![]() |
ที่มาของโครงการ
|
คุณลักษณะที่สำคัญของนวัตกรรมท้องถิ่น |
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
|
ความสำคัญของโครงการ
|
ขั้นตอนและกิจกรรมหลักที่ได้ดำเนินการ
|
งบประมาณ
|
ในปี พ.ศ.2548-2549 ทุ่งสงเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 250 ล้าน เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาดังกล่าว และในทุก ๆ ปี เทศบาลเมืองทุ่งสงจะรับเป็นเจ้าภาพในการประชุมการบริหารจัดการน้ำ เริ่มจากระดับอำเภอ จังหวัด สู่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ต่อมาในวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2557 ได้ขยายผลจัดการประชุมสัมมนากาจัดการน้ำเชิงนิเวศแบบบูรณาการของลุ่มน้ำที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช 3 ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ลุ่มน้ำตาปี และลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี |
คนลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดีได้นำเรื่องราวของฝายมีชีวิต นวัตกรรมใหม่ในการกักเก็บน้ำ ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาบอกเล่าในช่วงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าสามารถแก้ปัญหาน้ำแล้งและฟื้นคืนระบบนิเวศสองฝั่งคลองได้ เทศบาลเมืองทุ่งสง จึงให้ความสนใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่ปี 2550 - 2556 เมืองได้มีการขุดลอก ขยายทางน้ำทุกปี และหลังน้ำหลาก จะมีตะกอนทรายเช่นเดิมหรือมากกว่าเดิม และในระยะ 4-5 ปีที่ผ่าน ในเดือนมีนาคม –พฤษภาคม น้ำในคลองเกือบทุกสายของเมืองทุ่งสงลดลง คลองท่าแพ ที่ใช้ผลิตนำประปาหล่อเลี้ยงอำเภอทุ่งสงและนาบอน ซึ่งเคยมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่ตอนนี้กลับมีน้อย และอาจพบภาวะวิกฤตขาดน้ำในอนาคต ทั้งระบบนิเวศริมสองฝั่งคลอง และในพื้นที่สวนพฤกษาสิรินธร 150 ไร่ ก็ได้รับผลกระทบพรรณไม้บนภูเขาผลัดใบเร็วขึ้น ป่าพรุจิกร้อยปี น้ำแห้งจนหมด พืชน้ำระดับล่างแห้งเฉา และตายไป สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์น้ำมีน้อยลงทุกปี ๆ หากฝายมีชีวิตสามารถแก้ปัญหาน้ำแล้ง และฟื้นคืนระบบนิเวศได้ก็จะต้องทำ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่า ฝายมีชีวิต จะมีความเหมาะสมกับพื้นที่ต้นน้ำที่ลาดชัน และอยู่ในแนวน้ำหลากหรือไม่ แต่เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน และแก้ข้อข้องใจดังกล่าว เทศบาลเมืองทุ่งสงจึงได้ตัดสินใจสร้างฝายมีชีวิตในเมืองตัวแรก ในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดการน้ำเชิงนิเวศขึ้น ฝายมีชีวิตทุ่งสงสร้างเสร็จในเดือนมกราคม 2558 มีขนาด ตัวฝายกว้าง 7 เมตร ยาว 10 เมตร ยกระดับน้ำ 1.5 เมตร สร้างความชุ่มชื้นให้ระบบนิเวศโดยรอบรัศมี 1 กิโลเมตร จึงช่วยเติมเต็มน้ำในดิน ให้กับพื้นที่สวนสาธารณะ และพื้นที่ของชุมชนบ้านในหวัง ช่วยรักษาป่าพรุจิกร้อยปีให้กลับคืนมา ไม่เป็นสาเหตุทำให้น้ำท่วมมากขึ้น ไม่มีตะกอนทรายหน้าฝายในช่วงน้ำหลาก และปลา กุ้ง และสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านพบกุ้งแม่น้ำตัวโตมาก ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในรอบ 70 ปี เกิดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ตามมามากมาย ได้แก่การสร้างวังปลาชุมชน การอนุรักษ์พันธุ์ปลาพื้นถิ่น การจัดทำแผนที่น้ำ การปล่อยกุ้งก้ามกรามเพื่อการอนุรักษ์ ปัจจุบัน ฝายมีชีวิตทุ่งสงเป็นฐานกิจกรรมหนึ่งของศูนย์เรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม “ชุมทางลดโลกร้อนทุ่งสง” ชุมทางแห่งการเรียนรู้นำสู่การปฏิบัติอย่างง่ายด้วยตนเอง ด้านระบบนิเวศและการจัดการน้ำเชิงนิเวศ |