|
|||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร |
|||
อัญขยมบรมเรศร์เรื้อง |
รามวงศ์ | ||
พระผ่านแผ่นไผททรง | สืบไท้ | ||
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ | โอวาท | ||
หวังประชาชนให้ | อ่านแจ้งคำโคลง | ||
ครรโลงโลกนิตินี้ |
นมนาน | ||
มีแต่โบราณกาล | เก่าพร้อง | ||
เป็นสุภาษิตสาร | สอนจิต | ||
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง | เวี่ยไว้ในกรรณฯ | ||
๑.ปลาร้าพันห่อด้วย |
ใบคา | ||
ใบก็เหม็นคาวปลา | คละคลุ้ง | ||
คือคนหมู่ไปหา | คบเพื่อน พาลนา | ||
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง | เฟื่องให้เสียพงศ์ฯ | ||
๒.ใบพ้อพันห่อหุ้ม |
กฤษณา | ||
หอมระรวยรสพา | เพริศด้วย | ||
คือคนเสพเสน่หา | นักปราชญ์ | ||
ความสุขซาบฤาม้วย | ดุจไม้กลื่นหอมฯ | ||
๓.ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ |
มีพรรณ | ||
ภายนอกแดงดูฉัน | ชาดบ้าย | ||
ภายในย่อมแมลงวัน | หนอนบ่อน | ||
ดุจดั่งคนใจร้าย | นอกนั้นดูงามฯ | ||
๔.ขนุนสุกสล้างแห่ง |
สาขา | ||
ภายนอกเห็นหนามหน่า | หนั่นแท้ | ||
ภายในย่อมรสา | เอมโอช | ||
สาธุชนนั้นแล้ | เลิศด้วยดวงใจฯ | ||
๕.ยางขาวขนเรียบร้อย |
ดูดี | ||
ภายนอกหมดใสสี | เปรียบฝ้าย | ||
กินสัตว์เสพปลามี | ชีวิต | ||
เฉกเช่นชนชาติร้าย | นอกนั้นนวลงามฯ | ||
๖.รูปแร้งดูร่างร้าย |
รุงรัง | ||
ภายนอกเพียงพึงชัง | ชั่วช้า | ||
เสพสัตว์ที่มรณัง | นฤโทษ | ||
ดังจิตต์สาธุชนกล้า | กลั่นสร้างทางผลฯ | ||
๗.คนพาลผู้บาปแท้ |
ทุรจิตต์ | ||
ไปสู่หาบัณฑิต | ค่ำเช้า | ||
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ | บ่ซราบ ใจนา | ||
คือจวักตักข้าว | ห่อนรู้รสแกงฯ | ||
๘.ผู้ใดใจฉลาดล้ำ |
ปัญญา | ||
ได้สดับปราชญ์เจรจา | อาจรู้ | ||
ยินคำบัดเดี๋ยวมา | ซับซาบ ใจนา | ||
คือมลิ้นคนผู้ | ทราบรู้รสแกงฯ | ||
๙.หมูเห็นสีหราชท้า |
ชวนรบ | ||
กูสี่ตีนกูพบ | ท่านไซร้ | ||
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ | หลีกจาก กูนา | ||
ท่านสี่ตีนอย่าได้ | วากเว้วางหนีฯ | ||
๑๐.สีหราชร้องว่าโอ้ |
พาลหมู | ||
ทรชาติครั้นเห็นกู | เกลียดใกล้ | ||
ฤามึงใคร่รบดนู | มึงนาศ เองนา | ||
กูเกลียดมึงกูให้ | พ่ายแพ้ภัยตัวฯ | ||
๑๑.กบเกิดในสระใต้ |
บัวบาน | ||
ฤาห่อนรู้รสมาลย์ | หนึ่งน้อย | ||
ภุมราอยู่ไกลสถาน | นับโยชน์ ก็ดี | ||
บินโบกมาค้อยค้อย | เกลือกเคล้าเสาวคนธ์ฯ | ||
๑๒.ใจชนใจชั่วช้า |
โฉงเฉง | ||
ใจจักสอนใจเอง | ไป่ได้ | ||
ใจปราชญ์ดัดตามเพลง | พลันง่าย | ||
ดุจช่างปืนดัดไม้ | แต่งให้ปืนตรงฯ | ||
๑๓.ไม้ค้อมมีลูกน้อม |
นวยงาม | ||
คือสัปปุรุษสอนตาม | ง่ายแท้ | ||
ไม้ผุดั่งคนทราม | สอนยาก | ||
ดัดก็หักแหลกแล้ | ห่อนรื้อโดยตามฯ | ||
๑๔.เป็นคนควรรอบรู้ |
สมาคม | ||
สองประการนิยม | กล่าวไว้ | ||
หนึ่งพาลหนึ่งอุดม | นักปราชญ์ | ||
สองสิ่งนี้จงให้ | เลือกรู้สมาคมฯ | ||
๑๕.คนใดไปเสพด้วย |
คนพาล | ||
จักทุกข์ทนเนานาน | เนิ่นแท้ | ||
ใครเสพท่วยทรงญาณ | เปรมปราชญ์ | ||
เสวยสุขล้ำเลิศแล้ | เพราะได้สดับดีฯ | ||
๑๖.ได้เห็นนักปราชญ์ไซร้ |
เป็นสุข | ||
อยู่ร่วมเรือนหายทุกข์ | ค่ำเช้า | ||
ผู้พาลสั่งสอนปลุก | ใจดั่ง พาลนา | ||
ยลเยี่ยงนกแขกเต้า | ตกต้องมือโจรฯ | ||
๑๗.คบกากาโหดให้ |
เสียพงศ์ | ||
พาตระกูลเหมหงส์ | แหลกด้วย | ||
คบคนชั่วจักปลง | ความชอบ เสียนา | ||
ตราบลูกหลานเหลนม้วย | ไม่ม้วยนินทาฯ | ||
๑๘.มดแดงแมลงป่องไว้ |
พิษหาง | ||
งูจะเข็บพิษวาง | แห่งเขี้ยว | ||
ทรชนทั่วสรรพางค์ | พิษอยู่ | ||
เพราะประพฤติมันเกี้ยว | เกี่ยงร้ายแกมดีฯ | ||
๑๙.นาคีมีพิษเพี้ยง |
สุริโย | ||
เลื้อยบ่ทำเดโช | แช่มช้า | ||
พิษน้อยหยิ่งยะโส | แมลงป่อง | ||
ชูแต่หางเองอ้า | อวดอ้างฤทธีฯ | ||
๒๐.ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น |
นักเรียน | ||
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร | ผ่ายหน้า | ||
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน | วนจิต | ||
กลอุทกในตะกร้า | เปี่ยมล้นฤามีฯ | ||
๒๑.กระออมเพ็ญเพียบน้ำ |
ฤาติง | ||
โอ่งอ่างพร่องชลชิง | เฟื่องหม้อ | ||
ผู้ปราชญ์ห่อนสุงสิง | เยียใหญ่ | ||
ผู้โฉดรู้น้อยก้อ | พลอดพ้นประมาณฯ | ||
