ประวิง หนูเกื้อ เป็นนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เกิดวันพุธ เดือน 8 ปีมะแม พ.ศ.2462 เป็นบุตรนายแดง นางช่วย เกิดที่บ้านดอนออก หมู่ที่ 5 ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้อง 4 คน ประวิงเป็นคนสุดท้องและเป็นชายคนเดียว ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด อายุ 6 ปี เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบางตะพาน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพังไกร เรียนอยู่ 6 ปี ได้ชั้น ป.2 ก็ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงาน ครั้นอายุ 16 ปี เที่ยวเป็นลูกคู่ตีเครื่องให้หนังปานบอดบ้างและหนังหญิงยกหลับบ้าง ซึ่งเป็นมูลเหตุ ให้รักชอบการเล่นหนังตะลุง และได้ฝึกหัดจนเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

         กล่าวได้ว่าประวิงเกิดในตระกูลของศิลปิน คือหนังปานบอดซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบรมครูหนัง คนหนึ่งมีฐานะเป็นลุง (ปู่ของประวิงเป็นน้องของหนังปานบอด) เรือนของหนังปานบอดกับเรือนนายแดงบิดาของประวิงก็อยู่ติดกัน ซ้ำนายแดงเองยังเป็นคนชักรูป (พากย์รูป) สีแก้วให้หนังปานบอดด้วย (สมัยก่อนหนังคณะหนึ่งมีผู้เล่น 2 - 3 คน) ประวิงจึงได้คลุกคลีกับหนังตะลุงมาแต่เด็กๆ แต่ใจเพิ่งจะรักชอบเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว มูลเหตุที่ได้หัดหนังเนื่องจากนายแสงซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับประวิงคิดจะหัดหนัง จึงปลูกขนำเล็กๆ ขึ้น หัดเล่น ให้ประวิงไปคัดลอกบทกลอนและเรื่องจากหนังปานบอดมาให้ เมื่อนายแสงหัด ประวิงก็ลองเล่นดูบ้าง ครั้นหนังปาดบอดเห็นหน่วยก้านของทั้ง 2 คน จึงบอกนายแสงว่าไม่ต้องหัดเพราะไม่มีแวว ให้ประวิงหัด ่พอประวิงจะหัดจริงๆ หนังปาดบอดก็ว่า "อย่าหัดเลย หนังตะลุง มีประโยชน์ค่าไม้กลอง" ของมาหลายปี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงคือประโยชน์น้อย เอาดียาก เป็นหนังดีแล้วจะรักษาชื่อเสียงให้ยืนนานก็ยาก ทั้งยังขัดญาติมิตรเพื่อนฝูงไม่ได้ เมื่อเขาต้องการ ครั้นประวิงว่า ถ้าหนังปานบอด ไม่หัดให้จะไปหัดกับหนังขับ ดีหลวง ปานบอดจึงต้องตกลงใจให้หัดให้ โดยให้เรียนและเล่นอยู่บนบ้านราว 6 เดือน ครั้นประวิงอายุได้ 20 ปี หนังปานบอดก็ให้ปลูกโรงทำพิธีครอบมือยื่นรูปให้และประวิงลองเล่นบนโรงหนังจริงๆ เป็นคืนแรก ปรากฏว่าคืน นั้นกลัวเครื่อง กลัวจอ กลัวคน จนเล่นไม่ได้ ว่ากลอนก็ไม่ลงจังหวะ พอดีกับที่บ้านบางปอซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก นายเขียวคนชักรูปตลกให้หนังปานบอดอีกคนหนึ่งปลูกโรงให้ลูกชายชื่อนายร่วม ให้หัดหนังประวิงจึงไปหัดเล่นกับนายร่วม แต่กลางวันกลับมาฝึกฝนกับหนังปาน โดยหัดว่าให้ลงจังหวะฉิ่ง ประวิงหัด อยู่เช่นนี้ระยะหนึ่ง เห็นจะราว 3 - 4 เดือน โดยประมาณ จากนั้นเมื่อหนังปานบอดไปเล่นที่ไหนประวิงจะไปเป็นลูกคู่ ก่อนหนังปานบอดจะบอกเรื่อง จะให้ประวิงชักฤาษี พระอิศวรและรูปกาศ เที่ยวเล่นอยู่เช่นนี้ราว 1 ปี หนังปานบอดก็ให้เล่นเรื่องและสามารถออกโรงเล่นเดี่ยว ๆ ได้ พอดีอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดบางตะพาน ขณะบวชก็แอบขับบทหนังตะลุงอยู่เสมอๆ จนถูกเจ้าอาวาสตักเตือนหลายครั้ง บวชอยู่พรรษาเศษๆ พอพ้นหน้ากฐินก็ลาสิกขาออกไปเล่นหนังคู่กับหนังปานบอด แต่ระยะแรกนี้รับบทไม่หนัก เช่น ฤาษี เจ้าเมืองและรูปเบ็ดเตล็ดต่างๆ อย่างไรก็ตามประวิงหวังจะเอาดีทางหนังตะลุงให้ได้จึงตั้งปณิธานว่า ถ้าตนยังไม่ มีชื่อเสียงจะยังไม่แต่งงาน จึง ครองโสดตอนหนึ่งว่าสงคราม หนังตะลุงซบเซามากเพราะทางราชหารห้ามตามไฟในยามค่ำคืน ด้วยเกรงว่าจะเป็นเป้าในการทิ้งระเบิดข้าศึกจึงเป็นเหตุให้ประวิงต้องหาคู่ครอง ในที่สุดเมื่อประวิงอายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานกับนางสาวเรียง บุตรสาวผู้ใหญ่ร่วง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลหัวไทร เสร็จสงคราม ประวิงยังเล่นหนังคู่กับหนังปานบอดต่อไปอีก แต่ช่วงนี้หนังปานบอดเล่นเป็นเพียงบทบาทประกอบเท่านั้นเพราะอายุมากแล้ว ชื่อคณะหนังที่เล่นคู่กันก็ยกเอาประวิงขึ้นเป็นหลัก โดยใช้ชื่อว่า "คณะ ป.ชีช้าง" ป. คือประวิง ส่วนชีช้าง เป็นนามสกุลของหนังปานบอดประวิงแสดงคู่กับหนังปานบอดจนอายุได้ 29 ปี (หนังปานบอดอายุ 60 ปี) ก็แยกมาตั้งคณะขึ้นต่างหากเที่ยวเล่นอยู่จนอายุ 55 ปี จึงหยุดการแสดง เพราะเป็นโรคปอด ต้องเข้าพยาบาลรักษา รวมเวลาเล่นหนังประมาณ 30 ปี

