![]() |
![]() |
![]() |
ระยะทางไป - กลับประมาณ 13 กิโลเมตร |
![]() |
สภาพเส้นทาง ลาดยาง 80% ทางลูกรังอัดแน่น 20% |
![]() |
เส้นทางสายนี้เหมาะกับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นปั่นจักรยานเสือภูเขา |
![]() |
จากถนนพัฒนาการเลี้ยวขวาตรงปากทางเข้าหมู่บ้านพัฒนาการแล้วปั่นไปจนสุดทางตรงไปยังที่หมายต่อไปคือ มูลนิธิซำปอกง (หลวงพ่อโต) ทุ่งสง และเจ้าแม่กวนอิม ที่แห่งนี้ประดิษฐานหลวงพ่อโต โดยจำลองมาจากวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา ชาวจีนนิยมเรียกพระองค์นี้อีชี่อหนึ่งว่า "พระซำปอกง" คำว่า "ซำ" แปลว่า สาม "ปอ" แปลว่า แก้วหรือรัตนะ "กง" แปลว่า เจ้าหรือ ผู้ใหญ่ รวมแล้วหมายความว่าพระรัตนตรัย ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ. 2492 ชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอทุ่งสงได้อันเชิญกระถางธูปของหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา มาตั้ง ณ ศาลเจ้าไม้หลังเล็ก ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2514 ได้มีการก่อสร้างวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งสร้างองค์หลวงพ่อโตเพื่อเป็นพระประธานในวิหาร |
![]() ส่วนรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมข้างวิหารนั้นสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสมหามงคลปีกาญจนาภิเษกฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี องค์เจ้าแม่กวนอิมสูง 19 เมตร นับว่าเป็นรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมที่สูงที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สองข้างเจ้าแม่กวนอิมเป็นรูปปั้นกุมารี "หลงนี่" สาวกเบื้องขวา และกุมาร"ชั่งไฉกงจือ" สาวกเบื้องซ้าย หรือที่นิยมเรียกกันว่า เง็กนึ่งและกิมท้ง สองสาวกนี้เป็นผู้รับใช้ช่วยเหลือภารกิจของเจ้าแม่กวนอิมในการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ สถานที่แห่งนี้นับเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนในทุ่งสงและอำเภอใกล้เคียง |
จากนั้นขี่ตรงไปที่ทางหลวงหมายเลข 403 แล้วเลี้ยวซ้ามุ่งหน้าเข้าเมืองทุ่งสง แวะที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา หรือชาวทุ่งสงเรียกว่า สวนหลวง ร.9 พื้นที่บริเวณนี้เปรียบเสมือนประตูเมืองทุ่งสง เพราะเป็นบริเวณที่ถนนสายสำคัญ ๆ ตัดผ่านรอบด้านรวมทั้งทางรถไฟด้วย เรียกว่าเป็นชุมทางได้อย่างแท้จริง ตรงกึ่งกลางสวนหลวง ร.9 เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านที่ทรงเลือกผืนดินแห่งนี้ตั้งเป็นอำเภอทุ่งสง และสถานีชุมทางรถไฟ |
![]() |
จากด้านหน้าสวนหลวง ร.9 เลี้ยวซ้ายขี่เลียบสวนหลวง ร.9 ราว 300 เมตร แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้งผ่านโรงเรียนสตรีทุ่งสง ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย เมื่อถึงสี่แยกชัยชุมพล ให้เลี้ยวซ้ายอีกครั้งผ่านหน้าโรงพยาบาลทุ่งสง เข้าสู่ถนนราชบริพาร ผ่านวงเวียนเล็ก ๆ ก็จะถึงถ้ำตลอด รวมระยะทางจากสวนพฤกษาสิรินธรประมาณ 8.4 กิโลเมตร |
![]() เมื่อถึงหน้าถ้ำตลอดซึ่งอยู้บริเวณตีนเขาวัดโคกหม้อ (เขาชัยชุมพล) ให้จอดรถจักรยานไว้ตรงบริเวณลานจอดรถทำการล็อกรถจักรยานให้เรียบร้อย บริเวณด้านหน้าถ้ำจะมีรูปปั้นเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เคารพศรัทธา เช่น พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดธาตุน้อย หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ หลวงปู่เขียว วัดหรงบน เป็นต้น ประดิษฐานอยู่ทั่วบริเวณ บริเวณปากถ้ำมีรูปสิงโต แกะสลักจากหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตรงกลาง ตัวถ้ำตลอด เป็นถ้ำที่มีทางเดินทุลุไปอีกฝั่งหนึ่งได้ ภายในถ้ำมีพระไสยาสน์หรือพระนอน ความยาว 11 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศใต้ตามความยาวของถ้ำ และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่อีกหลายองค์ ส่วนที่ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ฝีมือของอาจารย์แนบ ทิชินพงค์ เป็นภาพเขียนที่สวยงามมากทีเดียว |
นอกจากการชมถ้ำแล้ว บนเขาเหนือถ้ำนี้ยังมีจุดชมทิวทัศน์ของเมืองทุ่งสง โดยทางขึ้นไปบนเขาจะอยู่ตรงสวนสาธารณะติดกำตัวถ้ำใช้เวลาเดินประมาณ 15 - 20 นาที ก็จะถึงศาลาซึ่งเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นเมืองทุ่งสงแต่เป็นมุมที่ไม่เปิดกว้างนัก เนื่องจากมีต้นไม่ใหญ่ขึ้นบดบังทัศนียภาพด้านหน้า |
เส้นทางขากลับใช้ถนนราชบริพาร เมื่อถึงทางแยกหน้าโรงพยาบาลทุ่งสงให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปทางถนน เลียบรั้ววัดชัยชุมพล เลาะด้านข้างเขาวัดโคกหม้อ แล้วข้ามทางรถไฟ จากนั้นขี่ตรงไปลอดใต้สะพานข้ามทางรถไฟถนนช่วงนี้เป็นดินลูกรังผสมหินเกล็ดอักแน่น เส้นทางราบรื่นไม่มีขึ้นเขา สองข้างทางเป็นสวนยางพาราและสวนผลไม้บรรยากาศร่มรื่นมาก ระหว่าทางอาจจะได้เห็นกิจกรรมของชาวสวนยาง เช่น การรีดแผ่นยาง การรับส่งน้ำยางดิบ เป็นต้น ชาวเสือภูเขาสามารถแวะพูดคุยหาความรู้ได้ จากนี้ให้ขี่ตรงไปเรื่อย ๆ เส้นทางจะกลับสู่สวนพฤกษาสิรินธร ระยะทางขากลับประมาณ 4.2 กิโลเมตร |
ข้อควรระวังในเส้นทางนี้คือ ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเนื่องจากใช้เส้นทางหลวงเป็นหลักมีการจราจรค่อนข้างหนาแน่น ก่อนเลี้ยวจะต้องให้สัญญาณมืออย่างชัดเจนทุกครั้ง และไม่ควรขี่จักรยานซ้อนคัน ควรขี่เป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ไม่พยายามแซงกันเองโดยไม่จำเป็น |
Back |