๒๒.งาสารฤาห่อนเหี้ยน |
หดคืน | ||
คำกล่าวสาธุชนยืน | อย่างนั้น | ||
ทุรชนกล่าวคำฝืน | คำเล่า | ||
หัวเต่ายาวแล้วสั้น | เล่ห์ลิ้นทรชน | ||
๒๓.ทรชนอย่าเคียดแค้น |
อย่าสนิท | ||
อย่าห่างศัตรูชิด | อย่าใกล้ | ||
คือไฟถ่านแรงฤทธิ์ | ถือถลาก มือนา | ||
แม้ดับแล้วบ่ไหม้ | หม่นต้องมือดำฯ | ||
๒๔.มิตรพาลอย่าคบให้ |
สนิทนัก | ||
พาลใช่มิตรอย่ามัก | กล่าวใกล้ | ||
ครั้นคราวเครียดคุมชัก | เอาโทษ ใส่นา | ||
รู้เหตุสิ่งใดไซร้ | ส่อสิ้นกลางสนามฯ | ||
๒๕.หมาใดตัวร้ายขบ |
บาทา | ||
อย่าขบตอบต่อหมา | อย่าขึ้ง | ||
ทรชนชาติช่วงทา- | รุณโทษ | ||
อย่าโกรธอย่าหน้าบึ้ง | ตอบถ้อยถือความฯ | ||
๒๖.ลูกสะเดาน้ำผึ้งซาบ |
โทรมปน | ||
แล้วปลูกปองรสคนธ์ | แอบอ้อย | ||
ตราบเท่าออกดอกผล | พวงดก | ||
ขมแห่งสะดาน้อย | หนึ่งรู้โรยราฯ | ||
๒๗.พริกเผ็ดใครเผ็ดให้ |
ฉันใด | ||
หนามย่อมแหลมเองใคร | เซี่ยมให้ | ||
จันทน์กฤษณาไฉน | ใครอบ หอมฤา | ||
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ | เพราะด้วยฉลาดเองฯ | ||
๒๘.จันทน์แห้งกลิ่นห่อนได้ |
ดรธาน | ||
อ้อยหีบชานยังหวาน | โอชอ้อย | ||
ช้างเข้าศึกเสี่ยมสาร | ยกย่าง งามนา | ||
บัณฑิตแม้ทุกข์ร้อย | เท่ารื้อลืมธรรม์ | ||
๒๙.ฝูงหงส์หลงเข้าสู่ |
ฝูงกา | ||
สีหราชเคียงโคนา | คลาดเคล้า | ||
ม้าต้นระคนลา | เลวชาติ | ||
นักปราชญ์พาลพาเต้า | สี่นี้ไฉนงามฯ | ||
๓๐.แมลงวันแสวงเสพด้วย |
ลามก | ||
พาลชาติเสาะสิ่งรก | เรื่องร้าย | ||
ภุมราเห็จเหิรหก | หาบุษ - บานา | ||
นักปราชญ์ฤาห่อนหม้าย | หมั่นสู้แสวงธรรม | ||
๓๑.เนื้อปองน้ำหญ้าบ่ |
ปองทอง | ||
ลิงบ่ปองรัตน์ปอง | ลูกไม้ | ||
หมูปองอสุจิของ | หอมห่อนปองนา | ||
คนเคลิบเคลิ้มบ้าใบ้ | ห่อนรู้ปองธรรมฯ | ||
๓๒.กายเกิดพยาธิโรคร้าย |
ยาหาย | ||
แต่พยศยาไป่วาย | ตราบม้วย | ||
ชาติเสือห่อนหายลาย | ลบผ่อง | ||
กล้วยก็กล้วยคงกล้วย | กลับกล้ายฤามีฯ | ||
๓๓.ขุนเขาสูงร้อยโยชน์ |
คณนา | ||
ขุนปราบด้วยโยธา | ราบได้ | ||
จักล้างพยศสา- | หัสยาก | ||
ยศศักดิ์ให้เท่าให้ | พยศนั้นฤาหายฯ | ||
๓๔.คบคนผู้โฉดเคลิ้ม |
อับผล | ||
หญิงเคียดอย่าระคน | ร่วมห้อง | ||
อย่าคบหมู่ทรชน | สอนยาก | ||
บัณฑิตแม้ตกต้อง | โทษสู้สมาคมฯ | ||
๓๕.ภูเขาเอนกล้ำ |
มากมี | ||
บมิหนักแผ่นธรณี | หน่อยไซร้ | ||
หนักนักแต่กระลี | ลวงโลก | ||
อันจักทรงทานได้ | แต่พื้นนรกานต์ฯ | ||
๓๖.ภูเขาทั้งแท่งล้วน |
ศิลา | ||
ลมพยุพัดพา | บ่ขึ้น | ||
สรรเสริญและนินทา | คนกล่าว | ||
ใจปราชญ์ฤาเฟื่องฟื้น | ห่อนได้จินต์จลฯ | ||
๓๗.ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ |
มีควัน | ||
ห้ามสุริยะแสงจันทร์ | ส่องไซร้ | ||
ห้ามอายุให้หัน | คืนเล่า | ||
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ | จึ่งห้ามนินทาฯ | ||
๓๘.ภูเขาเหลือแหล่ล้วน |
ศิลา | ||
หากมณีจินดา | ยากได้ | ||
ฝูงชนเกิดนานา | ในโลก | ||
หานักปราชญ์นั้นไซร้ | เลือกแล้วฤามีฯ | ||
๓๙.ป่าหลวงหลายโยชน์พร้อม |
พฤกษา | ||
หาแก่นจันทร์กฤษณา | ยากไซร้ | ||
ฝูงคนเกิดมีมา | เหลือแหล่ | ||
หาปราชญ์ฤาจักได้ | ยากแท้ควรสงวนฯ | ||
๔๐.มัจฉามีทั่วท้อง |
ชโลธร | ||
หาเงือกงูมังกร | ยากได้ | ||
ทั่วด้าวพระนคร | คนมาก มีนา | ||
จักเสาะสัปปุรุษไซร้ | ยากแท้จักมีฯ | ||
๔๑.ดารามีมากร้อย |
ถึงพัน | ||
บ่เปรียบกับดวงจันทร์ | หนึ่งได้ | ||
คนพาลมากอนันต์ | ในโลก | ||
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร้ | ยากแท้ฤาถึงฯ | ||
๔๒.เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย |
สาคร | ||
ช้างพึ่งพนาดร | ป่าไม้ | ||
ภุมราบุษบากร | ครองร่าง ตนนา | ||
นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้ | เพื่อด้วยปัญญาฯ | ||
๔๓.นกแร้งบินได้เพื่อ |
เวหา | ||
หมู่จระเข้าเต่าปลา | พึ่งน้ำ | ||
เข็ญใจพึ่งราชา | จอมราช | ||
ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ | เพื่อน้ำนมแรงฯ | ||
๔๔.ป่าพึ่งพาลพยัคฆ์ร้าย |
ราวี | ||
เสือพึ่งไพรพงพี | เถื่อนถ้ำ | ||
ความชั่วพึ่งความดี | เท็จพึ่ง จริงนา | ||
เรือพึ่งแรงน้ำน้ำ | หากรู้คุณเรือฯ | ||
๔๕.ตีนงูงูไซร้หาก |
เห็นกัน | ||
นมไก่ไก่สำคัญ | ไก่รู้ | ||
หมู่โจรต่อโจรหัน | เห็นเล่ห์ กันนา | ||