         ประวิงได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการเล่นหนังตะลุงชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะเที่ยวเล่นหนังไปทั่วจบทั้งภาคใต้ตลอดถึงมาเลเซีย และบางจังหวัดในภาคกลาง เรื่องนี้ประวิงเขียนไว้ในหนังสือ "ชุมนุมกลบทแปลง"

         ในด้านการประชันขันแข่ง ประวิงแข่งกับหนังดีในสมัยเดียวกันเกือบทุกคณะ เช่น แข่งกับหนังแคล้ว เสียงทอง จังหวัดพัทลุงราว 50 ครั้ง หนังจันทร์แก้วไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง หนังกั้นเกือบ 20 ครั้ง หนังจู่เลี่ยมและหนังเชย เชี่ยวชาญ เป็นต้น โดยเฉพาะการแข่งขันกับหนังจันทร์แก้ว ประวิงภูมิใจมากเพราะหนังจันทร์แก้วได้รับยกย่องจากหนังรุ่นหลังว่าเป็นบรมครูหนังคนหนึ่ง แต่ประวิงไม่ชอบวิธีการแสดง เนื่องจากเห็นว่าหนักไปทางหยาบโลน ดังกลอนเพลงบอกที่ประวิงกล่าวถึงหนังจันทร์แก้วไว้ตอนหนึ่งว่า

          " หนังจันทร์แก้วบรมครู

ชาวบ้านเขาดูพาโกรธเคือง
เพราะแกหลก (ตลก)อ้ายเมืองตัวคาด อุบาทว์เสียเกินหนัง"

         สิ่งที่ทำให้ประวิงภูมิใจในการประชันกับหนังจันทร์แก้ว คือสามารถเอาชนะได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามประวิงให้ความเห็นว่าที่เอาชนะได้อาจเป็นเพราะประวิงแข่งกับหนังจันทร์แก้วในช่วงทีประวิงกำลังโด่งดังและจันทร์แก้วกำลังตกเพราะล่วงเข้าวัยชรา

