขา หรือไตรสิกขา อิทธิบาท ความเพียร สติปัฏฐาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค บารมี ๑๐ ฯลฯ

 

ประการแรก การที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา นั่นก็คือหลักแห่ง
พัฒนาการ ประการที่สอง การที่ท่านตรัสธรรมเป็นหมวด นี่ก็คือเรื่องของบูรณาการ

 

พระพุทธเจ้าตรัสธรรมเป็นหมวด ก็เพราะเรื่องบูรณาการนี่แหละ หมายความว่า ธรรมที่ท่านจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวด นั้น แต่ละกลุ่มแต่ละหมวดจะต้องประสานกลมกลืนเข้าเป็นชุดเดียว ถ้าปฏิบัติไม่ครบชุด ก็จะเกิดข้อบกพร่องเป็นปัญหาขึ้นมาและอาจเกิดโทษด้วย เพราะฉะนั้น ธรรมอะไรถ้าท่านตรัสไว้ ข้อ เราจะต้องระลึกไว้ก่อนว่าจะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ข้อ ถ้าไม่ครบจะมีปัญหา ขอยกตัวอย่างง่าย เช่นพรหมวิหาร
บางทีเราเอามาแยกพูดเป็นเมตตาแล้วเราก็จะปฏิบัติบำเพ็ญเมตตา เรานึกไหมว่าถ้าปฏิบัติไม่ครบหลักบูรณาการ องค์แล้วจะเกิดปัญหาขึ้น เกิดปัญหาแน่ เช่นถ้าเมตตามากไปอาจจะกลายเป็นลำเอียง อาจจะทำให้เสียความยุติธรรมเป็นต้น ซึ่งท่านเตือนไว้แล้วทีเดียว พูดสั้น พรหมวิหาร เป็นหลักธรรมเพื่อให้เป็นคนระดับพรหม หรือเป็นคนที่มีจิตใจประเสริฐ คนใจประเสริฐนั้นจะต้องมี

 

.

เมตตา

ความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นต้องการให้เขาเป็นสุข

.

กรุณา

ความคิดช่วยเหลือ อยากให้เขาพ้นทุกข์

.

มุทิตา

ความยินดี พลอยยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี ประสบความสำเร็จ

.

อุเบกขา

ความวางใจเป็นกลาง เมื่อรู้ว่าเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือสมควรจะต้องรับผิดชอบตนเอง

 

ข้อที่ ต่อทุกคนที่เป็นเพื่อนมนุษย์หรือเป็นเพื่อนสัตว์ร่วมโลก ซึ่งอยู่กันตามปกติ
เรามีเมตตาปรารถนาดีต้องการให้เขาเป็นสุข ข้อที่ ต่อผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก เรามีกรุณาต้องการให้เขาพ้นทุกข์ ข้อที่ ต่อผู้ที่ทำอะไรได้ดีมีความสำเร็จเจริญก้าวหน้า เรามีมุทิตายินดีด้วยและส่งเสริม แต่การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกรุณา และส่งเสริมผู้อื่นด้วยมุทิตา ในบางกรณีอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ เช่นทำความชั่วมีความผิดควรได้รับโทษ แต่เราไปช่วยเหลือให้เขาพ้นจากความผิดด้วยความกรุณา หรือคนที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ผิดธรรม ในสิ่งที่เป็นโทษต่อสังคม เราไปส่งเสริมด้วยมุทิตา อย่างนี้จะต้องเกิดผลเสียหายแน่ ในกรณีเช่นนี้ท่านให้มีอุเบกขาเป็นข้อที่ อุเบกขาเป็นตัวที่รักษาไม่ให้ผิดธรรม ถ้าการปฏิบัติอันใดใน ข้อต้นจะผิดธรรม ก็ต้องมีอุเบกขา

 

ธรรมสามข้อแรกรักษาคน ช่วยคน สนับสนุนคน แต่ข้อสุดท้ายคืออุเบกขารักษาธรรมไว้ หลักมีอยู่ว่าถ้าคนจะทำให้ธรรมเสียก็ต้องรักษาธรรมไว้ เพราะฉะนั้นอุเบกขาจึงต้องมีไว้เพื่อรักษาธรรม ซึ่งจะรักษาหมู่ชนทั้งหมดหรือรักษาบุคคลนั้นเองในระยะยาว