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ | ปราชญ์รู้เชิงกันฯ | ||
๔๖.มีอายุร้อยหนึ่ง |
นานนัก | ||
ศีลชื่อปัญจางค์จัก | ไป่รู้ | ||
ขวบเดียวเด็กรู้รัก | ษานิจ ศีลนา | ||
พระตรัสสรรเสริญผู้ | เด็กนั้นเกิดศรีฯ | ||
๔๗.คนใดยืนอยู่ร้อย |
พรรษา | ||
ใจบ่มีปรีชา | โหดไร้ | ||
วันเดียวเด็กเกิดมา | ใจปราชญ์ | ||
สรรเพชญบัณฑุรไว้ | เด็กนั้นควรยอฯ | ||
๔๘.คนใดยืนเหยียบร้อย |
ขวบปี | ||
ความอุตส่าห์ฤามี | เท่าก้อย | ||
เด็กเกิดขวบหนึ่งดี | เพียรพาก | ||
พระตรัสว่าเด็กน้อย | นี่เนื้อเวไนยฯ | ||
๔๙.อายุถึงร้อยขวบ |
เจียรกาล | ||
ธัมโมชอันโอฬาร | บ่รู้ | ||
เด็กน้อยเกิดประมาณ | วันหนึ่ง | ||
เห็นถ่องธรรมยิ่งผู้ | แก่ร้อยพรรษาฯ | ||
๕๐.อายุมีอยู่ร้อย |
ปีปลาย | ||
ความเกิดและความตาย | ไป่รู้ | ||
วันเดียวเด็กหญิงชาย | เห็นเกิด ตายนา | ||
ลูกอ่อนนั่นยิ่งผู้ | แก่ร้อยปีปลายฯ | ||
๕๑.ธิรางค์รู้ธรรมแม้ |
มากหลาย | ||
บ่กล่าวให้หญิงชาย | ทั่วรู้ | ||
ดุจหญิงสกลกาย | งามเลิศ | ||
อยู่ร่วมเรือนผัวผู้ | โหดแท้ขันทีฯ | ||
๕๒.รู้ธรรมเทียมเท่าผู้ |
ทรงไตร | ||
เจนจัดอรรถภายใน | ลึกล้น | ||
กล่าวแก้สิ่งสงสัย | เลอะเลือน | ||
รสพระธรรมอั้นอ้น | ว่ารู้ใครชมฯ | ||
๕๓.รู้น้อยว่ามากรู้ |
เริงใจ | ||
กลกบเกิดอยู่ใน | สระจ้อย | ||
ไป่เห็นชเลไกล | กลางสมุทร | ||
ชมว่าน้ำบ่อน้อย | มากล้ำลึกเหลือฯ | ||
๕๔.รูปชั่วมักแต่งแกล้ง |
เกลาทรง | ||
ใจขลาดมักอาจอง | อวดสู้ | ||
น้ำพร่องกระออมคง | กระฉอก ฉานนา | ||
เฉาโฉดโอษฐ์อวดสู้ | ว่ารู้ใครเทียมฯ | ||
๕๕.จระเข้คับน่านน้ำ |
ไฉนหา ภักษ์เฮย | ||
รถใหญ่กว่ารัถยา | ยากแท้ | ||
เสือใหญ่กว่าวนา | ไฉนอยู่ ได้แฮ | ||
เรือเขื่องคับชเลแล้ | แล่นโล้ไปไฉนฯ | ||
๕๖.มณฑกทำเนียบท้าว |
ราชสีห์ | ||
แมวว่ากูพยัคฆี | แกว่นกล้า | ||
นกจอกว่าฤทธี | กูยิ่งครุฑนา | ||
คนประดากขุกมีข้า | ยิ่งนั้นแสนทวีฯ | ||
๕๗.หิ่งห้อยส่องก้นสู้ |
แสงจันทร์ | ||
ปัดเทียบเทียมรัตนอัน | เอี่ยมข้า | ||
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ | ธรรมชาติ | ||
พาลว่าตนเองอ้า | อาจล้ำเลยกวีฯ | ||
๕๘.เสือผอมกวางวิ่งเข้า |
โจมขวิด | ||
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ์ | เลิศล้ำ | ||
เล็บเสือดั่งคมกฤช | เสือซ่อน ไว้นา | ||
ครั้นปะปามล้มขว้ำ | จึ่งรู้จักเสือฯ | ||
๕๙.ทองเหลืองเปลื้องร้ายห่อน |
เห็นมี | ||
ขัดเท่าขัดราคี | เล่าไซร้ | ||
นพคุณหมดใสสี | เสร็จโทษ | ||
ถึงบ่แต่งตั้งไว้ | แจ่มแจ้งไพบูลย์ฯ | ||
๖๐.พระสมุทรไหวหวาดห้วย |
คลองสรวล | ||
เมรุพลวกปลวกสำรวล | ร่าเร้า | ||
สีหราชร่ำคร่ำครวญ | สุนัขเยาะ หยันนา | ||
สุริยส่องยามเย็นเช้า | หิ่งห้อยยินดีฯ | ||
๖๑.แมวล่าหนูแซ่ซี้ |
จรจรัล | ||
หมาล่าวิฬาร์ผัน | สู่หล้าง | ||
ครูล่าศิษย์ละธรรม์ | คบเพื่อน พาลนา | ||
เสื่อล่าป่าแรมร้าง | หมดไม้ไพรสณฑ์ฯ | ||
๖๒.จามรรีขนข้องอยู่ |
หยุดปลด | ||
ชีพบ่รักรักยศ | ยิ่งไซร้ | ||
สัตว์โลกซึ่งสมบัติ | มีชาติ | ||
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้ | ยศซร้องสรรเสริญฯ | ||
๖๓.นพคุณใส่เบ้าสูบ |
แสนที | ||
ฆ้อนเหล็กรุมรันตี | ห่อนม้วย | ||
บ่เจ็บเท่าธุลี | สักหยาด | ||
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย | กล่ำน้อยหัวดำฯ | ||
๖๔.ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ |
จัมบก | ||
แปลงปลูกหนามรายรก | รอบเรื้อ | ||
ฆ่าหงส์มยุรนก | กระเหว่า เสียนา | ||
เลี้ยงหมูกากินเนื้อ | ว่ารู้ลีลาฯ | ||
๖๕.เอาสารเทียมอูฐโอ้ |
เป็นมูล | ||
เก็บปัดเทียมแก้วปูน | ค่าไว้ | ||
เมืองใดพิกัดพูน | มีดั่ง นี้นา | ||
นับแต่ไกลอย่าได้ | ไต่เต้าเมืองเข็ญฯ | ||
๖๖.น้ำเคี้ยวยูงว่าเงื้ยว |
ยูงตาม | ||
ทรายเหลือบหางยูงงาม | ว่าหญ้า | ||
ตาทรายยิ่งนิลงาม | พรายเพริศ | ||
ลิงว่าหว้าหวังหว้า | หว่าดิ้นโดดตามฯ | ||
๖๗.สังขารหวัวผู้ว่า |
ตนทระนง | ||
ทรัพย์ย่อมหวัวคนจง | ว่าเจ้า | ||
หญิงหวัวแก่ชายปลง | ชมลูก | ||
มัจจุราชหวัวผู้เถ้า | บ่รู้วันตายฯ | ||
๖๘.มือด้วนคิดจะมล้าง |
เขาหมาย | ||
ปากด้วนถ่มน้ำลาย | เลียบฟ้า | ||
หิ่งห้อยแข่งแสงฉาย | สุริเยศ | ||
คนทุพพลอวดกล้า | แข่งผู้มีบุญฯ | ||
๖๙.แว่นตามาใส่ผู้ |