         ในการเล่นหนังในช่วงต้นๆ ประวิงได้หลักหรือแบบอย่างส่วนใหญ่จากหนังปานบอด แม้แต่เรื่องและกลอนก็ใช้ของหนังปานบอดไม่น้อย แต่หลังจากมีประสบการณ์มากขึ้นได้ดูหนังอื่นๆ และได้วิสาสะกับหนังดีๆ รุ่นก่อนมากขึ้น ก็ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น ได้ความคิดจากหนังขับหลวงว่า"หนังดีต้องไม่ทิ้งอาจารย์" อาจารย์คือตำรับตำราต่างๆ นั่นคือ ต้องหาความรู้อยู่เสมอได้ความคิดจากหนังหิ้นเฒ่าว่า "หนังดีได้ต้องไม่ทิ้ง 4 อย่าง คือเมื่อโศกต้องโศกจริง เมื่อรักต้องรักจริง เมื่อโกรธต้องโกรธจริง และต้องให้คนดูสบายใจ"   นั่นคือต้องเล่นให้ถึงอารมณ์จะข้ามหรือตัดบท เสียมิได้ ข้อคิดเหล่านี้ประวิงได้นำมาเป็นแนวทางและฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อไปดูหนังอื่นๆ เห็นอะไรดีก็เอามาใช้ เช่น เรื่องหรือนิยาย ของหนังอื่นก็เอามาเล่นหรือดัดแปลงเล่นหลายเรื่อง เช่น เอาเรื่องอัมมรน้อย สร้อยสุทิน มาจากหนังหิ้น เป็นอาทินอก จากนี้ในด้านกาพย์กลอน ก็ได้อาศัยนักเลงกลอนฝีปากดีๆ ช่วยแต่งให้บ้าง คือ นายพร้อม บ้านราม อำเภอหัวไทรและอาศัยจากการอ่านตำรากลอน โดยเฉพาะที่หนังตะลุงถือเอาเป็นเสมือนคัมภีร์ทางกาพย์กลอน คือ "ยศกิต" (กลบทสิริวิบุลกิติ ของหลวงศรีปรีชา - เซ่ง) ประวิงศึกษาหนังสือเล่มนี้จนแตกฉาน สามารถแต่งกลอนกลบทได้เกือบทุกชนิด และที่พิเศษคือ สามารถเอากลบทของเดิมต่างชนิดกันมาแต่งประสมเป็นกลบทชนิดใหม่ มีงูกลืนกบเต้น จักวาลครอบกบเต้น กบเต้นพันหลักวัว เป็นต้น ดังปรากฏในหนังสือรวมกลอนของประวิง "ชุมชุมกลบทบทแปลง"

         ฝีปากเชิงกาพย์กลอนของประวิงเป็นที่เล่าลือกันในหมู่นายหนังตะลุงว่ามีความคมคาย กระชับ และได้อารมณ์ยิ่งประวิงจะไม่ว่ากลอนประเภทที่เพียงให้พอมีสัมผัสหรือพอลงกลอน แต่กลอนต้องมีจังหวะจะโคนเหมาะกับบทบาทของเรื่องและตัวละคร การจะว่ากลอนให้คมคาย ประวิงเห็นว่าจะต้องแต่ง ต้องเรียน การด้นกลอนสด แม้จะว่าได้ดีแต่ไม่เด็ด ประวิงจึงนิยมแต่งกลอนหลักๆ ไว้ก่อนเป็นส่วนใหญ่ เป็นกลอนที่สามารถเอาไปใช้ในการแสดงเรื่องใดๆ ก็ได้ กลอนแบบนี้ประวิงเรียกว่า "บทกลาง" ดังตัวอย่างบทยักษ์จับสัตว์ ซึ่งใช้ทำนองกลอนสี่ประสมกับกลอนลอดโหม่ง
        ชมเพลินเดินตัด มารลัดลอดเลียบ กวางหลบหบเหียบ ดีดติ้งวิ่งผ่าน
สิงห์โตกระต่ายเต้น วิ่งเล่นตามกัน โคควายหลายพรรณ ดุนดันดงดอน
ครุบผิดบิดหลุด ผลุดโดนโผนผัน ค่อยไล่ให้ทัน รับดั้นผันผอน
คชสารคชสีห์ ทรพีสุกร เห็นทางกวางนอน รีบจรตามมา
พอเห็นไม้ใหญ่ มารเข้าไปแอบข้าง สัตว์มาท่าทาง วิ่งวางหลักหน้า
ฉวยได้ตีนสัตว์ ฟัดกับโคนพูด เลือดฉาตาฉูด ลากสูดฉีกขา
ใส่โอษฐ์ยักษ์ครุบ ปากตุบหน่วยตา ผ้าร้ายไส้พา ตับปอดทอดกลืน
กระดูกเอ็นเนื้อหนัง กินไม่เหลือไหร จับหัตถ์ซัดใส่ เนื้อหนังทั้งผืน
ไม่อิ่มยักษา เที่ยวเดินหาอื่น จับได้ทอดกลืน มากมายหลากพรรณ
คชสารคชสีห์ หมูหมีหมาเม่น มันยิกไล่ผายผัน
แดดร้อนเหงื่อไหล ไล่ไปเหนื่อยครัน มารไล่ให้ทัน ได้กินมันหรอยมาร
หนึ่งแรดสองช้าง สามกวางสีวัว สมเด็จเจ็ดตัว อิ่มหนำสำราญฯ

