1.  ศึกษาเส้นทางที่จะขี่ล่วงหน้า เพื่อรับรู้ข้อมูลพื้นฐานว่าเส้นทางที่จะไปนั้นมีสภาพเช่นไร
2.  เตรียมร่างกายให้พร้อม ถ้ารู้สึกว่าเริ่มจะไม่สบายต้องงดโปรแกรมขี่ อย่าพยายามฝืน
3.  เตรียมอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่ม สายล็อกจักรยาน ยางใน พร้อมสูบลม พร้อมเป้ใบเล็กเพื่อใช้เก็บของใช้ส่วนตัว เครื่องมือปฐมพยาบาลชุดเล็ก เสื้อกันฝน รองเท้าที่ใช้ในการปั่นจักรยาน ควรจะเป็นรองเท้าหุ้มส้นพื้นแข็ง เพื่อเวลาขี่จะได้ไม่เจ็บเท้า เป็นต้น
4.  ถ้าเป็นเส้นทาง ต้องเตรียมอาหารกลางวันไปด้วย และควรมีอาหารว่างที่ให้พลังงานสูง
5.  เสื้อผ้าที่สวมใส่ ควรเป็นผ้าที่แห้งไว ระบายความร้อนได้ดี ส่วนกางเกงเลือกที่สวมใส่สบาย ไม่รุ่มร่าม ถ้าเป็นกางเกงจักรยานจะดีที่สุด เพราะมีที่รองก้นกันกระแทก
         6. ปรับความสูงของอานให้เหมาะสมกับตนเอง หลักการคือเมื่อนั่งคร่อมอานแล้ว จะต้องยืนด้วยปลายเท้าทั้งสองข้างถึงพื้น ถ้ายืนเต็มเท้าในขณะที่นั่งคร่อมอาน แสดงว่าปรับอานต่ำเกินไป เวลาขี่ไปนาน ๆ จะรู้สึกเมื่อยล้า
         7. ตั้งเครื่องวัดระยะทางที่ตัวเลข 00 ณ จุดที่เริ่มจับระยะทาง

         จักรยานเสือภูเขาเป็นจักรยานที่มีเกียร์ให้เลือกใช้งานตามสภาพเส้นทาง ก่อนขี่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานเกียร์และส่วนประกอบของเกียร์
         - บนแฮนด์ด้านซ้ายมือ มีคันเปลี่ยนเกียร์ที่ใช้ควบคุมชุดจานที่อยู่ตรงก้านบันได้ถีบ โดยจานจะมีอยู่ 3 จาน บนคันเปลี่ยนเกียร์จะมีหมายเลข 1, 2, 3 หมายเลข 1 คือจานเล็กสุด หมายเลข 2 คือจานกลาง และหมายเลข 3 คือจานใหญ่สุด ถ้าต้องการเปลี่ยนจาน 1 ไปจาน 2 ให้กดนิ้วโป้งลงในขณะปั่นจักรยาน ถ้าต้องการกลับมาที่จาน 1 ให้ใช้นิ้วชี้ดึงที่เปลี่ยนเกียร์เข้าหาตัว จาน 2 จะเลื่อนลงไปที่จาน 1
         - บนแฮนด์ด้านขวามือ มีคันเปลี่ยนเกียร์ที่ใช้ควบคุมชุดเฟืองหลัง คันเปลี่ยนเกียร์ด้านขวามือจะมีหมายเลข 1- 8 แทนเฟืองเล็กสุด ตามลำดับ ถ้าต้องการเปลี่ยนเกียร์จาก 1 ไป 2 ให้ใช้นิ้วโป้งขวากดลงบนคันกด พร้อมกับปั่นจักรยานไปด้วย ในกรณีต้องการเปลี่ยนกลับจาก 2 ไป 1 ให้ใช้นิ้วชี้ดึงคันบังคับเข้าหาตัวเฟืองท้ายจะกลับมาอยู่ที่เฟือง 1
         ในการใช้เกียร์ถ้าเป็นทางราบให้ใช้จานหน้าที่หมายเลข 2 แล้วใช้เฟืองท้ายหมายเลขที่ 1, 2, 3 ,4, 5 ถ้าเป็นการขึ้นเขาชันจานหน้าจะต้องใช้หมายเลข 1 ส่วนเฟืองท้ายใช้หมายเลข 6, 7 หรือ 8 ตามระดับความชัน

         ที่แฮนด์จักรยานด้านซ้ายจะมีมือเบรกใช้หยุดล้อหน้า ส่วนมือเบรกด้านขวาด้านขวาจะใช้หยุดล้อหลัง การเบรกไม่ว่าจะเป็นทั้งลงเขา หรือทางราบปกติจะต้องบีบมือเบรกทางด้านขวามือเพื่อหยุดล้อหลังก่อน โดยค่อย ๆ บีบมือเบรกด้านซ้ายมือ รถจะหยุดอย่างนิ่มนวล ในกรณีที่ตกใจแล้วบีบมือเบรกด้านใดด้านหนึ่งอย่างรุนแรงจะทำให้รถปัดพลิกคว่ำได้

         1. ก่อนลงเขาจะต้องเบรก โดยค่อย ๆ บีบมือเบรกด้านขวา รถจะไหลลงเขาอย่างช้า ๆ จากนั่นบีบมือเบรกด้านซ้ายอย่าให้ล้อหยุดหมุน ไม่เช่นนั้นรถอาจพลิกคว่ำได้
         2. เมื่อทำการเบรกทั้งสองล้อแล้ว ให้ยกก้นขึ้นมาจากอานเอนตัวไปด้านหลังโดยให้หน้าขาด้านในหนีบอานเพื่อกันรถเสียหลัก พร้อมกับค่อย ๆ บีบเบรกไปตลอดจนกว่าจะสุดทางลงเขา
         3. ถ้าเห็นว่าเส้นทางชันหรือยากเกินความสามารถ ให้หยุดรถก่อนลงเขาแล้วจูงรถจะปลอดภัยที่สุด

         1. ตรวจดูลมยาง ไม่ควรสูบจนแข็งมาก เพราะจะทำให้หน้ายางไม่เกาะพื้น เกิดอาการลื่นไถลได้ง่าย
         2. ปรับอานลงจากเดิมราวครึ่งนิ้วเพื่อให้ผู้ปั่นสามาขึ้นลงรถได้สะดวก เกิดความคล่องตัว เพราะบนทางออฟโรดที่มีก้อนหินและรากไม้มาก ผู้ปั่นจะต้องลงจากรถบ่อย
         3. เมื่อเจอทางเดินป่า เกียร์ที่ใช้ควรจะเป็นจานหน้าใช้เบอร์ 1 เฟืองท้ายใช้เบอร์ 6, 7, 8 การใช้เกียร์ลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้ขี่กระโดด หรือยกหน้ารถเพื่อข้ามรากไม้หรือหลบก้อนหินได้สะดวก บนทางแบบนี้จะไม่เน้นความเร็ว


Back