อันธการ | ||
คนหนวกฟังสำนวน | ขับร้อง | ||
คนใบ้ใฝ่แสดงสาร | โคลงกาพย์ | ||
เฉกเครื่องประดับซร้อง | ใส่ให้วานรฯ | ||
๗๐.วัดช้างเบื้องบาทรู้ |
จักสาร | ||
วัดอุทกชักกมุทมาลย์ | แม่นรู้ | ||
ดูครูสดับโวหาร | สอนศิษย์ | ||
ดูตระกูลเผ่าผู้ | เพื่อด้วยเจรจาฯ | ||
๗๑.พระสมุทรสุดลึกล้น |
คณนา | ||
สายดิ่งทิ้งทอดมา | หยั่งได้ | ||
เขาสูงอาจวัดวา | กำหนด | ||
จิตต์มนุษย์นี้ไซร้ | ยากแท้หยั่งถึงฯ | ||
๗๒.ไม้ล้มควรค่ามได้ |
โดยหมาย | ||
คนล้มจักข้ามกราย | ห่อนได้ | ||
ทำชอบชอบห่อนหาย | ชอบกลับ สนองนา | ||
ทำผิดผิดจักให้ | โทษแท้ถึงตนฯ | ||
๗๓.ไม้ล้มจักค่ามให้ |
ดูกาล | ||
คนท่าวล้มข้ามพาน | ห่อนไต้ | ||
เสือผอมอย่าอวดหาญ | เข้าผลัก เสือแฮ | ||
พาลประทุษฐ์ตกไร้ | อย่าได้ทำคุณฯ | ||
๗๔.ทรชนยากไร้อย่า |
ทำคุณ | ||
อย่าหยิบทรัพย์อุดหนุน | หย่อนให้ | ||
ก่อเกื้อเกือบเกินทุน | มันมั่ง มีนา | ||
ครั้นค่อยคลายวายไร้ | กลับสู้ดูแคลนฯ | ||
๗๕.ทำคุณท่านห่อนรู้ |
คุณสนอง | ||
ท่านบ่แทนคุณปอง | โทษให้ | ||
กลกาแต่งยูงทอง | ลายเลิศ | ||
ยูงเอาหมึกม่อไล้ | ลูบสิ้นสรรพางค์ฯ | ||
๗๖.เทพาพันเทพเรื้อง |
ฤทธิรงค์ | ||
บ่เท่าพระอินทร์องค์ | หนึ่งได้ | ||
คุณพันหนึ่งดำรง | ความชอบ ไว้นา | ||
มีโทษอันหนึ่งไซร้ | กลบกล้ำพันคุณฯ | ||
๗๗.ใครซื่อซื่อต่อตั้ง |
ตามกัน | ||
ใครคดคดผ่อนผัน | ตอบเต้า | ||
ทองแดงว่าสุวรรณ | ยังถ่อง เหมือนฤา | ||
ดุจลูกสูสองเถ้า | ว่าโอ้เป็นลิงฯ | ||
๗๘.นายรักไพร่ไพร่พร้อม |
รักนาย | ||
มีศึกสู้จนตาย | ต่อแย้ง | ||
นายเบียนไพร่กระจาย | จากหมู่ | ||
นายบ่ไพร่แกล้ง | ล่อล้างผลาญนายฯ | ||
๗๙.ข้าท้าวเอาจิตต์ท้าว |
แม่นหมาย | ||
บ่าวท่านเอาใจนาย | แม่นหมั้น | ||
ศิษย์ท่านผ่อนผันผาย | โดยจิตต์ ครูนา | ||
อยู่ที่เรือนตัวนั้น | แต่น้ำใจเองฯ | ||
๘๐.รักกันอยู่ขอบฟ้า |
เขาเขียว | ||
เสมออยู่หอแห่งเดียว | ร่วมห้อง | ||
ชังกันบ่แลเหลียว | ตาต่อ กันนา | ||
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง | ป่าไม้มาบังฯ | ||
๘๑.ให้ท่านท่านจักให้ |
ตอบสนอง | ||
นบท่านท่านจักปอง | นอบไหว้ | ||
รักท่านท่านควรครอง | ความรัก เรานา | ||
สามสิ่งนี้เว้นไว้ | แต่ผู้ทรชนฯ | ||
๘๒.แม้นมีความรู้ดั่ง |
สัพพัญญู | ||
ผิบ่มีคนชู | ห่อนขึ้น | ||
หัวแหวนค่าเมืองตรู | ตาโลก | ||
ทองบ่รองรับพื้น | ห่อนแก้วมีศรีฯ | ||
๘๓.ราชรถปรากฏด้วย |
ธงชัย | ||
ควันประจักษ์แก่ไฟ | เที่ยงแท้ | ||
ราชาอิสระใน | สมบัติ | ||
ชายย่อมเฉลิมเลิศแล้ | ปิ่นแก้วเกศหญิงฯ | ||
๘๔.รำฟ้อนสุนทรด้วย |
รูปา | ||
ร้องขับศัพท์เสน่หา | ยิ่งแท้ | ||
มวยปล้ำล่ำสันสา | มารถจึ่ง ดีแฮ | ||
รักกับชังนั้นแล้ | เพื่อลิ้นเจรจาฯ | ||
๘๕.กระเหว่าเสียงเพราะแท้ |
แก่ตัว | ||
หญิงเลิศเพราะรักผัว | แม่นหมั้น | ||
นักปราชญ์มาตรรูปมัว | หมองเงื่อน งามนา | ||
เพราะเพื่อรสธรรมนั้น | ส่องให้เห็นงามฯ | ||
๘๖.นารายณ์วายเว้นจาก |
อาภรณ์ | ||
อากาศขาดสุริยจร | แจ่มหล้า | ||
เมืองใดบ่มีวร | นักปราชญ์ | ||
แม้ว่างามล้นฟ้า | ห่อนได้งามเลยฯ | ||
๘๗.เขาใดไร้ถ้ำราช |
สีห์หมาง | ||
สระโหดหงส์ละวาง | วากเว้ | ||
พฤกษ์ใดบกใบบาง | นกหน่าย | ||
สาวซัดชู้โอ้เอ้ | เพราะชู้ชายทรามฯ | ||
๘๘.ป่าใดไกลพยัคฆ์ร้าย |
ราวี | ||
ไม้หมดม้วยบ่มี | ร่มซื้อ | ||
หญิงยศงดงามดี | ผัวหน่าย | ||
เป็นที่หมิ่นชายยื้อ | หยอกเย้าเสียตนฯ | ||
๘๙.พลูหมากจากโอษฐ์โอ้ |
เสียศรี | ||
หญิงจากจอมสามี | ครอบเกล้า | ||
เรือนปราศจากบุตรี | ดรุณเด็ก | ||
เมืองจากจอมภพเจ้า | สิ่งนี้ฤางามฯ | ||
๙๐.เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม |
ดนตรี | ||
อักขระห้าวันหนี | เนิ่นช้า | ||
สามวันจากนารี | เป็นอื่น | ||
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า | อับเศร้าศรีหมองฯ | ||
๙๑.ดอยใดมีถ้ำราช |
สีห์ประสงค์ | ||
เมืองมาบมีบัวหงส์ | หากใกล้ | ||
ต้นไม้พุ่มพัวพง | นกมาก มีนา | ||
สาวหนุ่มตามชู้ไซร้ | เพราะชู้ชอบตาฯ | ||
๙๒.เปือกตมชมชื่นเชื้อ |
กาษร | ||
หงส์กับบุษบากร | ชื่นช้อย | ||
ภิกษุเสพสังวร | ศีลสุข ไซร้นา | ||
บุรุษรสรักร้อย | เท่าน้อมในหญิงฯ | ||
๙๓.ใครจักผูกโลกแม้ |
รัดรึง | ||
เหล็กเท่าลำตาลตรึง | ไป่หมั้น | ||
มนต์ยาผูกนานหึง | หายเสื่อม | ||
ผูกเพื่อไมตรีนั้น | แน่นเท้าวันตายฯ | ||
๙๔.เรียนพระธรรมแท้ผูก |
ศาสนา | ||
ปลอกผูกคชตรึงตรา | ตรากหมั้น | ||
มนต์ดลและหยูกยา | สมรรถผูก งูแฮ | ||
ผูกโลกทั้งหลายนั้น | แน่นด้วยไมตรีฯ | ||
๙๕.รบศึกชำนะได้ |
ในณรงค์ | ||
รบแม่เรือนตัวยง | ขยาดแท้ | ||
รบใจชักให้คง | ความสัตย์ | ||
ถือว่าผู้นั้นแล้ | เลิศล้าชายชาญฯ | ||
๙๖.คนใดคนหนึ่งผู้ |
ใจฉกรรจ์ | ||
เคียดฆ่าคนอนันต์ | หนักแท้ | ||
ไป่ปานบุรุษอัน | ผจญจิตต์ เองนา | ||
เธียรท่านเยิรยอแล้ | ว่าผู้มีชัยฯ | ||
๙๗.สงครามแสวงท่วยแกล้ว |
อาสา | ||
กลคดีพึงหา | ท่านรู้ | ||
ยามกินรสโอชา | ชวนเพื่อน กินนา | ||
หาปราชญ์ล้ำเลิศผู้ | เมื่อแก้ปริศนาฯ | ||
๙๘.แสวงรู้พึงคบด้วย |
บัณฑิต | ||
แสวงทรัพย์คบพาณิช | ง่ายไซร้ | ||
แสวงหายศศักดิ์ชิด | ชอบราช | ||
ผิใคร่ได้ลูกไซร้ | สำส้องเมียสาวฯ | ||
๙๙.ร้อยคนหาแกว่นแกล้ว |
กลางณรงค์ | ||
พันหนึ่งหาปัญญายง | ยิ่งรู้ | ||
แสนคนเสาะคนตรง | ยังยาก | ||
ไป่เท่าคนหนึ่งผู้ | อาจอ้างอวยทานฯ | ||
๑๐๐.ช้างม้าเมียมิ่งแก้ว |
เงินทอง | ||
ตัวมิตายจักปอง | ย่อมได้ | ||
ชีวิตสิ่งเดียวของ | หายาก | ||
ใช่ประทีปเทียนไต้ | ดับแล้วจุดคืนฯ | ||
๑๐๑.หาสินห้าปีเข้า |
พยายาม | ||
แสวงคู่ผู้เมียสาม | ขวบเข้า | ||
แสวงรู้ค่อยเรียนตาม | ต่อเจ็ด ขวบนา | ||
แสวงใฝ่เฝ้าไทท้าว | ต่อสิ้นสุดกรรมฯ | ||
๑๐๒.เมื่อน้อยเรียนเร่งรู้ |
วิชา | ||
ครั้นใหญ่หาสินมา | สู่เหย้า | ||
เมื่อกลางแก่ศรัทธา | ทำแต่ บุญนา | ||
ครั้นแก่แรงวอกเว้า | ห่อนได้เป็นการฯ | ||
๑๐๓.ปางน้อยสำเหนียกรู้ |
เรียนคุณ | ||
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน | ทรัพย์ไว้ | ||
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ | ธรรมชอบ | ||
ยามหง่อมทำใดได้ | แต่ล้วนอนิจจังฯ | ||
๑๐๔.ความรู้ดูยิ่งล้ำ |
สินทรัพย์ | ||
คิดค่าควรเมืองนับ | ยิ่งไซร้ | ||
เพราะเหตุจักอยู่กับ | กายอาต มานา | ||
โจรจักเบียนบ่ได้ | เร่งรู้เรียนเอาฯ | ||
๑๐๕.ความเพียรเป็นอริแล้ว |
เป็นมิตร | ||
คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท | ร่วมไร้ | ||
วิชาเฉกยาติด | ขมขื่น | ||
ประมาทเหมือนดับไต้ | ชั่วร้ายฤาเห็นฯ | ||
๑๐๖.ผิรู้รู้จงให้ |
เทียมคน | ||
จักเงื่องเงื่องเป็นกล | เงื่องแหง้ | ||
จักสุกอย่าสุกปน | ดิบครึ่ง หนึ่งนา | ||
ทางไล่ไว้หนีแก้ | รอดแคล้วภัยพาลฯ | ||
๑๐๗.ความรู้รู้ยิ่งได้ |
สินศักดิ์ | ||
เป็นที่ชนพำนัก | นอบหิ้ว | ||
อย่าเกียจเกลียดหน่ายรัก | เรียนต่อ | ||
รู้ชอบใช่หอบหิ้ว | เหนื่อยแพ้แรงโรยฯ | ||
๑๐๘.วิชาเป็นเพื่อนเลี้ยง |
ชีวิต | ||
ยามอยู่เรือนเมียสนิท | เพื่อนร้อน | ||
ร่างกายสหายติด | ตามทุกข์ ยากนา | ||
ธรรมหากเป็นมิตรซ้อน | เมื่อม้วยอาสัญฯ | ||
๑๐๙.เป็นชายความรู้ยิ่ง |
เป็นทรัพย์ | ||
ทุกประเทศมีผู้นับ | อ่านอ้าง | ||
สตรีรูปงามสรรพ | เป็นทรัพย์ ตนนา | ||
แม่ตกยากไร้ร้าง | ห่อนไร้สามีฯ | ||
๑๑๐.เห็นใดจำให้แน่ |
นึกหมาย | ||
ฟังใดอย่าฟังดาย | สดับหมั้น | ||
ชนม์ยืนอย่าพึงวาย | ตรองตรึก ธรรมนา | ||
สิ่งสดับทั้งนั้น | ผิดเพี้ยนเป็นครูฯ | ||
๑๑๑.เภตราเพียบล้มล่ม |
จมอรร-ณพนา | ||
เกวียนหนักหักเพลาพลัน | ง่ายไซร้ | ||
น้ำน่านซ่านหลิ่งคัน | เพราะเปี่ยม เต็มแฮ | ||
ผู้ประจาคมากให้ | ทรัพย์ม้วยหมดตนฯ | ||
๑๑๒.คนใดโผงพูดโอ้ |
อึงดัง | ||
อวดว่ากล้าอย่าฟัง | สับปลี้ | ||
หมาเห่าเล่าอย่าหวัง | จักขบ ใครนา | ||
สองเหล่าเขาหมู่นี้ | ชาติเชื้อเดียวกันฯ | ||
๑๑๓.เสือใดแรงร้ายระ |
พะพง | ||
อาจอุกบุกดงยง | ขบคั้น | ||
กินสัตว์สุระทะนง | ศักดิ์สาธุ์ | ||
จักฉิบหายตายหมั้น | เพราะร้ายแรงทะนงฯ | ||
๑๑๔.ลับหลังบังเบียดล้าง |
ลบคุณ | ||
ต่อพักตร์ยกยอบุญ | ลึกซึ้ง | ||
คบมิตรจิตต์ปานปุน | เป็นดุจ นี้นา | ||
กลดั่งเสพน้ำผึ้ง | คลุกเคล้ายาตายฯ | ||
๑๑๕.ผู้อื่นแม้ประโยชน์ไซร้ |
เสมอมิตร | ||
มิตรประทุษฐ์ทำจิตต์ | เจ็บช้ำ | ||
กายกับพยาธิชิด | ใครชอบ เลยนา | ||
รุกขชาติในป่าล้ำ | เลิศให้เป็นยาฯ | ||
๑๑๖.สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ |
ในตน | ||
กินกัดเนื้อเหล็กจน | กร่อนขร้ำ | ||
บาปเกิดแต่ตนคน | เป็นบาป | ||
บาปย่อมทำโทษซ้ำ | ใส่ผู้บาปเองฯ | ||
