![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น หมิ้น (ใต้) ตายอ (กะเหรียง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma longa L. ( C. domestica Valeton ) |
วงศ์ |
ZINGIBERACEAE |
ชื่อสามัญ |
Turmeric |
ลักษณะ |
ต้นและหัว เป็นพืชล้มลุก ต้นสูงประมาณ 30 -90 ซม. มีเหง้าอยู่ใต้ดินรูปไข่ มีแขนงแตกออกด้านข้างทั้งสองด้าน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน ใบเป็นรูปหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ดอก เป็นช่อกแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนแกมขาว บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล เป็นรูปกลมมี 3 พู |
การขยายพันธุ์ |
แยกหน่อหรือใช้เหง้าแก่ที่มีอายุประมาณ 1 ปี ตัดเป็นท่อน ๆ ให้มีตาท่อนละ 1-2 ตาปลูกลงแปลงในหลุมลึกประมาณครึ่งคืบ หลังจากปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ ขมิ้นชันจะเริ่มงอก หากฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
เหง้า |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
มีน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ข้อควรระวัง |
- ไม่ควรชื้อผงขมิ้นชันตามท้องตลาด ควรทำเอง เพราะขมิ้นผงที่ขายในท้องตลาดส่วนมากทำจากขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีในการทำมักใช้ความร้อน ซึ่งจะทำให้น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคระเหยไป - คนไข้บางคนอาจแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นใส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาในทันที |
การพลู | ![]() |
![]() |
![]() |
ขลู่ |