 

รวมความว่าทั้งสี่ข้อนี้จะต้องปฏิบัติให้ถูกบุคคล ถูกกรณี แม้แต่บุคคลผู้เดียวก็ต้องปฏิบัติให้เหมาะ ให้ถูกเรื่องถูกที่ว่าคราวไหนควรใช้เมตตา คราวไหนใช้กรุณา คราวไหนใช้มุทิตา คราวไหนใช้อุเบกขา เช่นพ่อแม่ต้องปฏิบัติต่อลูกให้ได้สมดุลระหว่างธรรมทั้งสี่ ถ้าปฏิบัติไม่ครบองค์ ก็ไม่บูรณาการ เมื่อไม่บูรณาการก็เกิดโทษ เช่นพ่อแม่แสดงแต่เมตตา กรุณา และมุทิตา ไม่ใช้อุเบกขา ไม่หัดให้ลูกรับผิดชอบตัวเอง ไม่ปล่อยโอกาสให้เขาทำอะไร ด้วยตัวเองบ้าง เอาแต่โอ๋ทำให้ทำแทนไปหมด เด็กเลยไม่รู้จักโตไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง ทำอะไรเองไม่เป็น การขาดบูรณาการในการปฏิบัติธรรมของพ่อแม่ เลยทำให้ลูกไม่มีพัฒนาการที่ถูกต้อง นี้เป็นตัวอย่างง่าย

 

ในพระพุทธศาสนาจะมีการเน้นเรื่องอย่างนี้เสมอ เช่นการปฏิบัติในหลักที่เรียกว่าอินทรีย์ ท่านบอกว่าจะต้องมี 'สมตา' สมตาก็คือความสมดุล หมายความว่าจะต้องมีความสมดุล เช่นว่ามีศรัทธามากไปก็ไม่ได้ ต้องมีปัญญาคุมให้สมดุล มีปัญญาแรงเกินไปก็ไม่ได้ ปัญญาในระดับที่ยังไม่สูงสุดอาจจะพลาด ต้องมีศรัทธาคุมให้มีสมดุล มีวิริยะคือความเพียรมากไปก็ไม่ได้ ต้องมีสมาธิคุม สมาธิมากเกินไปก็ขี้เกียจ ต้องมีวิริยะคุม แล้วสุดท้ายต้องมีสติคุมทุกอัน นี่ก็เรียกว่าบูรณาการเหมือนกัน เป็นระบบ ธรรมแต่ละหมวดเป็นระบบบูรณาการทั้งนั้น จะเป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องบำเพ็ญบารมีให้ครบ ๑๐ ถ้าไม่ครบ ๑๐ ก็ไม่เป็นพระพุทธเจ้า นี่ก็ระบบบูรณาการ

 

ระบบการปฏิบัติในพุทธศาสนาหรือระบบการศึกษาอบรมทั้งหมด ก็คือสิกขา
ในการปฏิบัติสิกขา ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาครบ ถ้าไม่ครบก็ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุ
จุดหมายของพระพุทธศาสนา ศีลก็เป็นตัวหนุนช่วยให้ใจพร้อมที่จะเจริญสมาธิ สมาธิก็มา
ช่วยให้รักษาศีลได้หนักแน่นจริงจังมากขึ้น สมาธิเป็นฐานให้แก่ปัญญา ทำให้มีความคิดจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ กำหนดแน่วอยู่กับสิ่งใดก็คิดสิ่งนั้นได้ชัด มองเห็นจะแจ้งขึ้น ช่วยให้ปัญญาแก่กล้าปัญญาดีขึ้น ก็ช่วยให้ทำจิตใจได้ดีขึ้น รู้จักว่าควรจะปฏิบัติต่อจิตใจในด้านสมาธิอย่างไรจึงจะได้ผลดี และย้อนมาช่วยให้การรักษาศีลพัฒนาไปถูกทางไม่งมงายเป็นต้น สิกขาทั้ง นี้ ก็บูรณาการกันอยู่ตลอดเวลาแล้วจึงจะเกิดผลที่สมบูรณ์

 

หมวดธรรมต่าง ที่เป็นระบบบูรณาการในขอบเขตที่ครอบคลุม ควรได้รับความ
สนใจเป็นพิเศษ หมวดธรรมประเภทนี้มีอีกมาก เช่นอริยสัจ หลักปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวธ ภาวนาหรือพัฒนาการ ด้านที่กล่าวแล้วเป็นต้น

 

ระบบที่ชัดเจนที่สุดก็คือมรรคมีองค์ มรรคมีองค์ นี้เป็นระบบบูรณาการใหญ่
อันหนึ่งของพระพุทธศาสนา เพราะข้อปฏิบัติทั้งหมดของพุทธศาสนาเรารวมเรียกว่ามรรค
มีองค์ มรรคมีองค์ นี้ต้องพรั่งพร้อมถึงที่แล้วเกิดเป็นธรรมสามัคคี ถ้าพรั่งพร้อมถึงที่ได้สัดส่วนพอดี ประสานกลมกลืนกันเกิดเป็นธรรมสามัคคีเมื่อใด ก็บรรลุมรรคผลเมื่อนั้น แต่ถ้ามรรคมีองค์ ไม่ได้สัดส่วนพอดี ไม่ครบ ไม่เกิดเป็นธรรมสามัคคีก็ไม่บรรลุมรรคผล
ตรัสรู้ไม่ได้ เป็นอริยบุคคลไม่ได้

 

เพราะฉะนั้น คำว่าธรรมสามัคคีนั่นเอง เป็นชื่อเก่าอย่างหนึ่งของบูรณาการในปัจจุบันปัจจุบันเรามาพบคำฝรั่งว่า integration เราก็พยายามคิดบัญญัติศัพท์ขึ้น integration นี่จะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดีนะ แล้วก็ไปค้นหา ในที่สุดก็สร้างศัพท์ขึ้นมาว่า บูรณาการ แต่ค้นไปค้นมาก็คือธรรมสามัคคีนี่เอง มีอยู่แล้ว ท่านใช้มาตั้งนาน ธรรมสามัคคี คือความพรั่งพร้อมขององค์ประกอบต่าง ที่เรียกว่าธรรมทั้งหลายซึ่งประสานกลมกลืนได้สัดส่วนกัน ทำให้เกิดความสมดุลพอดี เป็นอันว่าหลักสมดุลพอดีได้ที่คือบูรณาการนี้ ในทางปฏิบัติก็คือระบบของมรรค มรรคที่สมบูรณ์ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ที่เราเรียกว่าทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาก็คือข้อปฏิบัติที่สมดุลพอดีได้ที่ มัชฌิมา แปลว่าท่ามกลาง หมายถึงพอดีได้ที่ พอดีได้ที่ก็คือสมดุล สมดุลก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ตกลงว่าหลักพุทธศาสนานี้เป็นเรื่องของบูรณาการทั้งหมด

 

คำต่าง ว่า สมตา ธรรมสามัคคี มัชฌิมา ล้วนแต่เป็นเรื่องของบูรณาการที่เข้าสู่หลักสมดุลทั้งนั้น ฉะนั้นปฏิบัติการในระบบบูรณาการหรือ integration ก็คือความหมายหนึ่งของมัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง ตกลงพูดไปพูดมาก็เข้าสู่ทางสายกลางแบบเดียวกับปาฐกถาครั้งที่แล้ว ซึ่งเอาไปเข้าชุดและตั้งเป็นชื่อรวมว่า ทางสายกลางของการศึกษาไทย พูดไปพูดมาครั้งนี้ก็มาลงที่ทางสายกลางอีกเหมือนเก่า

 

เป็นอันว่าถ้าเราสร้างบูรณาการได้อย่างในระบบการศึกษาที่เรียกว่าพุทธศาสนานี้ ก็จะเกิดการบรรลุมรรคผลตรัสรู้เป็นอริยบุคคล จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็เกิดเป็นสภาวะใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่ต่างไปจากเดิม มีบุคลิกภาพ มีความรู้สึกนึกคิดใหม่ ตลอดจนมีท่าทีการมองสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนไปไม่เหมือนปุถุชน อย่างที่ท่านเปรียบว่าเหมือนคนพอโตกลายเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่นึกติดใคร่ผูกพันกับของเด็กเล่น ที่เด็ก ๆเอาจริงเอาจังจะเป็นจะตาย นี่ก็เป็นไปตามหลักของการบูรณาการในพัฒนาการ โดยเกิดสมดุลที่ทำให้มีภาวะและคุณสมบัติใหม่

 


Back