๑๑๗.ฟักแฟงแตงเต้าถั่ว |
งายล | ||
หว่านสิ่งใดให้ผล | สิ่งนั้น | ||
ทำทานหว่านกุศล | ผลเพิ่ม พูนนา | ||
ทำบาปบาปซั้นซั้น | ไล่เลี้ยวตามตนฯ | ||
๑๑๘.ยายำประกอบด้วย |
มนต์ดล | ||
เคราะห์โศกฤกษ์บนปน | ปะไซร้ | ||
แม้นบุญช่วยอวยผล | ผลเพิ่ม พูนนา | ||
แม้นบาปบุรพกรรมให้ | บาปซ้ำเสียศูนย์ฯ | ||
๑๑๙.มีสินฤาเท่าผู้ |
มีคุณ | ||
ข่าศึกฤาปานปุน | พยาธิ์ไซร้ | ||
รักใดจักเพิ่มพุน | รักอาต-มานา | ||
แรงอื่นฤาจักได้ | เท่าด้วยแรงกรรมฯ | ||
๑๒๐.อย่าโทษไทท้าวท่วย |
เทวา | ||
อย่าโทษสถานภูผา | ย่านกว้าง | ||
อย่าโทษหมู่วงศา | มิตรญาติ | ||
โทษแต่กรรมเองสร้าง | ส่งให้เป็นเองฯ | ||
๑๒๑.หมอแพทย์ทายว่าไข้ |
ลมคุม | ||
โหรว่าเคราะห์แรงรุม | โทษให้ | ||
แม่มดว่าผีกุม | ทำโทษ | ||
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ | ก่อสร้างมาเองฯ | ||
๑๒๒.แม้นมีตัวใหญ่เพียง |
ภูผา | ||
สูงเจ็ดลำตาลสา- | มารถแท้ | ||
พงศ์พันธุ์เผ่าจันทรา | สุริเยศ ก็ดี | ||
ครั้นว่าไร้ทรัพย์แล้ | ทั่วหล้าฤาเห็นฯ | ||
๑๒๓.คนผู้หินชาติช้า |
พงศ์พันธุ์ | ||
ครั้นมั่งมีสินสรรพ์ | อวดอ้าง | ||
แม้ผู้เผ่าสุริยจันทร์ | สูงศักดิ์ ก็ดี | ||
ครั้นทรัพย์แรมโรยร้าง | หมู่ร้ายดูแคลนฯ | ||
๑๒๔.แม้มีเนตรพ่างเพี้ยง |
พันจัก-ษุแฮ | ||
มีวิชารู้หลัก | เลิศล้น | ||
ปัญญายิ่งยศศักดิ์ | ลือทั่ว ภพนา | ||
รู้เท่าใดฤาพ้น | พ่ายแพ้ความตายฯ | ||
๑๒๕.มีฤทธิ์แรงมากแม้ |
ทศพล ก็ดี | ||
หักพระเมรุทบทน | ท่าวแท้ | ||
หยิบยกสี่สากล | ชูกลอก ไว้นา | ||
บัดย่อมจะพ่ายแพ้ | แก่ท้าวมฤตยูฯ | ||
๑๒๖.มีฤทธิ์รู้ยิ่งแม้น |
สัพพัญญู ก็ดี | ||
เหิรเห็จเตร็ดไตรตรู | ทั่วหล้า | ||
ดำดินแหวกสินธู | ทุกทวีป | ||
รู้เท่ารู้ล้นฟ้า | ห่อนพ้นความตายฯ | ||
๑๒๗.มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว |
พันคอ | ||
ทรัพย์ผูกบาทาคลอ | หน่วงไว้ | ||
ภรรยาเยี่ยงปวงปอ | รึงรัด มือนา | ||
สามบ่วงใครพ้นได้ | จึ่งพ้นสงสารฯ | ||
๑๒๘.บัญญัติลูกเต้าทรัพย์ |
สินสกล | ||
ผู้โฉดคิดเวียนวน | โศกเศร้า | ||
บ่คิดว่าตัวตน | ศูนย์เปล่า ไซร้ฤา | ||
เมียลูกทรัพย์หากเข้า | เกาะยื้อยามมรณ์ฯ | ||
๑๒๙.ผู้ใดมีมั่งขั้ง |
เงินทอง | ||
ลูกที่ดีให้ครอง | สืบไว้ | ||
ลูกร้ายอย่าพึงปอง | มอบทรัพย์ ให้นา | ||
พึงวิจารณ์ประมวลให้ | รอบรู้เป็นคุณฯ | ||
๑๓๐.มีลูกจากโทษแท้ |
สาธารณ์ | ||
เข้าบ่อนคบคนพาล | ลักลี้ | ||
ส้องเสพสุราบาน | การบาป | ||
จากโทษแท้เท่านี้ | ลาภล้ำบิดาฯ | ||
๑๓๑.ลูกหนึ่งยอดยิ่งล้ำ |
ประยูร | ||
ลูกหนึ่งเทียมตระกูล | พ่อแท้ | ||
ลูกหนึ่งถ่อยสถูล | กว่าชาติ | ||
สามสิ่งนี้มีแล้ | เที่ยงแท้ทุกคนฯ | ||
๑๓๒.มีลูกลูกเล่าไซร้ |
หลายประการ | ||
ลูกหนึ่งพึงล้างผลาญ | ทรัพย์ม้วย | ||
ลูกหนึ่งย่อมคบพาล | พาผิด มานา | ||
ลูกที่ดีนั้นด้วย | ว่ารู้ฟังคำฯ | ||
๑๓๓.พระจันทร์โอภาสด้วย |
ราตรี | ||
แสงสว่างแผ้วพันสี | ส่องหล้า | ||
กษัตริย์อ่าอินทรีย์ | เรืองรุ่ง งามนา | ||
บุตรที่ดีรุ่งหน้า | พวกพ้องพงศ์พันธุ์ฯ | ||
๑๓๔.ว่าเมียมีมากล้ำ |
หลายเมีย | ||
เมียหนึ่งยกยอเยีย | อย่างแหม้ | ||
เมียหนึ่งส่ายทรัพย์เสีย | ศูนย์จาก ตนนา | ||
เมียหนึ่งทำโทษแท้ | เที่ยงให้ฉิบหายฯ | ||
๑๓๕.เมียมากจงระมัดหมั้น |
ตัวตน | ||
มันย่อมหามนต์ดล | คิดร้าย | ||
รักนักมักหลงกล | การเสน่ห์ | ||
ควรประหยัดอย่าหง้าย | จักสิ้นเสียตัวฯ | ||
๑๓๖.หญิงประทุษฐ์ทำเล่ห์ซ้อน |
เหนือชาย | ||
คิดคดมุ่งมั่นหมาย | ค่ำเช้า | ||
คนไข้ป่วยปางตาย | อับลาภ | ||
เอาพิษเพิ่มภักษ์เข้า | เหตุนั้นควรถวิลฯ | ||
๑๓๗.หญิงชั่วผัวหย่าร้าง |
สามคน | ||
ข้าหลีกหนีสามหน | จากเจ้า | ||
ลูกศิษย์ผิดครูตน | สามแห่ง | ||
เขาหมู่นี้อย่าเข้า | เสพส้องสมาคมฯ | ||
๑๓๘.หญิงชั่วชู้ร้ายรัก |
ฤาคลาด | ||
เห็นบุรุษนักปราชญ์ | เกลียวใกล้ | ||
แมลงวันย่อมเอาชาติ | อสุภ เน่านา | ||
บ่เสาะกลิ่นดอกไม้ | ดุจผึ้งภุมราฯ | ||
๑๓๙.ปางก่อนเคยร่วมน้ำ |
ใจจิตต์ | ||
เคยยื่นทรัพย์ไปล่ปลิด | ปลดให้ | ||
เคยเป็นมิ่งเมียสนิท | หลายชาติ มานาฯ | ||
ในชาตินี้จึงได้ | เสพส้องครองกัน | ||
๑๔๐.อากาศหฤโหดร้าย |
คือกา | ||
สัตว์สี่ตีนคือลา | โหดแท้ | ||
นักพรตมักโกรธา | หฤโหด | ||
ร้ายกว่าร้ายนั้นแล้ | แต่ผู้นินทาฯ | ||
