ชื่อท้องถิ่น

รก (ภาคกลาง) กระโปรงทอง (ภาคใต้) หญ้ารกช้าง (พังงา) ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท) ผักขี้หด (เลย) ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Passiflora foetida

วงศ์

PASSIFLORACEAE

ชื่อสามัญ

-

ลักษณะ

เป็นเถาอุ้มน้ำ เถาแก่แข็งและเหนี่ยวสีน้ำตาล เถาอ่อนสีเขียวอมเหลือง มีมือเกาะยาว มีอายุเพียงปีเดียว เส้นผ่านศูนย์กลางของเถาที่ปลายยอด 3-5 มิลลิเมตร ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม โคนใบและด้านข้างเว้า ใบยาว 6-10 เซนติเมตร เส้นใบด้านล่างนูน เส้นใบด้านบนจมลงไปเห็นชัดเจน ตามเถา มือเกาะก้านใบและใบจะมีขนขึ้นอยู่เต็มไปหมด ดอกออกที่ซอกใบ ดอกสีขาวมีรกหุ้มฐานรองดอกเป็นร่างแห 3 แฉก ผลโป่งพอสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง มีเมล็ดมาก เนื้อหุ้มเมล็ด สีขาว รสหวานอมเปรี้ยว

การขยายพันธุ์

โดยเมล็ด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เนื้อไม้ เปลือก เมล็ด ราก และใบ

สารเคมีและสารอาหารสำคัญ

-

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

เนื้อไม้ เป็นยาคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด ใช้รักษาบาดแผล
เปลือก นำมาต้มรมแผลที่เปลื่อยเน่าทำให้แผลแห้ง
เมล็ด ใช้ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืดเฟ้อ ทำให้ผายลม โดยตำเมล็ดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำสับปะรด ลมควันให้อุ่นและใช้ทาท้องเด็ก
ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค
ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่มเป็นยาขับพยาธิ หรือใช้เป็นยาเบื่อ หรือตำให้ละเอียดเอากากสุมศรีษะ แก้ปวดศรีษะ แก้ไข้หวัด