ชื่อท้องถิ่น

มะปิน (เหนือ), กะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะปิส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bael Tree / Bengal Quince Aegle Marmelos (L .) Correa

วงศ์

RUTACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

ไม้ยืนต้นสูง 10 - 1 5 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2 -7 ซม. ยาว 4 - 13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบและที่ปลายกิ่งกลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผลรูปกลมถึงรี เปลือกแข็ง เมื่อสุก เนื้อในสีเหลืองนวล มีน้ำเมือก รสหวานหอม มีเมล็ดจำนวนมาก มะตูมมีหลายพันธุ์ ที่นิยมนำมาทำยาคือมะตูมนิ่ม ผลแก่จัดในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ตามธรรมชาติพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลโตเต็มที่ ฝานบาง ๆ ทำให้แห้ง

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ


สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  รักษาสิว : ใช้ผลสุก ผ่าครึ่งตักเนื้อออก เอาเปลือกฝนกับฝาละมี (ฝาหม้อดิน) ให้เป็นครีม ใช้แต้มหัวสิวก่อนนอน แล้วล้างออกในตอนเช้า จนหัวสิวหลุด

  บำรุงครรภ์ : ใช้ เปลือกผล ฝนกับน้ำปูนใส ทาให้ทั่วท้องที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยบรรเทาความร้อน

  รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง : นำใบมาตำละเอียด พอกแผล

  แก้ท้องเสียเรื้อรัง : ใช้ผลดิบ ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วคั่วให้หอม 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 แก้ว ให้เดือดนาน 10 - 15 นาที ดื่มตอนอุ่น ๆ ครั้งละ 1 แก้ว ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนอาการบรรเทา

  แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ : ใช้ผลแก่ ขูดผิวออกให้หมดทุบพอร้าว ใส่น้ำตาล เรียกว่า น้ำอัฐบาน หรือใช้ผลห่ามฝานเป็นแผ่นตากแดด ย่างไฟพอหอม ต้มหรือชงในน้ำร้อน เติมน้ำตาล ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

  แก้ท้องผูก : ผลสุก กินเนื้อครั้งละ 1 ลูก ดื่มน้ำตามมาก ๆ

ข้อควรรู้และควรระวัง

ใบอ่อนนิยมนำมาจิ้มน้ำพริก ถ้ากินมากจะทำให้เป็นหมันหรือแท้งลูกได้ ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง