ปาฐกรู้สึกเป็นเกียรติยศอย่างสูงที่ได้มาแสดงปาฐกถาในสามัคยาจารยสมาคม
และการที่มาแสดงปาฐกถาดังนี้ไม่ถือว่าเป็นการมาทำบุญคุณแก่สมาคมที่จริงถือเป็นการสนองคุณสมาคมที่ได้ให้เกียรติยศ
การมาแสดงปาฐกถาเรื่องสุภาษิตต่างๆ นี้ ไม่ใช่นำเอาความรู้ใหม่ๆ อะไรมาให้ เป็นแต่จะฟื้นความรู้เก่าของผู้ฟังเท่านั้น
สุภาษิตต่างๆ ที่นำมากล่าวมีหลายชาติหลายภาษา แต่ไม่แปลว่าปาฐกจะรู้ภาษาเหล่านั้นไปทั้งหมด สุภาษิตโดยมากนำมาจากคำแปลที่เขาแปลไว้จากภาษาเดิมบ้าง ขอให้ผู้รู้ภาษานั้นๆ รวบรวมให้บ้าง
ถ้อยคำของสุภาษิต จะหวังให้ถูกต้องตามคำเดิมไม่ได้ อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แม้ของไทยเราก็ยังเปลี่ยนมากๆ เช่น
|
"ถ้าจะดัดไม้ ให้ดัดเมื่อยังอ่อน" "ให้ดัดไม้เมื่อยังอ่อน" "ไม้อ่อนดัดง่าย" "ไม้อ่อน บ่ ห่อนหัก" |
|
การเรียนสุภาษิตเป็นการเรียนที่ได้เปรียบและมีประโยชน์มาก นอกจากจะเป็นเครื่องบำรุงความคิดและสอนทางปฏิบัติแล้ว สุภาษิตยังเป็นเครื่องวัดนิสัยใจคอคนได้อย่างถูกต้อง
คนที่ไม่ชอบสุภาษิต เป็นคนใจร้าย มีภาษิตในพระพุทธศาสนาอยู่ว่า
|
นตฺถิทุฏเฐ สุภาสิตํ |
|
คนที่ใจร้ายย่อมไม่ชอบสุภาษิต |
|
เนวทุฏเฐ นโย อตถิ |
|
เมื่อหัวใจร้ายแล้วความคิดที่แยบคายก็ไม่มี |
|
น ธมฺโม น สุภาสิตํ |
|
ธรรมะก็ไม่มี และสุภาษิตก็เลยไม่มีไปด้วย |
อธิบายคำว่าสุภาษิต |
คำพูดที่สละสลวยไม่ใช่คำพูดธรรมดานั้น มีอยู่ 3 อย่าง คือ |
1. สำนวน (Idioms |
2. คำพังเพย (Locutions) และ |
3. สุภาษิต (proverbs) |
สำนวนเป็นคำพูดแต่คำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่างไร เช่น |
|
"หนังหน้าไฟ" "เกลือจิ้มเกลือ"
"ขิงก็รา ข่าก็แรง" "มือด้วนได้แหวน" "ตาบอดได้แว่น" "หัวล้านได้หวี" "เรือล่มเมื่อจอด" "ตาบอดเมื่อแก่" "อาภัพเหมือนปูน" เหล่านี้เป็นแต่สำนวน |
|
ส่วนคำพังเพย มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวนมีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอนแท้ เช่น |
|
"ทำนาบนหลังคน" "ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น" "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" "A penny wise and a pound foolish"
"L'Economic de bout de chandelle" "ตีงูข้างหาง" "จับหมาป่าที่หู" (ลาติน) "น้ำถึงถ่อ - ถ่อถึงน้ำ" "Diamond cut diamond" "Le bon chat le bon rat" "น้ำถึงไหน ปลาถึงนั่น" "มีหมาที่ไหน มีหมัดที่นั่น" |
|
ที่เป็นสุภาษิตนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ |
1. ต้องมีข้อความสั้นๆ แต่กินความลึกซึ้ง
2. ต้องเป็นคำสอน หรือวางหลักความจริง |
ตัวอย่างสุภาษิตที่มีข้อความสั้นๆ แต่กินความลึกซึ้ง
|
ไทย |
 |
(โคลงโลกนิติ) -จ่ายทรัพย์วันละบาทซื้อมังสา ฯลฯ |
|
เยอรมัน |
 |
ซื้อถูกกว่าขอ |
|
รัสเซีย |
 |
เมื่อเลิกรบแล้ว ก็มีคนกล้ามาก |
|
ฝรั่งเศส |
 |
เวลาเกิดทุกๆ คนต้องร้องไห้ แต่เวลาตายไม่มีใครหัวเราะ |
|
ที่เกิดของสุภาษิตมี 4 ประการ |
1. ความจริงที่โลกยอมรับว่าเป็นจริง
2. เหตุการณ์สำคัญ
3. จารีตประเพณี และ
4. เหตุการณ์เฉพาะบุคคล
|
ตัวอย่างในประการที่ 1 คือความจริงที่รู้กันทั่วไป
|
 |
|
บาลี |
 |
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ |
|
ไทย |
 |
ตนเองเป็นที่พึ่งแก่ตน |
|
ฝรั่งเศส |
|
ช่วยตัวของท่านก่อน แล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน |
|
จีน |
 |
ไถ, หว่าน, หมั่นรดน้ำ แล้วจึงสวดมนต์อ้อนวอนสวรรค์ เทพเจ้าจะประทานพืชผลให้เป็นแน่แท้ |
|
อังกฤษ |
 |
ยืนบนส้นเท้าของท่าน |
|
กรีกโบราณ |
 |
ถ้าจะขอความช่วยเหลือของพระเจ้าต้องยื่นแขนออกไป ไม่ใช่เอามือกอดอก |
|
เยอรมัน |
|
พระเจ้าช่วยแต่คนที่ทำงาน |
|
สเปน |
|
พระเจ้าช่วยแต่คนที่ตื่นแต่เช้า |
|
ญี่ปุ่น |
 |
(1) สวรรค์จะช่วยผู้ที่ช่วยตนเอง (2) จงทำการจนเต็มสามารถ แล้วจึงคอยโชคลาภที่จะมาถึง |
|
อิตาเลียน |
 |
ถ้าหุบปากไว้เสมอ แมลงวันก็จะไม่บินเข้ามา (In bocca chillsa non entro mai mosca) |
 |
|
เยอรมัน |
 |
สัญชาติลิง ยิ่งปีนขึ้นไปสูงเพียงไรก็แสดงว่ามันเป็นลิงมากเข้าทุกที สัญชาติลา แม้เราจะซ่อนหางมันเสีย หูของมันก็ยังจะชี้แสดงให้เห็นว่าเป็นลาอยู่นั่นเอง |
|
เปอร์เซีย |
|
สัญชาติลา แม้จะพามันไปเมืองเมกกะมันก็คงเป็นลาอยู่นั่นเอง |
|
รัสเซีย |
 |
ธรรมดาทองแม้อยู่ในโคลนก็สีสุก |
|
ไทย |
 |
ธรรมดานกยูงต้องมีแววที่หาง |
 |
|
ลาติน |
|
ต้องใจกล้าจึงจะมีโชคดี |
|
ฝรั่งเศส |
|
โชคลาภย่อมกรุณาแก่คนใจกล้า |
|
เปอร์เซีย |
 |
คนที่กลัวนกกระจอกจะปลูกอะไรไม่ได้ |
|
ไทย |
 |
ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก |
|
อังกฤษ |
 |
ถ้าไม่กล้าก็ไม่ได้อะไร |
 |
|
ไทย |
 |
น้ำขึ้นให้รีบตัก ให้ดัดไม้เมื่อยังอ่อน |
|
ฝรั่งเศส |
 |
ให้ตีเหล็กเมื่อยังร้อน |
|
อังกฤษ |
 |
ให้เกี่ยวหญ้าเมื่อแดดออก |
|
เดนมาร์ก |
 |
ให้กินปลาเมื่อยังสด |
|
บาลี |
|
มา ตํ กาโล อุปจคฺคา |
 |
|
ฝรั่งเศส |
 |
มีหัวมากเท่าไร ก็มีความคิดมากเท่านั้น |
