 |
 |
 |
พระองค์ทรงแนะนำให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนร้อยล่ะ 30 : 30 : 30 : 10 |
พื้นฐานของเกษตรกรที่จะปฏิบัติได้แก่ |
- มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ |
- ค่อนข้างยากจน |
- จำนวนสมาชิกปานกลาง (ไม่เกิน 6 คน) |
- อยู่ในเขตใช้น้ำฝนธรรมชาติ ฝนไม่ตกชุกมาก ดินมีสภาพเก็บน้ำได้ |
|
- ขุดสระประมาณ 4 ไร่ ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะลดการระเหยของน้ำได้ดี สำหรับเก็บน้ำฝน เพื่อใช้ในฤดูแล้ง ดินที่ขุดถมพื้นที่เพื่อกันน้ำท่วม หากไม่ใช้ทำคันดิน จะต้องแยกส่วนบนไว้สำหรับเกลี่ยทับดินชั้นล่าง รูปสระยืดหยุ่นได้ เช่น ถ้าพื้นที่มีฝนตกทั้งปีและมีชลประมาณ อาจจะน้อยกว่าร้อยล่ะ 30 ในกรณีส่งน้ำจากชลประทานได้ ต้องส่งน้ำในระบบท่อปิดเพื่อลดการสูญเสีย |
- การใช้น้ำต้องประหยัด เช่น การตักรด การสูบทางท่อยาง |
- เลือกพืชและวิธีปลูกที่เหมาะสม น้ำที่เก็บในสระหากเหลือในฤดูแล้ง ควรปลูกพืชระยะสั้นและได้ราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ |
|
|
- ปลูกข้าวประมาณ 4.5 ไร่ เนื่องจากทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า ข้าวเป็นอาหารหลักประจำวันของคนไทย มาแต่ดึกดำบรรพ์ และเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคง มั่นใจในการดำเนินชีวิต |
- หลังจากเก็บเกี่ยวข้าว หากน้ำยังเหลือ ควรปลูกพืชระยะสั้นและได้ราคาดี |
 |
- เนื้อที่ 4.5 ไร่ ปลูกพืชสวน ไม้ยืนต้น และพืชไร่ผสมผสาน |
- วิธีการและชนิดของพืชที่จะปลูกขึ้นอยู่กับ ภูมิอากาศ ฤดูกาล ตลาด เส้นทางคมนาคม และประสบการณ์ ภูมิปัญญา |
- การปลูกพืชหลายชนิด เป็นการช่วยกระจายเงินทุน แรงงาน น้ำ และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ความเสียหายจากศัตรูพืช ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ และกระจายรายได้ |
- พืชที่ปลูกระยะแรกควรเป็นกล้วย เพื่อบังร่มและเก็บความชื้นให้ดิน จากนั้นควรเป็นผลไม้และไม้ยืนต้น ระหว่างไม้ยืนต้นไม่โต ควรปลูกพืชล้มลุก เช่น พริก มะเขือ ถั่วต่าง ๆ หลังจากนั้นควรปลูกไม้ทนร่ม เช่น ขิง ขา และพืชหัว |
พืชสวน (ไม้ผล) เช่น มะม่วง มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวหอม มะขาม ขนุน ละมุด ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มโชกุน ฝรั่ง น้อยหน่า กระท้อน มะละกอ ชมพู่ และกล้วย |
พืชสวน (ผักยืนต้น) เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา ชะอม ขี้เหล็ก ผักหวาน กระถิน เหลียง เนียง สะตอ หมุ่ย ชะมวง มันปู มะอึก มะกอก ย่านาง ถั่วมะแฮะ ตำลึง ถั่วพลู และมะเขือเครือ |
พืชสวน (ผักล้มลุก) เช่น พริก กระเพรา โหรพา ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ชะพลู แมงลัก สะระแน่ บัวบก มันเทศ มันสำปะหลัง เผือก บุก ถั่วฝักยาว และถั่วพลู |
พืชสวน (ไม้ดอกไม้ประดับ) เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก ซ่อนกลิ่น ปทุมขมา กระจียว และดอกไม้เพื่อทำดอกไม้แห้ง |
เห็ด เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ |
สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น บางชนิดจัดอยู่ในกลุ่มพืชผัก เช่น พริก พริกไทย กระเพรา สระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ ชนิดที่รักษาโรค เช่น ขมิ้นชัน พญายอ เสลดพังพอน ไพล เป็นต้น |
พืชน้ำ (ปลูกในสระ) เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้งไทย กระจับ หน่อไม้ บัวสาย ผักกูด และโสน |
ไม้ยืนต้น (ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง บางชนิดมีส่วนที่กินได้) เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล เสียว กระถิน สะแก ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก สัก ยางนา พืชบำรุงดินเช่น ประดู่บ้าน ประดู่ป่า พยุง ชิงชัน กระถินณรงค์ มะค่าโมง ทิ้งถ่อน จามรีป่า ทองหลาง กระถินไทย และมะขามเทศ |
พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอกกระเจา อ้อยคั้นน้ำ และมันสัปประหลัง |
พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน พืชล้มลุก พืชล้มลุก ควรปลูกแซมไม่ยืนต้นที่ยังเล็กอยู่ หรือหลังจากปลูกข้าว เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนอัฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพลู พืชยืนต้น อาจปลูกตามหัวไร่ ปลูกรวมกับพืชสวน และบางอย่างใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ขี้เหล็ก ชะอม ถั่วมะแฮะ สะตอ หางไหล มะขาม มะขามเทศ มะขามแขก ประดู่บ้าน ทองหลาง และสะเดาช้าง สำหรับพื้นที่ลาด ควรปลูกแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน |
แนวทางประกอบการพิจารณาเลือกปลูกพืชผสม โดยแบ่งตามความสูงเรือนยอด ดังนี้ |
สูง เช่น มะพร้าว มะขาม ประดู่ ไผ่ ขนุน เหลียง สะตอ เนียง มะตูม |
ปานกลาง เช่น มะม่วง ส้ม มะนาว มะรุม ผักหวาน ขี้เหล็ก มะดัน กระท้อน น้อยหน่า กล้วย มะละกอ อ้อย สะเดา มะกรูด ชะมวง หมุ่ย ชะอม มะยม ทองหลาง มะกอกป่า มะเฟือง มะอึก ยอ เป็นต้น |
ชั้นล่าง เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ สะระแหน่ บัวบก บอน กระชาย ขมิ้น ชะพลู สับประรด |
การปลูกพืชหลายอย่าง แบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ |
พืชสวนครัว เช่น พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก ตะไคร้ มะกรูด พริกไทย มะอึก มะนาว |
รั้วกินได้ เช่น ตำลึง ขจร โสน ถั่วพลู มันปู กระถิน มะขามเทศ บวบ ฟักเขียว มะระ มะเขือเครือ ไผ่ น้ำเต้า ฟักเขียว ผักแป๋ม เป็นต้น |
รั้วกินได้ เช่น ตำลึง ขจร โสน ถั่วพลู มันปู กระถิน มะขามเทศ บวบ ฟักเขียว มะระ มะเขือเครือ ไผ่ น้ำเต้า ฟักเขียว ผักแป๋ม เป็นต้น |
ผักส้มตำ เช่น มะละกอ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม มะนาว พริก |
ผักข้าวยำ เช่น กระถิน ส้มโอ มะดัน มะขาม สะตอ ถั่วฝักยาว ตะไคร้ มะม่วง ข่า มะกรูด มะพร้าว |
ผักแกงแค เช่น ชะอม ชะพลู กระเพราขาว ตำลึง ผักชีฝรั่ง ผักขี้หูด มะเขือเปราะ หน่อไม้ ผักเผ็ด ถั่วฝักยาว มะเขือพวง ตะไคร้ |
 |
เป็นที่อยู่อาศัย ถนน คันดิน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ และการเลี้ยงสัตว์ |
ควรเลี้ยง สัตว์บก เช่น วัวนม หมู ไก่ เป็ด สัตว์น้ำ เช่น ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลานิล ปลาทับทิม โดยคำนึงถึง แรงงาน เงินทุน และพิ้นที่ที่เหลือ เน้นเป็นรายได้เสริม และอาหารประจำวัน การเลี้ยงควรทำตามคำแนะนำของนักวิชาการ |
 |
เมื่อทำเกษตรตาม "ทฤษฎีใหม่" ผ่านไปหลาย ๆ ปี ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรจำเป็นต้องปรับตัวเอง เช่น |
1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมชลประทาน ฯลฯ) |
2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต |
3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม) |
4. สวัสดิการ (สาธารณสุข ยารักษาดรค เงินกู้ ฯลฯ) |
5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษาฯลฯ) |
6. สังคม และศาสนา เป็นต้น |
 |
เมื่อกิจการขั้นที่หนึ่ง และสองเจริญเติบโต จำเป็นต้องพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับแหล่งเงินทุน และแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) หรือเอกชน เช่น ตั้งและบริหารโรงสี ตั้งและบริหารสหกรณ์ ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน เกษตรกรขายได้ในราคาสูง ธนาคารกับบริษัทซื้อสินค้าในราคาต่ำ (ซื้อโดยตรงจากเกษตรกร) |
|