http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document

ลักษณะทางกายภาพ


             ลักษณะภูมิประเทศ

    สภาพธรณีวิทยา

                 อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีธรณีสันฐานเป็นเทือกเขาสูงที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือใต้ต่อเนื่องมาทางใต้ของเทือกเขาหลวงขนานไปกับชายฝั่งตะวันออก อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาพระสุเมรุ (ยอดเขาเหมน) สูงประมาณ 1,236 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ของเทือกเขาส่วนใหญ่จะมีระดับความสูงอยู่ในระหว่าง 200 - 1,000 เมตร ประกอบด้วย เขาหลวง เขาโยง เขาทง เขาเขมร เขาวังหีบ เขาพระ เขาเหม็น เขาลายเบิก เขาลำโรม เขาคูหา เขาห้วยมุด เขาปากแพรก เขาถ้ำ และควนทัง


                 ชนิดของหิน

    หินอัคนี

                 -  พื้นที่เกือบทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงเป็นหินชนิดที่ประกอบด้วย หินไบโอไทต์มัสโคไวต์แกรนิต หินแกรนิตชนิดเนื้อดอก หินฮอร์เบลนด์แกรนิต และพนังหินเพกมาไทต์ พบในพื้นที่เขาวังหีบ เขาโยง เขาปากแพรก และเขาห้วยมุด โดยปรากฎเป็นหย่อม ๆ กระจัดกระจายจากตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงลงมาตอนใต้

    หมู่หินตะรุเตา

                 -  ยุคแคมเบรียนออร์โตวิเชียน เป็นยุคแรกถึงยุคที่ 2 ของมหายุคทาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 570 - 437 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง หมู่หินตะรุเตานี้ประกอบด้วย หินทรายสีเทาอมน้ำตาล สีน้ำตาล และสีน้ำตาลปนเหลือง หินดินดาน และหินควอร์ดไซด์ โดยมีหินพิลไลด์ แทรกสลับบางแห่งจะพบหินทราย และดินดานสีแดง ซึ่งมีซากบรรพชีวิน พบกระจายเป็นหย่อม ๆ บริเวณเขาวังหีบ และเขาห้วยมุด

    หินทุ่งสง

                 -  ยุคออร์โดวิเซียน เป็นยุคที่ 2 ของมหายุคทาลีโอโซอิกอยู่ระหว่างยุคแคมเบลี่ยน กับ ยุคโซลูเวียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 500 - 437 ล้านปีมาแล้ว ยุคนั้นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง หมู่หินทุ่งสงประกอบด้วย หินปูนสีเทาแก่ชั้นบางถึงหนามาก มีเนื้อดินเป็นชั้นบาง ๆ แทรกและหินดินดานสีน้ำตาลมีซากแบรคิโอพอด พบบริเวณ เขาเหมน ควนทัง และบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองจังกับคลองวังหีบ ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงจะพบแร่ดีบุกในบริเวณเขาห้วยมุด ทางตินใต้ของอุทยาน


             ลักษณะภูมิอากาศ

                จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะแนวเทือกเขาหลวงซึ่งต่อเนื่องมายังเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตั้งอยู่ในเขตร้อนบริเวณใกล้เคียงเส้นศูนย์สูตรขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยางด้านตะวันออก และมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลตลอดปี เป็นภูมิอากาศแบบโซนร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22.8 - 31.1 องศาเซลเซียส ซึ่งในแต่ละเดือนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมากนัก จากสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ

    1. ฤดูร้อน

                อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนเมษายน ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อน และอากาศจะร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม

    ตารางแสดงอุณหภูมิเฉลี่ยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543

    ( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )

    เดือน / ปี อุณหภูมิ รวม เฉลี่ย
    2539 2540 2541 2542 2543
    มกราคม 26.10 25.75 27.42 25.89 25.81 130.97 26.19
    กุมภาพันธ์ 26.14 27.29 28.04 26.26 26.15 133.88 26.77
    มีนาคม 27.54 27.75 31.00 27.92 27.22 141.43 28.28
    เมษายน 28.78 27.71 30.65 27.79 27.65 142.53 28.52
    พฤษภาคม 28.95 29.20 30.44 28.24 28.75 145.58 29.12
    มิถุนายน 28.84 29.12 29.29 28.21 27.34 142.79 28.56
    กรกฎาคม 28.11 27.68 28.02 27.87 28.05 139.73 27.94
    สิงหาคม 28.33 27.61 28.47 28.18 28.15 140.74 28.15
    กันยายน 27.37 26.99 28.16 27.08 27.07 136.67 27.33
    ตุลาคม 26.59 26.93 27.68 27.13 - 108.33 27.08
    พฤศจิกายน 26.13 26.39 23.17 26.62 - 102.31 25.57
    ธันวาคม 25.28 26.53 25.44 24.55 - 101.80 25.45
    รวม / ปี 328.1 328.95 337.78 325.74 246.191 1,566.81 328.96
    เฉลี่ย 27.34 27.41 28.15 27.14 27.35 130.56 27.41

    2. ฤดฝน

                อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและลมชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกทั่วไปและในช่วงฤดูฝนนี้ยังมีช่วงความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะ ๆ จึงทำให้มีฝนตกมาก นอกจากนี้ในระหว่างเดือนพฤศจิกาายน ถึง มกราคม ยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกมากในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน ธันวาคม

    ตารางแสดงค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543

    ( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )

