|
|
|
 |
สารประชาสัมพันธ์ |
|
|

แนะวิธีดูแลผิวหนังยามหน้าหนาาวมักเกิดผื่นแดงเป็นขุยที่ร่องจมูก |
|
|
แพทย์แนะนำวิธีดูแลผิวหน้าหนาว หากมีผิวหนังแห้งใช้ครีมบำรุงผิวที่ใช้ทาแล้วผิวนุ่มเนียนไม่มันเยิ้ม ควรระวังครีมที่มีราคาแพงมากและโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ไม่อาบน้ำร้อนจัด หรือแช่น้ำอุ่นนานๆ เพราะจะทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้น
นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์ผิวหนัง เปิดเผยว่า เนื่องจากในขณะนี้มีอากาศหนาวเย็นปกคลุมทุกพื้นที่ประเทศไทย ทำให้พบปัญหาผิวแห้ง โรคผิวแห้งทำให้เกิดอาการคัน หลายคนเข้าใจผิดว่าคันจากความสกปรก จึงยิ่งใช้สบู่ฟอกถูผิวที่แห้งคัน ยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้น บางคนใช้สบู่ยาฟอกผิวหนัง
เพราะเข้าใจผิดว่า ผิวแห้งคันเกิดจากการติดเชื้อโรค การใช้สบู่ยายิ่งทำให้ผิวแห้งและอักแสบแดง และผิวแตกเป็นแผลได้ หรือการอาบน้ำร้อนจัด หรือนอนแช่อ่างอาบน้ำอุ่น ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น ในหน้าหนาวอาจใช้สบู่อ่อนฟอกเฉพาะบริเวณอับชื้น เช่น รักแร้ ซอกขา ก็เพียงพอนอกจากนั้น ควรสวมเสื้อผ้าปกคลุมอย่างมิดชิด จะลดปัญหาผิวแห้งได้และยังป้องกันโรคหวัดอีกด้วย
นายแพทย์ประวิตร กล่าวต่อว่า ถ้ามีผิวแห้งมากควรใช้ครีมบำรุงผิวที่ไม่เหนียวเหนอะหนะ เลือกใช้ครีมที่ใช้ทาแล้วผิวนุ่มเนียน โดยที่ผิวไม่มันเยิ้มเลือกใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นที่มีคุณภาพดี ราคายุติธรรม ระวังครีมให้ความชุ่มชื้นที่มีราคาแพง ไม่สมเหตุสมผลและโฆษณาสรรพคุณเกินจริงครีมบำรุงเหล่านี้จะใช้แก้ไขปัญหาผิวแห้ง ทำให้ผิวหนังดูนุ่มเนียนขึ้นได้แต่ไม่อาจแก้ไขริ้วรอยเหี่ยวแก่ที่เกิดจากจากแสงแดดหรือการสูบบุหรี่ได้
นายแพทย์ประวิตร กล่าวด้วยว่า ในหน้าหนาว หลายคนจะมีผื่นแดงเป็นขุยที่ร่องจมูกแก้ม เหนือคิ้ว และแนวไรผม เรียกว่าโรคเซ็บเดิม ถ้าล้างหน้าฟอกสบู่บ่อย โรคนี้จะกำเริบบางคนมีรังแคของหนังศีรษะมากควรใช้แชมพูขจัดรังแคและครีมนวดผม อีกทั้งการสวมหมวกจะช่วยป้องกันหนังศีรษะแห้งและลดรังแคได้
|
|
|
........ ครูหญิงนาฎและทีมงาน
|
|
|
หมอชัยชุมพล
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงที่สงสัยว่าระบาดอยู่ในขณะนี้ (SARS : severe Acute Respiratory syndrome) |
|
|
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส (RNA ไวรัส) ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นสายพันธุ์ใด ซึ่งไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่
อาการ : มีไข้สูง ไข้มากกว่า 38 องศา ปวดศีรษะอย่างรุนแรง จามอย่างต่อเนื่อง เจ็บหน้าอกใน 3 วันแรก บางรายมีอาการตาแดง หลอดลมและต่อมทอนซิลอักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว ประมาณวันที่ 7 ไข้จะลด แต่ยังมีอาการไอ ระคายคออยู่ เจ็บหน้าอกและลำคอ ในรายที่รุนแรงจะตายด้วยอาการระบบหายใจล้มเหลว เนื่องจากปวดบวม
ระยะฟักตัว : ประมาณ 3-7 วัน
การติดต่อ : ขณะนี้ยังไม่ทราบวิธีติดต่อที่แน่ชัด แต่คาดว่าจะเป็นกรณีที่สัมผัสกันโดยตรง ระยะใกล้ใน 3 ฟุต การสัมผัสที่ใกล้ชิด (face to face)
วัคซีน : เนื่องจากยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดจากเชื้อชนิดใด/สายพันธุ์ไหนจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ควรใช้วัคซีนอะไรรักษาโรคได้
ประเทศที่มีเขตเกิดโรคนี้ (14 ประเทศ) : จีน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิสราเอล อังกฤษ สโลวาเนีย ฟินแลนด์ แคนาดา
การป้องกันสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ
ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศจีนตอนใต้ ฮ่องกง กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เยอรมัน แคนาดา สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ สโลวาเนีย อิสราเอล อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หากไม่มีความจำเป็น ควรพิจารณาหลีกเลี่ยง หรือเลื่อนการเดินทางไปก่อนในขณะนี้ หากมีความจำเป็นจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันโรคของทางราชการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ ควรนำ mask (หน้ากากปิดปากจมูก) ชนิด N95 เตรียมไว้ด้วย mask ชนิดนี้อายุการใช้งานคือใช้จนกว่าจะมีความรู้สึกว่ามีกลิ่น |
|
|
หมอครู หมอดู หมอเส้น อ.สุภาพรรณ
|
|
 |
ประมวลภาพ |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|