         ด้วยความสามารถในเชิงกลอนเช่นนี้ ประวิงจึงอยู่ในฐานะที่หนังตะลุงรุ่นหลังๆ มาขอให้แต่งกลอนให้เป็นจำนวนมาก หนังดีๆ ที่นำกลอนของประวิงไปใช้เล่น เช่น หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์ (หนังอรรถโฆษิต) หนังนครินทร์ ชาทอง หนังละมุล และหนังเอื้อม บ้านควนเนียง เป็นต้น

         ประวิงยังสามารถว่าเพลงบอกได้คมคาย แต่ว่าช้าไม่ทันใจส่วนใหญ่จึงแต่งให้เพลงบอกเผียน เพชรคงทอง บ้านเขาพังไกร อำเภอหัวไทร เป็นคนว่า บทที่ประวิงแต่งมักมีลักษณะพิเศษไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อย่างเช่น บทที่ขึ้นต้นด้วย "หนัง" ลงด้วย "หนัง" ซึ่งลักษณะแบบนี้เพลงบอกสมัยโบราณนิยมลองภูมิปัญญากัน ประวิงก็แต่งไว้น่าฟัง และที่สำคัญสะท้อนให้เห็นนิสัยใจคอของประวิงเอง ว่าเป็นคนโผงผาง ตรงไปตรงมา รู้จักสังเกตและละเอียดรอบคอบ

         ประวิงได้ถ่ายทอดฝึกหัดลูกศิษย์ไว้หลายคน ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วไปคือ หนังประทุม เสียงชาย ที่จัดว่าพอมีชื่อ ได้แก่ หนังลำยอง และหนังครูเศวต นอกนั้นพอแสดงได้

         ชีวิตการเป็นศิลปินของประวิงประสบความสำเร็จตามสมควร ได้รับการยอมรับนับถือจากรุ่นหลังจำนวนไม่น้อย ส่วนชีวิตครอบครัวก็ราบรื่น มีนางหนูเรียงเป็นภรรยาเพียงคนเดียว มีบุตร 3 คน ได้ รับการศึกษาอย่างดี คนโตชื่อนุวงศ์ จบ วท.บ. คนรองชื่อนงเยาว์ จบ กศ.ม. คนสุดท้องชื่อนิวัฒน์ จบ กศ.บ. ในบั้นปลายของชีวิตหนังประวิง หนูเกื้อ อยู่กับภรรยาคู่ชีวิต ทำงานอดิเรก คือทำสวนและเลี้ยงปลาเล็กๆ น้อยๆ ตามกำลัง นอกจากนั้นก็ยังได้แต่งกาพย์กลอนให้แก่หนังตะลุงรุ่นหลังๆ จนถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2536 สิริรวมอายุได้ 74 ปี
ประทุม  โสมจันทร์
ประทุม โสมจันทร์
 ปรีชา  ลุยจันทร์
ปรีชา ลุยจันทร์