ชื่อท้องถิ่น เขลียง เหมียง เหลียง มันควาย
ชื่อวงศ์ GNETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon Lonn.Var.Tenerum Markgr
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ทรงพุ่มอยู่ใต้ร่มเงา ลำต้น เป็นข้อ ๆ สูงประมาณ 3-4 เมตร แต่ส่วนใหญ่สูงประมาณ 3 เมตร
ลักษณะใบ ใบจะออกมาจากปลายยอดและกิ่ง ใบรีปลายแหลม ออกมาเป็นคู่ ๆ ใบยาว 10-20 เซนติเมตร
ลักษณะดอก ดอกออกเป็นช่อมีขนาดเล็ก ออกมาตามข้อกิ่ง แต่ละช่อดอก ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร คล้ายดอกพริกไทย มีปุ่มหุ้มโคนดอก เวลาบานกลีบดอกสีขาวเกสรสีขาวเป็นฝอย
ลักษณะผล ผลมีลักษณะกลมรี คล้ายรูปไข่ หัวแหลม ท้ายมน ผลอ่อนและผลแก่สีเขียว เมื่อสุกเหลืองเข้ม ช่อหนึ่งจะมีผลประมาณ 10-15 ผล
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ผลดอกอ่อน
ใช้เป็นอาหารประเภท ต้มกะทิ แกงกะทิ แกงส้ม แกงพริก ทำห่อหมก แกงจืดหมูสับ ผัดเผ็ด ลวกจิ้มน้ำพริก กินสดเป็นผักเหนาะ ผลสุก ผลแก่ นำมาต้มรับประทานได้ รสชาติเหมือนถั่ว
รสชาติ หวานอมขม มีฝาดเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ ต้นอ่อนติดราก ปักชำ ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ดินร่วนซุย และมีปุ๋ยอินทรีย์ ตามธรรมชาติ สมบูรณ์ปริมาณน้ำเพียงพอ และมีร่มเงาได้เป็นอย่างดี
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต  -
ส่วนที่เป็นพิษ กล่าวกันว่าถ้าใช้มือที่เปียกน้ำเก็บใบเขลียงมาก ๆ จะทำให้แสบมือแต่ถ้ามือแห้งจะไม่มีอาการ
ประโยชน์ใช้สอย ไม่มี
ความเชื่อ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใบอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นยาบำรุงกำลัง ตำพอกใบหน้า ช่วยลอกฝ้า ใบหน้าเป็นนวลใย