
|
ออกกำลังกายอย่างไรเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง |
|
ท่าทางการออกกำลังกาย สำหรับสตรี(ใกล้)วัยทอง ควรปฏิบัติเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ทำท่าละ 20 ครั้ง |
|
ท่าที่ 1 บริหารไหล่ ยืนตรงหมุนหัวไหล่ข้อศอกและแขนตามรูป ทำสลับที่ละข้าง

|
ท่าที่ 2 บริหารลำตัว, ไหล่ และขา ยืนตรง แขนขึ้นเหนือศีรษะแล้วโน้มตัวลงงอเข่า เล็กน้อย
พยายามให้ปลายนิ้วแตะพื้น

|
ท่าที่ 3 บริหารลำตัวและหลัง ยืนตรง แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวเอียงไปด้านข้างของลำตัวจนสุดตัว
พยายามให้ปลายนิ้วแตะเข่า ตามรูปสลับซ้ายและขวา

|
ท่าที่ 4 บริเวณเอวและต้นขา ยืนหันข้างจับพนักเก้าอี้ตามรูป แกว่งขาคล้ายลูกตุ้ม ข้างละ 20 ครั้ง
และสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง

|
ท่าที่ 5 บริเวณน่อง ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้าย่อเข่าหน้า เหยียดขาหลังให้ตึง
พร้อมทั้งทิ้งน้ำหนักตัวไปยังผนังห้องโดยใช้ฝ่ามือสองข้างยันไว้ทำสลับข้าง

|
ท่าที่ 6 บริเวณสะโพกและต้นขา นั่งเหยียดขาตามรูป โน้มตัวไปข้างหน้าพยายามยืดแขนให้ปลายนิ้ว แตะข้อเท้า ทำติดต่อกัน 20 ครั้ง

|
ท่าที่ 7 บริเวณช่องคลอด ขมิบกล้ามเนื้อช่องคลอดค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วผ่อน 5 วินาที ขมิบให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ครั้ง

|
นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่นการเดินเร็ว ๆ 45 นาที หรือการวิ่งเหยาะๆ การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน อย่างน้อย 15-30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจและปอด จึงควรปฏิบัติเป็นประจำ
สำหรับสตรีที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ถึงท่าทางและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับออกกำลังกาย |