|
||
|
||
"
|
||
ปรัชญาเมธี
นับแต่อดีตกาลได้พยายามใคร่ครวญถึงความหมายของชีวิตในหลายแง่คิดด้วยกัน รุสโซนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสมองว่า |
||
นอกจากนี้ก็มีนักปราชญ์อีกหลายท่านที่ได้ให้นิยามของชีวิตในทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งพอสรุปความได้ว่า |
||
ชีวิตตามนัยของความหมายในแก่นแท้คือสิ่งที่เป็นกลาง ไม่ดีและก็ไม่เลว แต่การที่ชีวิตจะดีหรือเลว จะมีคุณค่าหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต หรือขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ |
||
ปัญหาที่ตามมาก็คือบุคคลผู้เป็นนายนาวาแห่งชีวิตมีทิศทางหรือจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตหรือไม่อย่างไรดังเช่นที่เบเลย์ นักปรัชญาชาวอังกฤษได้กล่าวไว้อย่างสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาที่ว่า |
||
บุคคลจะมีอายุยืนนานสักเพียงใดย่อมไม่ใช่คำถามที่สำคัญ แต่คำถามที่สำคัญก็คือบุคคลนั้นใช้ชีวิตของเขาอย่างไร |
||
ดังนั้นคนหนุ่มคนสาวที่อายุยังน้อยอาจมีชีวิตที่มีคุณภาพยิ่งกว่าชายชรา หรือหญิงชราที่อายุเกือบศตวรรษก็เป็นได้ ถ้าผู้เฒ่าผู้นั้นดำรงชีวิตไปตามยถากรรมอย่างไร้จุดหมาย การใช้ชีวิตที่สมควรแก่การยกย่องก็คือการใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมายปลายทาง |
||
|
||
ในทางพุทธศาสตร์ คำว่า "ชีวิต" หมายถึงความเป็นอยู่ซึ่งมักมีการพูดให้คล้องจองว่า "ชีวิตจิตใจ" ชีวิตจิตใจจัดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของปัจเจกบุคคล เพราะตามนัยทางพุทธ การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก ยากตั้งแต่กำเนิด ยากเมื่อเจริญวัย ยากที่จะครองตนในแนวทางที่เหมาะสม ในนิทานเวตาล น.ม.ส. ได้เขียนพรรณนาเป็นร้อยกรองไว้อย่างน่าฟังว่า |
||
อันวิถีชีวิตเดินผิดง่าย | ||
แม้นผิดหมายอาจถลำนำสู่เกิน | ||
ใครกำหนดล่วงหน้าช้าเหลือเกิน | ||
ถึงคราวเดินอาจผิดที่คิดไว้ | ||
ปัญญาเราแค่คืบสืบไม่ออก | ||
เหลือจะบอกล่วงหน้าช้า ๆ ได้ | ||
อันวิถีชีวิตคิดอย่างไร | ||
จักแจ้งใจข้างหน้าอนาคต | ||
พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มนุษย์ไม่ประมาทในการดำรงชีวิตพร้อมทั้งตั้งเป้าหมายชีวิตเป็นดวงประทีปส่องทาง และกำหนดสติเป็นหางเสือคอยทบทวนพฤติกรรมของแต่ละบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต |
||
|
||
ชีวิตตามความหมายเชิงพุทธธรรมจัดเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อนิจจัง หมายถึงความไม่เที่ยง ไม่คงทน ถาวร ทุกขัง หมายถึงความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หรือเกิดความเปลี่ยนแปลง ส่วนอนัตตา ได้แก่ความไม่มีตัวตนหรือไม่อาจอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งหมายถึงความไม่สมบูรณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมเรียกว่า "ไตรลักษณ์" ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำความสำคัญว่า |
||
การปฏิบัติใด ๆ
ถ้าเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์แล้ว การปฏิบัตินั้นๆ เป็นวิปัสสนา |
||
เซลล์ของร่างกายและจิตของมนุษย์ต่างอยู่ในสภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องกันจนดูเสมือนว่าเป็นสิ่งที่คงทนถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง และมีตัวตน แต่ในความเป็นจริงทั้งเซลล์และจิตต่างอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ ดังนั้นถ้าพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของการดำรงชีวิตในลักษณะที่เป็นกระบวนการทางพุทธศาสตร์ จึงเรียกว่า "ปฎิจจสมุปบาท" ซึ่งหมายถึงธรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยซึ่งกันและกันอันเนื่องมาจากเหตุและปัจจัย ดังที่กล่าวโดยย่อว่า ธรรมะย่อมสืบเนื่องมาจากสาเหตุ |
||
ความรักเกิดขึ้นมันก็ดับไป ความเกลียดเกิดขึ้นก็ดับไป ความหลงเกิดขึ้นก็ดับไป เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แล้วความเกิดความดับของจิตนั้น มันรวดเร็วจนเราไม่สามารถจะกำหนดระยะการเกิด การตั้งอยู่และการดับไปได้ |
||
ในปัจจุบัน ปฎิจจสมุปบาทอาจตีความได้เป็น 2 นัย กล่าวคือ นัยแรกหมายถึงชีวิตในขณะดำรงอยู่และนัยที่สองหมายถึง ชีวิตหน้าหรือข้ามชาติ ในที่นี้ผู้เขียนใคร่เน้นการตีความเฉพาะตามนัยของชีวิตในชาตินี้ ปฏิจจสมุปบาทจัดเป็นวัฎจักรซึ่งประกอบด้วย 12 ขั้นตอน ตามรูปที่ 1 |
||
|
||
|
||
(1) อวิชชา คือ ความไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์และอริยสัจ 4 |
||
|
||
(2) สังขาร คือ การปรุงแต่ง กาย วาจา และใจ |
||
|
||
(3) วิญญาณ คือ ความรู้จักจำแนกแยกแยะ อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ |
||
|
||
(4) นามรูป คือ การปรากฏของนามธรรมและรูปธรรม นามจัดเป็นส่วนของจิตที่จับต้องไม่ได้ ส่วนรูปคือส่วนที่จับต้องได้ |
||
|
||
(5) สฬายตนะ คือ สภาวะที่ประสาทสัมผัส หรือทวารทั้งหกเข้าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ |
||
|
||
(6) ผัสสะ คือ การรับรู้ปรากฏการณ์ด้วยประสาทสัมผัส หรือทวารทั้งหก ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ |
||
|
||
(7) เวทนา คือ ความรู้สึกหรือทัศนคติภายหลังการรับรู้ว่าชอบ - ไม่ชอบ สุข - ทุกข์ อร่อย - ไม่อร่อย เป็นต้น เวทนาอาจแยกได้เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา |
||
|
||
(8) ตัณหา คือ ความทะยานอยาก หรือความปรารถนาที่จะได้รับสุขเวทนา ซึ่งจัดเป็นรางวัล และความทะยานอยากหรือความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยง ทุกขเวทนา ซึ่งจัดเป็นทัณฑ์ ตัณหาแบ่งพิจารณาได้เป็นกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา |
||
|
||
(9) อุปาทาน คือ ความยืดมั่นถือมั่นที่จะดำรงไว้ ซึ่งสิ่งที่พึงปรารถนา และความยึดมั่นถือมั่นที่จะขจัดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ความติดยึดนี้แบ่งได้ 4 ประเภท คือ กาม ทิฎฐิ ลัทธิ พิธีการ และวาทะ |
||
|
||
(10) ภพ คือ กระบวนการกำหนดพฤติกรรมให้สอดคล้องกับอุปาทาน ภพแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ |
||
|
||
(11) ชาติ คือ การเกิดเป็นตัวเป็นตน กล่าวคือบุคคลเข้ารับภาพไว้ในครอบครองยอมแบกน้ำนัก ยอมตามบทบาทในกระบวนการพฤติกรรมที่กำหนดสมมุติไว้ |
||
|
||
(12) ชรา มรณะ คือ ความเสื่อม ความสูญสลายและความแตกดับแห่งตัวตนอันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความทุกข์ |
||
|
||
จากกระบวนการที่สรุปรวมในปฏิจจสมุปบาทย่อมจะเห็นได้ว่าชีวิตอยู่ในสภาวะที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ไม่คงที่ (ทุกขัง) และไม่มีตัวตนแท้จริง (อนัตตา) พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้นำถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องพยายามตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาท ลงด้วย "อริยสัจสี่" ซึ่งหมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ กล่าวอีกนัยหนึ่งปฏิจจสมุปบาทเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของอริยสัจสี่ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค |
||
|
||
ประการแรก ทุกข์ หมายถึงความรวมถึงสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในขอบข่ายของไตรลักษณ์ ฐานคติทางพุทธศาสนาถือว่า ชีวิตคือความทุกข์ ซึ่งเทียบได้กับฐานคติทางฟิสิกส์มุ่งศึกษาเฉพาะความร้อน ความร้อนและความทุกข์จึงมีลักษณะสัมพันธ์ไม่ใช่สัมบูรณ์ เมื่อร้อนน้อยก็เรียกว่า เย็นฉันใด เมื่อทุกข์น้อยก็เรียกว่าสุขฉันนั้น พระโสภณคณาภรณ์ (2525:39) ได้อรรถาธิบายว่า |
||
|
||
จิตที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา |
||
1 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันเรียกว่า "ขันธ์ 5" รูป หมายถึงกาย เวทนา หมายถึงความรู้สึกหรือการเสวยอารมณ์ สัญญา หมายถึงการจำได้หมายรู้ซึ่งอาจเป็นแบบชั้นเดียว หรือแบบสองชั้น สังขาร หมายถึงการปรุงแต่งกาย วาจา และใจ โดยมีเจตนาเป็นตัวนำ วิญญาณ เป็นการรู้ความหมายจำเพาะ หรือรู้จักแยกประเภท |
||
|
||
หน้าที่แผดเผากายใจ ก่อให้เกิดความเร่าร้อนและมีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปเรื่อย ๆ คนเราจึงหมุนวนอยู่ในความทุกข์เหล่านี้ตลอดเวลา |
||
|
||
ประการที่สอง ทุกขสมุททัย หรือ สมุทัย หมายถึงสาเหตุของการเกิดความทุกข์ สาเหตุเหล่านี้ได้แก่ ตัณหา 3 ประเภท ซึ่งรวมถึง กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา กล่าวได้ว่ากามตัณหา คือความอยากได้ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ที่พึงปรารถนา ภวตัณหา คือความอยากเป็นตำแหน่งนั้น อยากอยู่ในตำแหน่งนี้ วิภวตัณหา คือความอยากไม่เป็นหรือไม่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ กล่าวอย่างง่าย สาเหตุของทุกข์คือความทะยานอยากที่ยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวเป็นตน จนก่อให้เกิดความหนัก ซึ่งกร่อนทำลายความปลอดโปร่งโล่งเบา พระราชวรมุนี(2525:125) ได้พรรณนาไว้ว่า |
||
ตัณหาเหล่านี้สืบเนื่องมาจากอวิชชานั่นเอง กล่าวคือ เพราะไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นไม่รู้จักมันในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันจึงเกิดความเห็นผิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องตัวตนขึ้นมาในรูปใดรูปหนึ่ง |
||
ประการที่สาม ทุกขนิโรธ หรือ นิโรธ หมายถึง การดับของความทุกข์ ซึ่งจัดเป็นเป้าประสงค์สูงสุดของพุทธศาสนา ดุจดังพุทธพจน์ที่ว่า "ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ จึงได้แก่การกำจัดความไม่รู้ไม่เข้าใจ(อวิชชา) และการไม่ยอมถูกครอบงำด้วยความทะยานอยาก (ตัณหา) ทั้งปวง กล่าวโดยย่อ นิโรธ คือสภาวะของการพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน เป็นการปล่อยปละละวางจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง |
||
|
||
ประการที่สี่ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค หมายถึงกลยุทธเพื่อดับทุกข์ ในหลักการของพุทธศาสตร์คำว่า "มรรค" มีความหมายแตกต่างจากคำว่า "ทางเลือก" ในกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักวิชาการบริหารงานแบบตะวันตกอยู่ไม่น้อย ดังที่รองศาสตราจารย์ นิตย์ สัมมาพันธ์ กล่าวว่า |
||
|
||
ปัญหาทางการบริหารมักมีลูกเล่นลูกล่อได้หลายทางให้เลือก และตอบได้ยากว่าจะเลือกทางไหนดีที่สุด(2526:5-6) |
||
|
||
อย่างไรก็ดี พระพุทธองค์ได้ทรงชี้นำให้มวลชนได้ตระหนักถึงทางเลือกที่ดีที่สุดในการดับทุกข์ไว้ด้วยซึ่งเรียกว่าแนวทาง 8 ประการ หรือ "มรรคมีองค์ 8" กล่าวโดยย่อหลักอริยมรรคประกอบด้วย (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริริเริ่มชอบ (3) การพูดชอบ (4) การกระทำชอบ (5) การประกอบอาชีพชอบ (6) ความเพียรพยายาม (7) ความตั้งสติระลึกชอบ (8) การตั้งจิตชอบ การที่จะเห็นผลของอริยมรรคได้นั้น บุคคลไม่อาจเพียงทำความเข้าใจแต่ต้องลงมือปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงกัน สม่ำเสมอ และต่อเนื่องทั้งแปดประการ อนึ่ง เพื่อให้ง่ายแก่การปฏิบัติมรรค ทั้ง 8 ประการ สามารถนำมาจัดกลุ่มใหม่ได้เป็น 3 กลุ่ม หรือ เรียกว่า "ไตรสิกขา" ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา พระปัญญาคุณ ปุณณะวังโส(2526:6) ได้อรรถาธิบายขยายความไว้ว่า |
||
|
||
ในคัมภีร์พระไตรนั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้วล้วนแต่เรื่องความหลุดพ้นไปสู่มรรคผล "นิพพาน" จะพบนิพพานได้โดยอาศัย "ไตรสิกขา" ...ซึ่งเป็นพระประสงค์ อันแท้จริงของพระตถาคตเจ้า |
||
|
||
การพูดชอบ การกระทำชอบ และการประกอบอาชีพชอบ สรุปรวมเป็นศีลสิกขา ศีลก็คือความเป็นปกติของมนุษย์ซึ่งพุทธองค์ถือว่า พื้นฐานของความเป็นมนุษย์นั้นสมควรประกอบด้วยศีล 5 ประการ หรือความเป็นปกติ 5 อย่าง (1) ไม่ประทุษร้ายต่อมนุษย์หรือสัตว์ (2) ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน (3) ไม่ประพฤติผิดในกาม (4) ไม่กล่าววาจาข้อความอันเป็นเท็จ (5) ไม่เสพสุรายาเสพติดต่าง ๆ การฝึกฝนตนเองให้มีความสุจริตทั้งกาย วาจา และอาชีพ จัดเป็นการเริ่มปลูกฝังความรับผิดชอบของบุคคลต่อสังคม และเป็นการนำบุคคลอื่นมาสถิตไว้ในจิตสำนึกของบุคคล บุคคลที่มีศีลจึงไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น แต่กลับดำรงตนภายในกรอบของกฎหมายและรักษาระเบียบวินัย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม |
||
|
||
ความเพียรพยายามชอบ ความตั้งสติระลึกชอบ และการตั้งจิตชอบ สามารถสรุปรวมได้เป็นสมาธิสิกขา สมาธิก็คือการพัฒนาคุณภาพของจิต เพื่อให้คงไว้ซึ่งความสว่าง สะอาด และสงบเยือกเย็น ดวงจิตเช่นนี้ย่อมอยู่ในสภาวะที่แกร่งและไม่บุบสลายง่ายจากผลกระทบของสภาพแวดล้อมไม่หวั่นไหวต่อคำติหรือคำชม ไม่หลงระเริงเพราะอำนาจหรือสิ่งเย้ายวน นาวาที่ทอดสมอย่อมไม่ไหลเลื่อนไปตามอำนาจของกระแสลมและกระแสน้ำฉันใด จิตที่เป็นสมาธิย่อมไม่ไหลเลื่อนไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาฉันนั้น |
||
|
||
ความเห็นชอบ และการดำริริเริ่มชอบย่อมรวมได้เป็นปัญญาสิกขา ปัญญาก็คือความรู้เข้าใจสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง สมาธิกับปัญญาจึงเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดดังพุทธพจน์ที่ว่า "เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง" ปัญญาก่อให้เกิดความเบิกบานปีติ |
||
|
||
ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จัดเป็นสรุปทฤษฎีของความรู้ในทางพุทธศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ศีล สมาธิ และปัญญาในการดำเนินชีวิตทั้งในการงานและนอกการงาน |
||
|
||