เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้จังหวะเทียบได้กับเครื่องเบญจดุริยางค์ตามตำราอินเดีย มีดังนี้

ทับ (โทน) เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำไม่ใช่ผู้รำเปลี่ยนจังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มองเห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิงของผู้รำ)

ทับโนราเป็นทับคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย (นิยมใช้คนตีเพียงคนเดียว) ทับใบที่ ๑ เทียบได้ "อาตตํ" และทับใบที่ ๒ เทียบได้กับ"วิตตํ"



กลอง
เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ๑ ใบ ทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเลียนเสียงทับ เทียบได้กับ "อาตตวิตตํ"


ปี่
เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือบางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา เทียบได้กับ "สุสิรํ"


โหม่ง
คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า "เสียงหมุ่ง" เทียบได้กับ"ฆตํ"


ฉิ่ง
เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ


แตระ
หรือ แกระ คือ กรับ มีทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่งหรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวงหรือใช้ไม้เรียวไม้หรือลวดเหล็กหลายๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกันก็เรียกว่า แตระ มีลีลาการขับร้องและรับบทกลอนอย่างหนึ่งเรียกว่า "เพลงหน้าแตระ" (ใช้แต่เฉพาะแตระไม่ใช้ดนตรีชิ้นอื่นประกอบ)

โรงแสดง

โรงโนราเดิมทีปลูกแบบไม่ยกพื้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นยกพื้นสูง โรงแสดงในงานบันเทิงทั่วๆ ไป แตกต่างกับโรงแสดงพิธีกรรมเล็กน้อย



เครื่องแต่งกายโนรา

หน้าแรก


ท่ารำ