ชื่อท้องถิ่น

เก้ออี ผกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) คา, ลาลาง, คาหลวง (มลายู) ลาแล (มลายู-ยะลา) แปะเหม่ากึง, เตี่ยมเชากึง (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Imperata cylindrica (L.) P. Raeusch.

วงศ์

GRAMINEAE (POACEAE)

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก สูง 0.3-0.9 เมตร มีเหง้าใต้ดินรูปร่างยาว และแข็ง ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า กว้าง 1-2 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ขอบใบคม ดอกเป็นช่อทรงกระบอกแทงออกจากเหง้า ดอกย่อยติดกันแน่น ดอกแก่มีขนฟูสีขาว ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

การขยายพันธุ์

โดยเมล็ดหรือเหง้า

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ราก ดอก ขน (ดอกแก่) และใบ

สารเคมีที่สำคัญ

มี Arundoin, Cylindrin, กรดอินทรีย์ น้ำตาล

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ : รากและเหง้าสดหรือแห้ง 1 กำมือ (สดหนัก 40-50 กรัม ถ้าแห้งหนัก 10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร

  เลือดกำเดาออกง่าย : ใช้ดอกแห้ง 15 กรัม จมูกหมู 1 อัน ต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมง กินหลังอาหาร หรือใช้ขน (ดอกแก่) 15 กรัม ต้มกับน้ำ รับประทาน และขณะที่เลือดออก ใช้ช่อดอกหรือขนตำอุดรูจมูกด้วยเพื่อห้ามเลือด

ข้อควรระวัง

  คนที่มีปัสสาวะมาก แต่ไม่กระหายน้ำ ห้ามรับประทานราก

เสลดพังพอน สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน หญ้าหนวดแมว