|
|
พื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ทำให้มีถ้ำและ |
อุโมงค์อยู่หลายแห่ง ภูเขาชัยชุมพล เดิมชื่อเขาโคกหม้อ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองทุ่งสง เป็นภูเขาที่มีภูมิทัศน์สวยงามตามธรรมชาติ มีถ้ำหลายถ้ำ ได้แก่ |
|
"ถ้ำแม่สน" |
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสวนสาธารณะ ปากทางเข้ามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 15 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีช่องทางสามารถปีนทะลุไปยังถ้ำตีเหล็กได้ |
|
"ถ้ำตีเหล็ก" ตั้งอยู่บริเวณชั้นเขา สูงจากพื้นดินประมาณ 15 เมตร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ |
ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ลานหินต่างระดับ พร้อมลานดินขนาดใหญ่ สามารถเดินทะลุไปยังภูเขาอีกด้านได้ บริเวณลานดิน จะมีเพดานถ้ำที่มีลักษณะหินเรียบ แตกต่างกับส่วนอื่น ที่เป็นหินงอกหินย้อย |
|
"ถ้ำกระโจม" ตั้งอยู่ด้านบนภูเขา ปากทางเข้าอยู่บริเวณด้านหลังภูเขา ลักษณะเป็นกระโจม |
มีแสงแดดส่องลงมาจากด้านบน |
|
"ถ้ำตลอด" หรือที่ชาวทุ่งสงเรียกกันว่าถ้ำหลอด เป็นถ้ำที่รู้จักกันมานานเท่าใดไม่มีหลักฐาน |
ปรากฏทราบเพียงแต่ว่าในปี พ.ศ.2431 นายบุญช่วย กุมารจันทร์ ได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น
ต่อมาได้สร้างพระพุทธรูปอื่น ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชามาตามลำดับ "ถ้ำตลอด" เป็นถ้ำของภูเขาวัดโคกหม้อ(วัดชัยชุมพล)
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2484 เมืองทุ่งสง ในฐานะชุมทางการคมนาคมที่สำคัญ
จึงตกเป็นเป้าหมายของฝ่ายพันธมิตร และฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นยึดเอาเมืองทุ่งสงเป็นเป้าส่งกำลังบำรุงเพื่อขยายแนวรบสู่ประเทศพม่า
เกณฑ์แรงงานคนทุ่งสงสร้างสนามบินทุ่งชน และปรับจุดยุทธศาสตร์พักกำลังพล โดยสร้างทางรถไฟเลียบภูเขาด้านตะวันออก
ภูเขาโคกหม้อจึงกลายเป็นเป้าโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ถ้ำกระโจมซึ่งอยู่ด้านบนเขาพังทะลายลง
ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อภูเขาโคกหม้อเป็นภูเขา"ชัยชุมพล" เพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์
ลักษณะของถ้ำตลอดหันหน้าไปทางทิศเหนือ และสามารถเดินทะลุได้ เมื่อเข้าไปภายในถ้ำ จะรู้สึกเย็น
ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์สวยงาม 1 องค์ ความยาว 11 เมตร
หันเศียรไปทางทิศใต้ตามส่วนลึกของถ้ำ พระบาทหันไปทางปากถ้ำ ทั้งยังมีพระพุทธรูปเท่าองค์จริงประดิษฐานเรียงรายไปกับผนังถ้ำทางด้านทิศตะวันตกจนสุดถ้ำ
ผนังถ้ำทั้งสองด้านเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือของครูแนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาจิตรกรรม
ประจำปี 2534 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกลางปากทางเข้าถ้ำมีสิงห์โตแกะสลักจากหินขนาดใหญ่ดูโดดเด่นสวยงาม
ด้านข้างปากถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดต่าง ๆ และเจดีย์ ฯลฯ บริเวณภายนอกถ้ำมีพระพุทธรูปเหมือน อันเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนภาคใต้
ได้แก่พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดธาตุน้อย, หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง, พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง, หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ และหลวงปู่เขียว
วัดหรงบน ประดิษฐานอยู่ทั่วบริเวณ |