ชื่อท้องถิ่น

เกรียน เลี่ยน เคี่ยน เฮี่ยน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Melia toosendan Sieb.&Zucc.

วงศ์

MELIACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ในตระกูลเดียวกับสะเดา มีถิ่นกำเนินในอินเดีย ในปัจจุบันมีอยู่ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อน ใช้เป็นไม้ประดับ ปลูกให้ร่มเงาในสวนและริมถนน เปลือกสีเทา
ลำต้น สูงประมาณ 20 เมตร
ใบ จะเป็นช่อประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อย 2 - 7 คู่ รูปรี (รูปไข่) หรือรูปใบหอก กว้าง 1 - 2 ซ.ม. ยาว 5 - 6 ซ.ม. ปลายแหลมโคนใบสอบ ใบอ่อนขอบใบเรียบ ใบแก่ขอบใบหยัก ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน ตามเส้นใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่
ดอก สีม่วงอ่อน ขนาด 1.5 ซ.ม. กลีบเกสรที่อยู่กลางดอกเป็นสีม่วงเข้ม ตัดกับสีของกลีบดูสวยงาม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อน ยาว 1 ซ.ม. เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด
ผล เป็นลูกกลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 -2.5 ซ.ม.ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน มักพบตามป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 700 - 1,200 เมตร

การขยายพันธุ์

เมล็ด และการปักชำราก

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เปลือกของต้น ใบ ผล และเมล็ด ยาง

สารเคมีที่สำคัญ

อัลคาลอยด์ azaridine

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้


 ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต แก้นิ่ว :  ใช้น้ำที่คั่นจากใบ
 แก้ปวดศีรษะ :   ใช้ดอกและใบ ตำพอกศีรษะแก้ปวดประสาท
 แก้ม้ามโต :   ใช้ยาง
 แก้ปวดในข้อ :   ใช้เมล็ด

ข้อควรรู้

ถ้าเด็กกินลูกเลี่ยน 6 - 7 ลูกอาจถึงตายได้