ชื่อท้องถิ่น

ว่านอ้อยช้าง(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Schefflera leucantha vigvier

วงศ์

ARALIACEAE

ชื่อสามัญ

Edible - stemed Vine

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูง 1 - 4 เมตร ผิวลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ออกเป็นกระจุก ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบมีหูใบซึ่งจะอยู่ติดกับก้านใบพอดี พื้นผิวใบเรียบ เป็นมัน ริมขอบใบเป็นคลื่น เล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่ออ่อนมีสีเขียวแก่ เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

การขยายพันธุ์

ปักชำ ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบ

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ


สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด  :  เอาหนุมานประสานกาย 5 - 10 ช่อ ต้มกับน้ำ ประมาณ 7 - 10 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ หรือดื่มวันละหนึ่งครั้ง

  รักษาอาการช้ำใน  :  ใช้หนุมานประสานกาย 1 - 3 ช่อ ตำให้ละเอียด ต้นกับน้ำครึ่งแก้ว แล้วกรองด้วยผ้าผ้าขาวบาง ใช้น้ำยานี้กิน ทุกเช้า - เย็น เป็นตัวยาที่ค่อนข้างเข้มข้น

  แผลในปากที่เกิดจากการร้อนใน  :  รับประทานใบสด 1 - 2 ใบ เคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลืน เช้า - เย็น

  แก้ไอ แก้หอบหืด แก้อาเจียน เป็นเลือด  :  ใช้ใบสด 10 ใบ ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับเหล้าขาว

  สมานแผล และห้ามเลือด  :  ใช้ใบสดตำละเอียด เอากากมาพอกหรือทา

ข้อควรรู้