ชื่อท้องถิ่น

กันโตต กำทวด (เขมร - จันทบุรี), กันโดด กำหวด กำทวด (ราชบุรี), มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน), อิ่ว อำโบหล็ก (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus emblica Linn.

วงศ์

EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น 8 - 20 เมตร ลำต้นขรุขละ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกล่อนเป็นแผ่นเนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาล กิ่งก้านแตกเป็นพุ่ม ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน ออกสลับเรียงเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน รูปใบเรียว ปลายแหลม โคนใบมน ขนาดใบกว้างราว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร ดอก ดอกสีขาวนวล ดอกออกช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบรวมราว 5 -6 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกษรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3 พู มะข้ามป้อมจะผลิดอกในราวเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน ผล สีเขียวอ่อน มีลักษณะกลม ผิวเรียบ ขนาดผลเมื่อโตเต็มที่จะมีเส้นแบ่งเป็นพู ตามยาว 6 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างราว 2 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด สีเขียวอมเหลือง รสฝาดเปรี้ยว

การขยายพันธุ์

ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เปลือกต้น, ผล, ใบสด , ราก,

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

วิตามินซีสูงถึง 700 - 1000 มิลลิกรัม/1 ผล และ แคลเซียม

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำใช้ผลแก่จัด มีรสขมอมเปรี้ยวอมฝาด เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือ ใช้ผลแห้ง ประมาณ 6 - 10 กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ 10 -20 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม

  อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง อาการขาดวิตามินซี ให้ใช้ผลสด 15 -30 ผล คั้นเอาน้ำมาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำเป็นครั้งคราว

  แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด ขาดวิตามินซี) ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย ให้ใช้ผลสด 5 -15 ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม

  แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะพอสมควรต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น

  ความดันเลือดสูง หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ให้ใช้รากแห้ง 15 -30 กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ 3 - 4 ครั้ง

  แก้หอบ ให้ใช้ผล 21 ผล ต้มรวมกับหัวใจและปอดหมูให้เดือด ตักฟองทิ้ง ใช้ดื่มและรับประทานเนื้อด้วยก็ได้

  แก้ปวดฟัน ให้ใช้ปมที่กิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปากบ่อย ๆ จะบรรเทาอาการปวดฟันลงได้

ข้อควรรู้และควรระวัง