การประคบสมุนไพร คือการใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดขัดยอกซึ่งน้ำมันหอมระเหยเมื่อถูกความร้อน จะระเหยออกมา ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และยังมีสารสำคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้ |
![]() |
|
![]() |
1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด กว้าง 35 x ยาว 35 เซนติเมตร 2 ผืน |
![]() |
2. เชือก หรือ หนังยาง |
![]() |
3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ |
![]() |
4. เตา พร้อมหม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ |
![]() |
5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ |
![]() |
|
(ลูกประคบ 2 ลูก) |
![]() |
1. ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ |
![]() |
2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน |
![]() |
3. ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น |
![]() |
4. ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว |
![]() |
5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง |
![]() |
6. เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น |
![]() |
7. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ |
![]() |
8. ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน |
![]() |
||
![]() |
1. หั่นหัวไพล, ขมิ้นชัน. ต้นตะไคร้, ผิวมะกรูด, ตำพอหยาบ ๆ (เวลาประคบจะทำให้ระคายผิว) | |
![]() |
2. นำใบมะขาม, ใบส้มป่อย(เฉพาะใบ)ผสมกับสมุนไพร ข้อ1 เสร็จแล้วให้ใส่เกลือ, การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันแต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ | |
![]() |
3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลงให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม) | |
![]() |
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที | |
![]() |
5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่าง ๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ |
![]() |
|
![]() |
1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย, นั่ง, นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร |
![]() |
2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ) |
![]() |
3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรก ๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นาน ๆ เพราะคนไข้จะทนความร้อนไม่ได้มาก |
![]() |
4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตาม ข้อ 2,3,4 |
![]() |
|
จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน | |
![]() |
1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย |
![]() |
2. ลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ, เอ็น, ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง |
![]() |
3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ |
![]() |
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ, พังผืด ยึดตัวออก |
![]() |
5. ลดการติดขัดของข้อต่อ |
![]() |
6. ลดอาการปวด |
![]() |
7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด |
![]() |
|
![]() |
1. ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผล |
มาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลงจากเดิม | |
![]() |
2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว |
ความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะ | |
"ใช้ลูกประคบที่อุ่น ๆ" | |
![]() |
3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล การอักเสบ (ปวด, บวม, แดง, ร้อน) ในช่วง 24 |
ชั่วโมง | |
![]() |
4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และ |
อุณภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้ |
![]() |
|
![]() |
1. ลูกประคบสมุนไพรที่ทำในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ 3-5 วัน |
![]() |
2. ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น (ควรเช็คลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือ |
เหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้) | |
![]() |
3. ถ้าลูกประคบแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว |
![]() |
4. ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว (คุณภาพน้อยลง) จะ |
ใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่ |