๑๔๑.ถ่อลอยกลางแม่น้ำ |
ฤาจะเอา | ||
แม้มิบุบบางเบา | มอดย้ำ | ||
สตรีรูปลำเภา | ผัวหย่า เล่าแฮ | ||
ยักหล่มถ่มร้ายซ้ำ | ไม่ร้ายแรงหึงฯ | ||
๑๔๒.ดังฤาแม่น้ำและ |
หนทาง | ||
ศาลสระโรงบึงบาง | บ่อห้วย | ||
เปรียบประดุจใจนาง | ในโลก นี้นา | ||
ฤาอิ่มเวลาด้วย | แห่งห้องสงสารฯ | ||
๑๔๓.แมลงวันท่วยเด็กน้อย |
นารี | ||
พลูกัดชลกุณฑี | ลูกไม้ | ||
น้ำไหลและฤาษี | สิทธิศักดิ์ นั้นฤา | ||
เจ็ดสิ่งนี้อย่าได้ | เกลียดอ้างเป็นเดนฯ | ||
๑๔๔.ดูข้าดูเมื่อใช้ |
การหนัก | ||
ดูมิตรพงศารัก | เมื่อไร้ | ||
ดูเมียเมื่อไข้จัก | จวนชีพ | ||
อาจจักรู้จิตต์ไว้ | ว่าร้ายฤาดีฯ | ||
๑๔๕.มีข้าคิดชอบใช้ |
หลายสถาน | ||
ข้าหนึ่งกิจการงาน | เจ็บร้อน | ||
ข้าหนึ่งฉกฉ้อพาล | เบียนเบียด | ||
ข้าหนึ่งคอยขอดข้อน | แนะให้ศัตรูฯ | ||
๑๔๖.ทาสาอย่าคิดไว้ |
วางใจ | ||
ปกปิดกลภายใน | อย่าหง้าย | ||
เลิศลับสิ่งใดใด | เห็นเหตุ | ||
มันแนะนำทำร้าย | หมดสิ้นเสียตัวฯ | ||
๑๔๗.ความลับอย่าให้ทาส |
จับที | ||
ปกปิดมิดจงดี | อย่าแผร้ | ||
แม้ให้ทราบเหตุมี | หลายหลาก | ||
นับว่าข้าทาสแท้ | โทษร้ายเร็วถึงฯ | ||
๑๔๘.หญิงทาสทางทาสใช้ |
โดยควร | ||
อย่าและเล็มลามลวน | วากเว้ | ||
รู้รสก่อเชิงชวน | ใช้ยาก | ||
ดังแมลงป่องจระเข้ | ก่งแหง้งอนหางฯ | ||
๑๔๙.หญิงชายบ้าบาปเถ้า |
ทุรชน | ||
ใครอดออมข้าคน | หมู่นี้ | ||
ศิริห่อนจากตน | คลาดคลาด | ||
มาช่วยชูตีนกี้ | เมื่อรื้อวางวายฯ | ||
๑๕๐.พ่อชั่วคนรู้ย่อม |
สาธารณ์ | ||
แม่ชั่วปากสามานย์ | กล่าวกล้า | ||
พ่อแม่โคตรสันดาน | สุทธชาติ | ||
คำอ่อนหวานบานหน้า | ร่วมรู้อันดีฯ | ||
๑๕๑.พ่อตายคือฉัตรกั้ง |
หายหัก | ||
แม่ดับดุจรถจักร | จากด้วย | ||
ลูกตายบ่วายรัก | แรงร่ำ | ||
เมียมิ่งตายวายม้วย | มืดคลุ้มแดนไตรฯ | ||
๑๕๒.พิษร้อนในโลกนี้ |
มีสาม | ||
พิษหอกดาบเพลิงลาม | ลวกไหม้ | ||
ร้อนจริงก็มียาม | หยุดหย่อน เย็นนา | ||
ร้อนสิ่งเดียวร้อนไร้ | ยิ่งร้อนฤาวายฯ | ||
๑๕๓.ธรรมดายาโรคร้อน |
รสขม | ||
กินก็บำบัดลม | และไข้ | ||
คนซื่อกล่าวใครชม | ว่าชอบ หูแฮ | ||
จริงไป่จริงนั้นไซร้ | ผ่ายหน้านานเห็นฯ | ||
๑๕๔.โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง |
เมล็ดงา | ||
ปองติฉินนินทา | ห่อนเว้น | ||
โทษตนเท่าภูผา | หนักยิ่ง | ||
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น | เรื่องร้ายหายศูนย์ฯ | ||
๑๕๕.คนรักมีมากไซร้ |
แสดงผล | ||
ชังมากนินทาตน | โศกเศร้า | ||
รักมากเมื่อกังวล | วานช่วย กันนา | ||
ชังมากมักรุมเร้า | กล่าวร้ายรันทำฯ | ||
๑๕๖.ดอกบัวหนามณก้าน |
คนฉิน | ||
สระก็มีมลทิน | ไป่พร้อง | ||
น้ำล้างสิ่งของกิน | พึงเกลียด ตินา | ||
คลองอาบอากูลซ้อง | สิ่งร้ายเป็นดีฯ | ||
๑๕๗.ลิ้นพราหมณ์ตานกแร้ง |
จมูกมด | ||
น้ำจิตพระยากำหนด | ยากแท้ | ||
คำครูสั่งสองบท | ธรรมเมศ | ||
ห้าสิ่งนี้แหลมแล้ | รวดรู้เร็วจริงฯ | ||
๑๕๘.คนตื่นคืนหนึ่งช้า |
จริงเจียว | ||
มล้าวิถีโยชน์เดียว | ดุจร้อย | ||
สงสารหมู่พาลเทียว | ทางเนิ่น นานมา | ||
เพราะบ่เห็นทางน้อย | หนึ่งให้เป็นคุณฯ | ||
๑๕๙.เฝ้าท้าวเทียมเสพด้วย |
ยาพิษ | ||
เข้าสู่สงครามชิด | ใช่ช้า | ||
ทรงครรภ์และพาณิช | เที่ยวท่อง ชเลนา | ||
บัดชื่นบัดเศร้าหน้า | กล่าวใกล้ความตายฯ | ||
๑๖๐.บรรทมยามหนึ่งไท้ |
ทรงฤทธิ์ | ||
หกทุ่มหมู่บัณฑิต | ทั่วแท้ | ||
สามยามพวกพาณิช | นรชาติ | ||
นอนสี่ยามนั้นแล้ | เที่ยงแท้เดียรฉานฯ | ||
๑๖๑.ราชาธิราชน้อม |
ในสัตย์ | ||
อำมาตย์เป็นบรรทัด | ถ่องแท้ | ||
ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์ | ทุกเมื่อ | ||
เมืองดั่งนี้เลิศแล้ | ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์ฯ | ||
๑๖๒.ข้าท่านคร้านหลีกเจ้า |
จากเจียร | ||
ชีบ่เล่าเรียนเขียน | อ่านไซร้ | ||
ชาวนาละความเพียร | ไถถาก | ||
สามสิ่งนี้โหดให้ | โทษแท้คนฉินฯ | ||
๑๖๓.นายเรือนใหญ่อยู่เหย้า |
เรือนตน | ||
นายซ่องเป็นใหญ่คน | ลูกบ้าน | ||
ท้าวพระยาใหญ่กว่าชน | ในเขต แดนนา | ||
นักปราชญ์ใหญ่แปดด้าน | ทั่วด้าวทิศาฯ | ||
๑๖๔.สตรีดีรูปได้ |
เป็นทรัพย์ | ||
ชายฉลาดความรู้สรรพ | ทรัพย์ได้ | ||
พราหมณ์ทรงเวทยานับ | ว่าทรัพย์ พราหมณ์นา | ||
ภิกษุเกิดลาภไซร้ | เพื่อรู้เทศน์ธรรมฯ | ||
