ปั่นรถถีบ เที่ยวหนานปลิว  “หนุกจังหู้”

ก๊วนรถถีบเสือภูเขามีทั้งชาวใต้และชาวภาคกลาง

“กู้ดมุ้งมิ้ง ว้าพรื้อ นั่งรถแข็ดไหม”
เสียงทักทายรัวเร็วจากไกด์ชาวใต้เล่นเอา “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ที่กำลังงัวเงียจาก
การเดินทางกรุงเทพฯ-ทุ่งสง ตั้งตัวไม่ติด ได้แต่ยิ้มแห้ง ๆ แถมทำเสียงแหะ...แหะ...
ลอดออกจากไรฟัน

 

 

 

“เขาพูดว่าสวัสดีตอนเย็น สบายดีไหม นั่งรถ
เมื่อยหรือเปล่า”
อีกเสียงหนึ่งพูดขึ้น “ผู้จัดการท่องเที่ยว”
 เลยถึงบางอ้อกับภาษาใต้บทเรียนแรกของทริปนี้...ที่ว่า
บทเรียนแรก เพราะอีกตลอด 4 วันที่เหลือ ไกด์หนุ่ม
อารมณ์ดีเล่นแหลงใต้ด้วยตลอด เป็นเหตุให้การเดินทาง
ครั้งนี้มีสภาพคล้าย ๆ กับดูหนังเสียงในฟิล์มไปเสีย

ทริปนี้เริ่มต้นที่ สวนพฤกษาสิริธร ริมถนนสาย
เอเชีย ซึ่งแต่เดิมคือสวนสาธารณะบ้านในหวัง นักท่อง
เที่ยวสามารถแวะพักค้างคืนที่นี่ได้ มีบริการทั้งแบบเรือน
พักและแบบแค้มปิ้ง ที่สำคัญที่นี่ยังมีจักรยานเสือภูเขา
ใหม่เอี่ยมอ่อง 24 เกียร์ ให้เช่าปั่นสำรวจเมืองทุ่งสง

อีกด้วย ซึ่งเจ้ารถถีบ 2 ล้อนี่เองที่จะเป็นพาหนะคู่ชีพพาเราบุกป่าฝ่าดงประจำทริปนี้

แวะสักการะเจ้าแม่กวนอิม

องค์ใหญ่ที่สุดในไทย

 

เส้นทางปั่นจักรยานเที่ยวเมืองทุ่งสงมีให้เลือก
ทั้งหมด 5 เส้นทาง แต่ละเส้นทางมีความยากง่าย
แตกต่างกันไป ก่อนเลือกจึงควรศึกษาให้ดีเสียก่อน
และต้องคำนึงถึงฝีมือของเราด้วย ไม่งั้นปั่นไปปั่นมา
จากเสือภูเขาจะกลายเป็นเสือภูเข็นหมดสนุกกันพอดี
สำหรับ “ผู้จัดการท่องเที่ยว” เป็นพวกรักพี่เสียดายน้อง
ทางนู้นก็อยากไป ทางนี้ก็อยากไป สุดท้ายคุณไกด์ใจดี
เลยจับทั้ง 5 เส้นทางมารวมมิตรเสิร์ฟคนหลายใจให้ปั่น
เสียให้หลาบ (เข็ด)

หลังจากทำความเข้าใจกับระบบต่าง ๆ ของเจ้าจักรยานเสือภูเขาเรียบร้อยแล้วก็ได้ฤกษ์ออกเดินทาง

ปากถ้ำสูงใหญ่ภายในวัดสำโรง

เสียทีเพื่อเป็นการ warm up คุณไกด์จึงพา City tourก่อน เพราะทางช่วงนี้ส่วนใหญ่
เป็นทางลาดยาง เหมะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยจุดแรกที่แวะ คือ
มูลนิธิซำปอกง
ซึ่งมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมที่สูงที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่ สักการะเจ้าแม่
กวนอิมเอาฤกษ์เอาชัยแล้วก๊วนรถถีบก็มุ่งหน้าสู่ วัดสำโรง

 

 

บางช่วงต้องปั่นผ่านสวนยาง

วัดสำโรง เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาเมื่อใด ภายในบริเวณวัด
มีถ้ำให้ปีนเล่นพอเรียกเหงื่อได้ จากปากถ้ำซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์มุมกว้างของ
เมืองทุ่งสง ไกด์ชาวใต้ส่งภาษารัวเร็วพร้อมชี้นิ้วไปทางภูเขาที่ตั้งตระหง่านอยู่ไกล ๆ
เบื้องหน้าว่า
“คืนนี้เราจะไปนอนกันที่นั่น”
...ลมเย็นพัดโชยมาต้องหน้าแผ่วเบาราวกับจะปลอบประโลมใจว่า เห็นไกล ๆ แบบนี้ แค่ 20 กว่ากิโลฯ เอง...
หลังจากพักเติมพลังกินข้าวกลางวันที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง แล้ว คณะเสือภูเขาก็เคลื่อนขบวนสู่ หมู่บ้านเหนือคลอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่ตั้งอยู่ ณ ตีนน้ำตกหนาวปลิว จุดหมายปลายทางที่เราจะไปพิชิตในวันพรุ่งนี้