|
อังกฤษ |
 |
มากคนก็มากความคิด |
|
ญี่ปุ่น |
 |
สิบคนก็สิบสี |
|
ลาติน |
 |
ต่างหัวก็ต่างคิด |
|
ไทย |
 |
ต่างคนก็ต่างใจ |
 |
|
ไทย |
 |
วัวไม่กินหญ้าอย่าข่มเขา |
|
ฝรั่งเศส |
 |
ลาที่ไม่กระหายจะขืนใจให้กินน้ำไม่ได้ |
|
อังกฤษ |
 |
ท่านอาจพาม้าไปที่น้ำได้ แต่จะให้มันดื่มไม่ได้ |
 |
|
ไทย |
|
สี่ตีนยังรู้พลาด |
|
ลาติน |
|
โฮเมอร์ยังรู้จักนอนหลับ |
|
ญี่ปุ่น |
 |
ลิงยังรู้จักตกต้นไม้ |
 |
ตัวอย่างในประการที่ 2 คือ เหตุการณ์สำคัญ |
|
ไทย |
|
กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี |
|
ออสเตรีย |
|
ออสเตรียเป็นผู้ปกครองโลก (เป็นภาษาลาตินว่า Austriae est impeare orbi universo เป็นภาษาเยอรมันว่า - Alles Erderich ist Oesterreich unterthan) |
|
โรมัน |
 |
ต้องทำลายคาเธช (Delenda Carthago) ฮันนิบาลมาอยู่ที่ประตู (Hannibal ad portas) |
|
อิตาลี |
 |
อิตาลีสร้างตัวเอง (L'Italie fara'da se) |
|
อังกฤษ |
 |
ประเทศอังกฤษต้องปกครอง (Rule Britania) |
ตัวอย่างในประการที่ 3 คือ จารีตประเพณี |
|
กรีก |
 |
คนทุกคนจะไปเมืองคอรินซ์ไม่ได้ |
|
ฝรั่งเศส |
 |
หนทางทุกทางย่อมนำไปสู่กรุงโรม |
|
เปอร์เซีย |
 |
สัญชาติลา แม้จะจูงมันไปเมืองเมกกะ มันก็คงเป็นลาอยู่นั่นเอง |
|
สเปน |
|
ให้แต่งงานลูกชายเมื่อท่านต้องการ แต่ให้แต่งลูกสาวเมื่อท่านอาจทำได้ |
|
เดนมาร์ก |
 |
ให้กินปลาเมื่อยังสด และให้แต่งงานเมื่อยังสาว |
|
กรีก |
|
ฉันรักพลาโตมาก แต่ฉันยังรักความจริงมากกว่าพลาโต (พลาโตเป็นนามของปราชญ์กรีก) (ภาษาลาตินว่า - Anicus Plato sed magis amica veritas) |
ตัวอย่างในประการที่ 4 คือ เหตุการณ์เฉพาะบุคคล |
|
อินเดีย |
 |
เพชรที่แตกร้าว ดีกว่าก้อนหินที่บริสุทธิ์ ฟ้าย่อมให้ผลแก่แผ่นดิน ส่วนแผ่นดินมีแต่จะให้ฝุ่นแก่ท้องฟ้า |
|
อังกฤษ |
 |
คนโง่อาจตั้งปัญหาในชั่วโมงเดียว ให้นักปราชญ์คิดไม่ออกไปตั้งปี |
|
บรุตุส |
 |
ความดีเจ้าเอ๋ย เจ้าก็เป็นแต่เพียงคำพูดคำเดียว |
ลักษณะของสุภาษิตมี 2 อย่าง |
1. เป็นคำสอน 2. เป็นการแสดงความจริง |
ที่เป็นคำสอน |
|
ฝรั่งเศส |
|
คนที่ตีเมียก็เหมือนตีถุงแป้ง ยิ่งตีมากๆ แป้งก็จะร่วงหมด ลงท้ายเลยเหลือแต่ถุง |
|
กรีก |
 |
ถามคนที่เคยเจ็บดีกว่าถามหมอ |
|
บาลี |
 |
สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ (ผู้ที่ทำสักการะต่อเขา เขาก็ย่อมสักการะตอบ) ครุ โหติ สคารโว (ผู้ที่เคารพเขา เขาก็เคารพตอบ) ปูชโก ลภเต ปูชิ (ผู้ที่บูชาเขา เขาก็บูชาตอบ)
วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ (ผู้ที่ไหว้เขา เขาก็ไหว้ตอบ) อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺต กึกริสสนฺติ ตารกา (ประโยชน์เป็นฤกษ์ยามอยู่ในตัว ดวงดาวทั้งหลายจะทำอะไรได้) |
นี่เป็นการแสดงความจริง |
|
อังกฤษ |
 |
คนที่อวดดีย่อมทำอะไรน้อยที่สุด |
|
เดนมาร์ก |
|
ความจนกับความรักเป็นของที่ซ่อนได้ยาก |
|
สเปน |
|
ของอะไรที่ใส่น้ำผึ้ง แมลงวันก็ตอมเสมอ |
|
จีน |
|
เมียที่รักผัว มักคอยเหนี่ยวรั้งไม่ให้ผัวทำชั่ว แต่ผัวที่รักเมียมักปล่อยให้เมียเสียคน |
เราอาจแบ่งได้อีกอย่างหนึ่งคือ |
1. เป็นคำกล่าวอย่างตรงๆ 2. เป็นคำกล่าวเปรียบเทียบ |
คำกล่าวอย่างตรงๆ |
|
เปอร์เซีย |
 |
ถ้าอยากให้ใครชมเรา เราต้องชมเขาก่อน |
|
บาลี |
 |
อกฺโกเธนชิเน โกธํ (ชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ) อสาธุ สาธุนา ชิเน (ชนะความชั่วด้วยความดี) |
คำกล่าวเปรียบเทียบ |
|
ฝรั่งเศส |
 |
พูดไปเป็นเงิน นิ่งเสียเป็นทอง |
|
ไทย |
|
รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง เมื่อแกงจืดจึงจะรู้จักคุณเกลือ |
|
สเปน |
|
ความจริงเป็นเหมือนน้ำมัน ย่อมจะลอยขึ้นข้างบนเสมอ |
|
ไทย |
 |
ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น |
|
สเปน |
 |
เราไม่สามารถจะเอาพระอาทิตย์มาชุบทอง หรือเอาพระจันทร์มาชุบเงิน |
|
ไทย |
 |
เนื้อหนู เพิ่มเนื้อช้าง |
|
รัสเซีย |
|
ธรรมดาทองแม้อยู่ในโคลนก็สีสุก |
|
ไทย |
|
ธรรมดานกยูงย่อมมีแววที่หาง คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ |
ประโยคของการรู้ภาษิตมากๆ มี 3 อย่าง |
1. ทำให้ความคิดลึกซึ้ง 2. ทำให้รู้จักประพฤติตัว
3. ทำให้ทราบนิสัยใจคอและจารีตประเพณีของมนุษย์ชาติต่างๆ |
ทำให้ความคิดลึกซึ้ง |
|
เยอรมัน |
|
ฆ้องส่งเสียงเรียกคนไปรับประทานเสมอ แต่มันเองไม่ได้รับประทานสักครั้ง |
|
ไทย มาจากบาลี |
|
ช้อนไม่รู้รสแกง |
|
ไทย มาจากบาลี |
|
ช้อนไม่รู้รสแกง |
 |
ขอให้ครูทั้งหลายพยายามให้นักเรียนท่องจำสุภาษิตโลกนิติเป็นโคลงดีมาก แม้ในเวลาสอนภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษหรือฝรั่งเศส ถ้าได้พบสุภาษิตเข้าควรอธิบายให้ฟังให้ชัดเจน และสั่งให้ท่องจำทันที นักเรียนไม่ต้องลงแรงมากเท่าไรได้แต่ผลดีเกินค่าแรงลงไปนั้นเป็นอันมาก |
ที่มา: พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ. ปาฐกถาและคำบรรยาย, กรุงเทพฯ:เสริมวิทย์บรรณาคาร; 2516.
|
|