    เดือน / ปี อุณหภูมิ รวม เฉลี่ย
    2539 2540 2541 2542 2543
    มกราคม 176.0 12.0 37.6 273.6 184.1 683.3 136.66
    กุมภาพันธ์ 131.5 115.3 0.6 604.1 180.1 1,031.6 206.32
    มีนาคม - 60.6 5.9 216.1 306.6 139.2 97.3
    เมษายน 99.1 121.1 5.7 175.9 169.1 570.9 114.18
    พฤษภาคม 157.1 90.2 129.4 265.2 77.7 719.6 143.92
    มิถุนายน 147.5 248.6 97.1 77.4 59.8 657.3 131.46
    กรกฎาคม 116.2 140.4 206.8 99.4 74.8 637.6 127.52
    สิงหาคม 183.0 155.2 227.9 148.6 198.1 912.8 182.56
    กันยายน 123.6 221.4 247.5 189.6 140.7 922.8 184.56
    ตุลาคม 212.8 434.1 446.1 346.7 - 1,439.7 359.92
    พฤศจิกายน 482.3 447.4 393.2 337.6 - 1,439.7 359.92
    ธันวาคม 749.9 380.6 651.2 370.2 - 2,151.9 537.97
    รวม / ปี 2,606.0 2,4268 2,449.02 2,904.4 1,391 11,777.2 2,637.49
    เฉลี่ย 217.16 202.23 204.08 242.03 154.5 981.43 219.79

             ความชื้นสัมพัทธ์

                มีความสัมพันธ์กับมวลอากาศและอิทธิพลกับลมมรสุมโดยตรง อิทธิพลของลมมรสุมตะวันอกเฉียงเหนือกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมทั้งสองนี้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทรพัดพาความชื้นมาด้วยให้ความชื้นสัมพัทธ

    ตารางแสดงค่าเฉลียของความชื้นสัมพัทธ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2539 - 2543

    ( สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครศรีธรรมราช )

    เดือน / ปี อุณหภูมิ รวม เฉลี่ย
    2539 2540 2541 2542 2543
    มกราคม 81.76 79.47 81.44 85.57 84.72 421.96 82.59
    กุมภาพันธ์ 82.69 81.03 77.23 82.27 82.39 405.61 81.12
    มีนาคม 77.41 79.57 94.44 79.94 83.22 414.58 82.91
    เมษายน 80.07 80.33 71.89 80.11 83.12 395.52 79.10
    พฤษภาคม 81.16 77.94 76.87 82.01 79.49 397.47 79.49
    มิถุนายน 81.96 79.49 78.71 77.86 81.30 399.32 79.86
    กรกฎาคม 77.64 79.53 80.30 76.77 76.36 390.60 78.12
    สิงหาคม 80.31 79.43 83.55 76.47 75.16 394.92 78.98
    กันยายน 79.24 85.08 84.34 82.26 78.31 409.23 81.84
    ตุลาคม 85.84 86.12 86.68 84.61 - 343.25 85.81
    พฤศจิกายน 86.94 88.06 90.31 85.40 - 350.71 87.67
    ธันวาคม 85.45 86.37 87.31 84.91 - 344.04 86.01
    รวม / ปี 953.47 982.42 993.07 978.17 724.07 4,658.21 983.5
    เฉลี่ย 79.45 81.86 82.75 81.51 80.45 388.18 81.95

             สภาพแวดล้อมโดยรอบอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

    การใช้ที่ดิน

                พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย และตามที่ราบเชิงเขารอบอุทยาน ฯ มีราษฎร์ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นหย่อม ๆ ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำการเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา นอกจากนี้จะพบป่าที่มีการปลูกมะพร้าว กาแฟ มังคุด ลางสาด ขนุน เงาะ สะตอ จำปาดะ หมาก ฯลฯ

                ทางด้านทิศใต้ของอุทยาน ฯ ยังมีการทำเหมืองแร่ และในบางส่วนของพื้นที่ได้มีการออก สทก. โดยสำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชให้แก่ราษฎร์ไปแล้ว ทำให้พื้นที่บางจุดได้กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร์ในพื้นที่

    แผนที่แสดงที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งขาติน้ำตกโยง

    ฝ่ายอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง


             ลักษณะประชากรในท้องถิ่นใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

                จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ในชุมชนเมืองยังมีค่อนข้างน้อยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ยังมีลักษณะชาวพุทธเป็นสำคัญ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาปักษ์ใต้ มีการเล่นหนังตะลุง มโนราห์ ให้เห็นอยู่บ้าง รวมทั้งการชนวัว มีประเพณีทางศาสนา คือ ประเพณีบุญสาทรเดือนสิบ ประเพณีชักพระ และประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นต้น


             ประวัติประชากรทำกินในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ

                ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อัตราการเพิ่มชองประชากรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เป็นเหตุให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นเรือกสวน ไร่นา และที่อยู่อาศัย ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมีการผลิตอาวุธแบบใหม่ ๆ เป็นผลให้มีการทำลายทรัพยากรและสัตว์ป่าอย่างไม่มีเขตจำกัด สัตว์ป่าหลายชนิดต้องลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย บางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี ในที่สุดรัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบก็ได้มองเห็นความสำคัญของการที่จะให้คุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่าจึงให้ดำเนินการจัดตั้ง สวนรุกขชาติ วนอุทยาน รวมถึงอุทยานแห่งชาติ เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองรักษาธรรมชาติ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป

 
ประวัติ   แหล่งท่องเที่ยว   เส้นทางศึกษาอุทยาน    คำกลอนประจำอุทยาน   
 
  ลักษณะทางกายภาพ   ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
  กลับสู่หน้าแรก