 

 

บางช่วงต้องลุยน้ำ

เส้นทางเข้าหมู่บ้านเหนือคลองเป็นทางแคบสำหรับรถ 2 ล้อเท่านั้น ถ้าไม่ปั่นจักรยาน
ก็ต้องขี่รถเครื่อง (มอเตอร์ไซค์) เข้าไป รถยนต์หมดสิทธิ์ บรรยากาศสองข้างทาง
นอกจากสวนยางพาราแล้วก็มี
“สวนสมรม” เป็นการทำสวนแบบพื้นบ้านของทางใต้
คือจะปลูกไม้ผลหลายชนิดผสมกันหลาย ๆ ชนิด ถ้าดูเผิน ๆ จะแทบแยกไม่ออกเลย
ว่าเป็นสวนหรือเป็นป่ากันแน่ หมู่บ้านเหนือคลองตั้งเป็นหมู่บ้านมานาน 40-50 ปีแล้ว
อาชีพหลักคือสวนยาง แต่ตอนนี้ชาวบ้านกำลังสนใจอยากทำโฮมสเตย์กัน เพราะ
อยากให้นักท่องเที่ยวได้มาเห็นความสวยงามของธรรมชาติที่เร้นตัวอยู่ภายในบ้านป่า
แห่งนี้ ไกด์หนุ่มใต้บอกว่าเราจะค้างคืนที่นี่ก่อน
หัวเบิด (รุ่งเช้า) ของอีกวันค่อยเดิน
ทางสู่
น้ำตกหนานปลิว

 

เส้นทางสู่น้ำตกหนานปลิวยังเป็น
ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก มีต้นไม้
ใหญ่ ๆ มากมาย มีดงเฟิร์นขึ้นอยู่แน่น
ขนัด บางช่วงต้องเดินข้ามลำน้ำที่สูงถึง
สะเอว ก่อนถึงน้ำตกหนานปลิวเราจะเจอ
น้ำตกหนานตากผ้า ก่อน ซึ่งเป็นเป็นลาน
หินลดระดับเป็นทางยาว มีแอ่งน้ำเป็น
จุด ๆ เห็นแล้วอยากจะกระโดดตู้มลงเล่น
น้ำ แต่คุณไกด์บอกว่าหนทางของเรายัง
อีกยาวไกล

ข้ามน้ำลึกถึงสะเอวที่หนานตากผ้า

จากน้ำตกหนานตากผ้าเราเดินฝ่า

ดงต้นไม้บางช่วงไกด์ท้องถิ่นบอกกับเราว่าให้ระวังต้นไม้มีพิษด้วย ถ้าโดนใบมันแล้ว
จะปวด แสบปวดร้อนไปหลายวัน เส้นทางเดินก่อนถึงหนานปลิวจะต้องลัดเลาะ
สายธารบ้าง ปีนป่ายโขดหินบ้าง ทางบางช่วงเสียวไส้จนไกด์ใต้บอกว่า “หัวใจมัน
กุลิ๊ง ๆ” แปลว่า หัวใจหวิว ๆ นั่นเอง สิ่งที่ส่งสัญญาณบอกให้รู้ว่าใกล้จะถึงที่หมาย
เข้าไปทุก ๆ ที คือ เสียงน้ำตกที่ดังซู่ ๆ และต้นมหาสดำที่ยืนตระหง่านอยู่เป็นกลุ่ม

คำว่า “หนาน” ภาษาใต้หมายถึง ชั้น
หรือ น้ำตก หนานปลิวจึงเป็นชื่อที่เหมาะสมกับ
น้ำตกแห่งนี้ที่สุด ด้วยความสูงราว 70 เมตร
สายน้ำใหญ่ทิ้งตัวลงจากหน้าผาหินสีดำสู่เบื้อง
ล่าง จนละอองน้ำปลิวฟุ้งไปหมด แทบจะควัก
กล้องขึ้นมาถ่ายรูปไม่ได้ เสียดายที่ไม่มีแอ่งน้ำ
ให้ลงเป็นแหวกว่ายเล่น................................
มุ้งมิ้ง
(โพล้เพล้) แล้ว “ผู้จัดการท่องเที่ยว”
เดินทางออกจากทุ่งสงมุ่งหน้าสู่เส้นทางเดิมที่
จากมา หากไม่ได้มาเห็น ไม่ได้มาสัมผัส คงไม่
ได้รู้ว่า
“ทุ่งสง” ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแค่เมืองผ่าน
เป็นแค่ชุมทางของการเดินทาง จะมีสิ่งที่น่าตื่น
ตาตื่นใจและน่าสนใจถึงเพียงนี้ อีกทั้งยังได้พบ
สัจธรรมข้อหนึ่งว่า “เพื่อนร่วมทาง” เป็นสิ่ง
สำคัญอย่างยิ่งที่อาจทำให้สถานที่ธรรมดา ๆ

กลายเป็น “ความพิเศษ” และน่าย้อนระลึกถึงทุก
ครั้งเมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป

หนานปลิว

ความงามที่ซ่อนตัวอยู่กลางบ้านป่า

 

 

จากนสพ. ผู้จัดการรายวัน   ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.. 2546

 

 

Back