๑๖๕.เรียนสรรพสบศาสตร์สิ้น |
เพลงศิลป์ | ||
ประสิทธิ์เสร็จทั้งแดนดิน | ย่อมได้ | ||
ตามปัญญายิ่งโดยจินต์ | คดีโลก | ||
สอนอัชฌาสัยไซร้ | ห่อนได้มีครูฯ | ||
๑๖๖.เรียนรู้ครูบอกได้ |
เสร็จสรรพ์ | ||
สบศาสตร์ศิลป์ทุกอัน | ย่อมรู้ | ||
อัชฌาสัยแห่งสามัญ | บุญแต่ง มาแฮ | ||
ครูพักนักสิทธิ์ผู้ | เลิศได้บอกเลยฯ | ||
๑๖๗.แม้นบุตรยังอย่าได้ |
ขวนขวาย | ||
อย่าตื่นตีตนตาย | ก่อนไข้ | ||
ลูกพร้าวอยู่ถึงปลาย | สูงสุด ยอดนา | ||
ใครพร่ำน้ำตักให้ | หากรู้เต็มเองฯ | ||
๑๖๘.นกน้อยขนน้อยแต่ |
พอตัว | ||
รังแต่งจุเมียผัว | อยู่ได้ | ||
มักใหญ่คนย่อมหวัว | ไพเพิด | ||
ทำแต่พอตัวไซร้ | อย่าให้คนหยันฯ | ||
๑๖๙.เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม |
ใจตาม | ||
เรายากหากใจงาม | อย่าคร้าน | ||
อุตส่าห์พยายาม | การกิจ | ||
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน | อย่าท้อทำกินฯ | ||
๑๗๐.เริ่มการตรองตรึกไว้ |
ในใจ | ||
การจะลุจึงไข | ข่าวแจ้ง | ||
เดื่อดอกออกห่อนใคร | เห็นดอก | ||
ผลผลิตคิดแล้วแผร้ง | แพร่ให้คนเห็นฯ | ||
๑๗๑.การใดตรองผิดไซร้ |
เสียถนัด | ||
เอาสิ่งนั้นตรองขัด | คิดแก้ | ||
หนามยอกสิ่วแคะคัด | ฤาออก | ||
หนามต่อหนามนั้นแล้ | เขี่ยได้คืนถอนฯ | ||
๑๗๒.ผมผิดคิดสิบห้า |
วันวาร | ||
ทำไร่ผิดเทศกาล | ขวบเข้า | ||
เลี้ยงเมียผิดรำคาญ | คิดหย่า | ||
ทำผิดไว้คิดเศร้า | ตราบท้าววันตายฯ | ||
๑๗๓.เดินทางต่างเทศให้ |
พิจารณ์ | ||
อาสน์นั่งนอนอาหาร | อึกน้ำ | ||
อดนอนอดบันดาล | ความโกรธ | ||
ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ | เลิศล้วนควรถวิลฯ | ||
๑๗๔.อาศัยเรือนท่านให้ |
วิจารณ์ | ||
เห็นท่านทำการงาน | ช่วยพร้อง | ||
แม้มีกิจโดยสาร | นาเวศ | ||
พายถ่อช่วยค้ำจ้อง | จรดให้จนถึงฯ | ||
๑๗๕.เขาบ่เรียกสักหน่อยขึ้น |
เคหา | ||
ท่านบ่ถามเจรจา | อวดรู้ | ||
ยกตนอหังการ์ | เกินเพื่อน | ||
สามลักษณะนี้ผู้ | เผ่าร้ายฤาดีฯ | ||
๑๗๖.เป็นคนคลาดเหย้าอย่า |
เปล่ากาย | ||
เงินสลึงติดชาย | ขอดไว้ | ||
เคหาอย่าศูนย์วาย | ข้าวเปลือก มีนา | ||
เฉินฉุกขุกจักได้ | ผ่อนเลี้ยงอาตมาฯ | ||
๑๗๗.สินใดบ่ชอบได้ |
มาเรือน | ||
อยู่แต่เจ็ดเดือนเตือน | ค่ำเช้า | ||
ครั้นนานย่อมเลือนเปือน | ปนอยู่ | ||
มักชักของเก่าเหย้า | มอดม้วยหมดโครงฯ | ||
๑๗๘.ตมเกิดแต่น้ำแล่น |
เป็นกระสาย | ||
น้ำก็ล้างเลนหาย | ซากไซร้ | ||
บาปเกิดใช่แต่กาย | เพราะจิตต์ ก่อนนา | ||
อันจักล้างบาปได้ | เพราะน้ำใจเองฯ | ||
๑๗๙.หน้าแช่มชื่นช้อยเช่น |
บัวบาน | ||
ถ้อยฉ่ำคำเฉื่อยหวาน | ทราบไส้ | ||
หัวใจดั่งดาบผลาญ | ชนม์ชีพ | ||
เขาเหล่านี้กล่าวไว้ | ว่าผู้ทรชนฯ | ||
๑๘๐.หลีกเกวียนให้หลีกห้า |
ศอกหมาย | ||
บ้านหลีกสิบศอกกราย | อย่าใกล้ | ||
ช้างยี่สิบศอกคลาย | คลาคลาด | ||
เห็นทรชนหลีกให้ | ห่างพ้นลับตาฯ | ||
๑๘๑.พาชีขี่คล่องคล้อย |
ควรคลา | ||
โคคู่ควรไถนา | ชอบใช้ | ||
บนชานชาติวิฬาร์ | ควรอยู่ | ||
สุนัขเนาแต่ใต้ | ต่ำเหย้าเรือนควรฯ | ||
๑๘๒.กระบือหนึ่งห้ามอย่า |
ควรครอง | ||
เมียมิ่งอย่ามีสอง | สี่ได้ | ||
โคสามอย่าควรปอง | เป็นเหตุ | ||
เรือนอยู่สี่ห้องให้ | เดือดร้อนรำคาญฯ | ||
๑๘๓.มีเรือค้าขี่ห้า |
ลำนอ ห้ามแฮ | ||
สุนัขหกอย่าพึงพอ | จิตต์เลี้ยง | ||
แมวเจ็ดเร่งเร็วขอ | มาใส่ อีกนา | ||
ช้างแปดม้าเก้าเหยี้ยง | อย่างห้ามเพรงมาฯ | ||
๑๘๔.มีเงินให้ท่านกู้ |
ไปนา | ||
ศิลปศาสตร์ฤาศึกษา | เล่าไว้ | ||
มีเมียอยู่เคหา | ไกลย่าน | ||
สามลักษณะนี้ใกล้ | แกล่แม้นไป่มีฯ | ||
๑๘๕.สบพบคนเคลิ้มอย่า |
เจรจา | ||
ลาภอยู่ไกลอย่าหา | ใคร่ได้ | ||
มีลูกโฉดปัญญา | ยากจิตต์ ตนนา | ||
เมียมิตรร้ายอย่าใกล้ | อยู่เพี้ยงขันทีฯ | ||
๑๘๖.ไร้สิ่งสินแล้วอับ |
ปัญญา | ||
อีกญาติวงศ์พงศา | บ่ใกล้ | ||
คนรักย่อมโรยราย | รสรัก กันแฮ | ||
พบแทบทางทำใบ้ | เบี่ยงหน้าเมินหนีฯ | ||
๑๘๗.อย่าเรียนเพียรคิดค้น |
ขุดของ | ||
อย่าตริตรึกนึกปอง | บ่อนเหล้น | ||
อย่าเรียนเวทมนต์ลอง | สาวสวาท | ||
แปรธาตุหนึ่งพึงเว้น | สี่นี้เบียนตนฯ | ||
๑๘๘.รักทรัพย์อย่ายิ่งด้วย |
วิชา | ||
สว่างอื่นเท่าสุริยา | ห่อนได้ | ||
ไฟใดยิ่งราคา | เพลิงราค ฤาพ่อ | ||
รักอื่นหมื่นแสนไซร้ | อย่าสู้รักธรรมฯ | ||