![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
สีดา (นครปฐม) มะก้วยกา มะมั่น (เหนือ) มะก้วย(เชียงใหม่) มะจีน (ตาก) ยะริง (ละว้า - เชียงใหม่) มะกา (แม่ฮ่องสอน) ย่าหมู ยามู (ใต้) จุ่มโป (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) ยะมูบุเตปัยา (มาเลย์ - นราธิวาส ) ปั้กเกี้ย (จีนแต้จิ๋ว) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Psidium guajava |
วงศ์ |
Myrtaceae |
ชื่อสามัญ |
Guava |
ลักษณะ |
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งเหนียว แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม บิดเล็กน้อย รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบมีขนอ่อนนุ่ม ท้องใบหยาบเห็นเส้นใบเป็นร่างแห พื้นใบมีสีเขียวอมเทา ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้น ๆ ดอกออกที่ส่วนยอดของกิ่ง ช่อละ 2 - 3 ดอก ขนาดไม่ใหญ่นัก สีขาว ผลเมื่อดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เนื้อในสีขาว มีเมล็ดภายในสีน้ำตาลอ่อน |
การขยายพันธุ์ |
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และตัดยอดปักชำ(ต้นที่ใช้ทำพันธุ์ควรมีลูกดก รสอร่อย มีเมล็ดน้อย) ไม่ชอบน้ำขังแฉะและอากาศเย็นจัด แต่ถ้าปลูกในที่ลุ่ม ก็ควรยกเป็นร่อง เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการรดน้ำ |
ส่วนที่นำมาเป็นยา | ผล ใบ ลำต้น ราก |
สารเคมีที่สำคัญ |
ใบ มีน้ำหอมระเหย ประกอบด้วย caryophyllene , cineol , นอกจากนี้ยังมี tannin , sesquiterpenoids และ triterpenoid compounds ผล พบสาร fixed oii 6% , volatile oil 0.365 % tannin 8-15 % , beta-sitosterol , quercetin |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() เคี้ยวใบสด 3 - 5 แล้วกลืนน้ำตาม อาการท้องเสียจะเริ่มเบาบางลงไปหลังจากกินยา 1/2 - 1 ชั่วโมง ![]() ![]() นำเปลือกหุ้มลำต้นไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปิดแผลเปลี่ยนยาวันละ 2 - 3 ครั้ง ![]() ![]() ใช้ผลสด 500 กรัม ผลฝรั่งแห้ง 250 กรัม ต้มกับน้ำเคี่ยวจนข้น เอาน้ำล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วันละหลาย ๆครั้ง ![]() ![]() |
ข้อควรรู้ |
1. การรับประทานฝรั่ง โดย เฉพาะ ผลดิบและใบมากไปอาจทำให้ท้องผูก 2. ยาต้ม ที่ได้จากการต้มจาก ใบ ผลดิบ เปลือกต้นและเปลือกรากฝรั่ง ที่มีความเข้มข้นมากถ้ากินติดต่อกันนานเกินไปจะมีสารแทนนิน ที่ละลายออกมามากในขณะที่ต้ม ซึ่งมีพิษต่อ ตับ และ ไต 3. ฝรั่งสุกกินมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ |