![]() |
|
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) จะไคมะขูด หรือ ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon winterianus Jowitt. |
วงศ์ |
GRAMINEAE (POACEAE) |
ชื่อสามัญ |
Citronella Grass |
ลักษณะ |
เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้ ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า ดอกออกเป็นช่อฝอย สีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่แทงออกจากกลางต้น ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก |
การขยายพันธุ์ |
โดยการแยกหน่อหรือเหง้าไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีการระบายน้ำดี |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ใบ ต้น ราก |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
ในใบและลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น กรดเบนโซอิก (benzoic acid), ซิทราล (citral) , การบูร,เจอรานิออล (geraniol), ยูจีนอล (eugenol) และซิโทรเนลลาล (citronellal) |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() |
ข้อควรรู้ |
|