ชื่อท้องถิ่น

ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Coccinia grandis (L.) Voigt

วงศ์

CUCURBITACEAE

ชื่อสามัญ

Ivy Gourd

ลักษณะ

ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม หักเป็นห้ามุม หรือเว้าลึกเป็นแฉก 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาว 5-8 ซม. โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะเป็นเส้นยาว ออกที่ข้อ ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาว รูประฆัง ผล เป็นผลสด รูปทรงกระบอก

การขยายพันธุ์

เมล็ด ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เถา ใบสด ผล ราก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

เอนไซม์อะไมเลส เบต้าแคโรทีน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

  ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

  ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)

  แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

  แก้งูสวัด, เริม:ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

  แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

  ทำให้ใบหน้าเต่งตึง:นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

ประโยชน์

ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง เพราะในใบและเถามีเอนไซนม์อะไมเลส (Amylase) ซึ่งช่วยในการย่อยแป้ง

ตะไคร้ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เตยหอม