ปัจจุบันมีการพูดถึงคำว่า "อีคิว" (Emotional Quotient) กันมาก |
คำคำ นี้มาจากแนวคิดของแดเนียล โกลด์แนน นักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ความหมายของอีคิวไว้ว่า หมายถึง "ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ พัฒนาอารมณ์ และแสดงออกทางอารมณ์อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข"
|
โกลด์แมนนำเสนอว่า บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ใช่มีความฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว (Intelligence Quotient) สูงอย่างเดียวแต่จะต้องมีทักษะทางอารมณ์ และการแสดงออกที่เหมาะสมหรือมีอีคิวสูงด้วย |
ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจขึ้นในบ้านเรา จะพบว่าคำว่าอีคิวได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางมาก เป็นเพราะปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ผู้ร้ายหรือผู้ที่ถูกกล่าวหามักเป็นคนที่มีชื่อเสียงมีการศึกษาดีเยี่ยม และมีฐานะ จนไม่น่าเชื่อว่าเขาจะทำผิดหรือทำในสิ่งที่เลวร้ายขึ้นได้แต่ก็ได้ทำไปแล้ว
เป็นผลให้สังคมเกิดการตื่นตระหนกและตั้งคำถามว่า เด็กที่มีสติปัญญาดี เรียนเก่งอย่างเดียว เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุข
|
ผู้ที่ได้รับการจัดว่ามีอีคิวหรือทักษะในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขนั้น จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติพื้นฐาน คือ ดี เก่ง และมีความสุข ในคำจำกัดความดังนี้ |
1. ดี หมายถึง ความฉลาดในการควบคุมตนเอง รักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น ๆ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบไปด้วยความสามารถดังต่อไปนี้ |
|
|
|
เข้าใจและยอมรับอารมณ์ตนเอง ควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม |
|
|
|
เข้าใจและยอมรับอารมณ์ตนเอง |
|
|
|
ควบคุมอารมณ์ |
|
|
|
แสดงออกอย่างเหมาะสม |
|
|
|
สลายอารมณ์ที่ไม่สร้างสรรค์ |
|
|
|
เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น |
|
|
|
เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น |
|
|
|
ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น |
|
|
|
ใส่ใจในอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น |
|
|
|
เห็นอกเห็นใจผู้อื่น |
|
|
|
รักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น |
|
|
|
มีความจริงใจ |
|
|
|
รู้จักรับผิดและให้อภัย |
|
|
|
รู้จักให้ รู้จักรับ |
|
|
|
รู้จักเคารพยกย่องผู้อื่น |
|
|
|
มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม |
|
|
|
รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม |
|
|
|
รับผิดชอบต่อบทบาทของตนเอง |
|
|
|
เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน |
|
|
|
สลายอารมณ์ที่ไม่สร้างสรรค์ |
2. เก่ง หมายถึง ความฉลาดในการรู้จักตนเอง คิด ริเริ่มสร้างสรรค์มีแรงจูงใจในตนเอง มุ่งมั่น ทำให้สำเร็จ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
|
|
|
|
รู้จักตนเอง |
|
|
|
รู้ศักยภาพของตนเอง |
|
|
|
รู้อารมณ์ของตนเอง |
|
|
|
รู้ความต้องการของตนเอง |
|
|
|
มีแรงจูงใจในตนเอง |
|
|
|
มีความคิดสร้างสรรค์ |
|
|
|
สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเอง |
|
|
|
มีความเพียรพยายาม มุมานะที่จะทำให้สำเร็จ |
|
|
|
มองปัญหาเป็นโอกาศหรือสิ่งท้าทาย |
|
|
|
มีเป้าหมาย ความหวังในทางที่ดี |
|
|
|
สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหา |
|
|
|
รับรู้ เข้าใจปัญหา |
|
|
|
สามารถตัดสินใจ วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ |
|
|
|
มีความยืดหยุ่น เหมาะสมแก่สถานการณ์ |
|
|
|
กล้าแสดงออกอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
|
|
กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ |
|
|
|
สามารถสื่อความต้องการของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์ |
|
|
|
รับรู้ สนใจบุคคลที่เกี่ยวข้อง |
3. สุข หมายถึง ความฉลาดในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประกอบด้วย |
|
|
|
ภูมิใจในตนเอง |
|
|
|
พอใจและเห็นคุณค่าของตนเอง |
|
|
|
เข้าใจและยอมรับในจุดเด่น จุดด้อย ของตนเอง |
|
|
|
ศรัทธาและเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง |
|
|
|
พึงพอใจในชีวิต |
|
|
|
มองโลกในแง่ดี |
|
|
|
พอใจในสิ่งที่ตนมี |
|
|
|
ไม่หวั่นไหว มีความมั่นคงในอารมณ์ |
|
|
|
มีความสามารถในการสร้างความสุข |
|
|
|
รู้จักผ่อนคลาย |
|
|
|
มีอารมณ์ขัน สนุกกับชีวิต |
|
|
|
มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข ความพอใจ |
|
|
อีคิวที่ดีประกอบด้วย |
|
1. |
รู้จักตนเอง รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเองและยอมรับได้ มีเป้าหมายของชีวิต รู้ว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต |
|
2. |
รู้อารมณ์ของตนเองเมื่อดีใจ เสียใจ ไม่เก็บกดจนทำให้เกิดปัญหาจิตใจตามมา ควบคุมอารมณ์ได้ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกโกรธหรือผิดหวังคนที่ไอคิวดี จะสามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ดี เมื่อจิตใจสงบก็สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ดี |
|
3. |
รู้จักบริหารอารมณ์ของตนเอง คนปกติจะมีอารมณ์โกรธ ดีใจ เสียใจ เครียดกันได้ทั้งนั้น
บางวันอาจจะเกิดอารมณ์ได้หลายรูปแบบแล้วแต่สิ่งที่มากระตุ้นประสาทสัมผัส ถ้ารู้จักระบายออกในทางที่ถูกที่ควรไม่หมกมุ่นกับอารมณ์เหล่านี้มากเกินไป ก็จะสามารถหลุดพ้นจากอารมณ์นั้นเร็วขึ้น ทุกข์ก็จะลดลง |
|
4. |
ทำตนเองให้มีพลัง มีแรงจูงใจที่จะทำกิจการงานให้ประสบความสำเร็จ คนที่มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
มีความมานะพยายามรู้ว่าความสำเร็จไม่ได้เป็นสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ สิ่งเหล่านี้ขึ้นกับการอบรมเลี้ยงดูและวัฒนธรรมในการทำงาน การดำรงชีวิตของแต่ละชาติภาษาอยู่มาก |
|
5. |
เข้าถึงจิตใจของผู้อื่น การที่จะเข้าใจเห็นใจผู้อื่นได้นั้น คนคนนั้นต้องเข้าใจตัวเขาเอง รู้จักตัวเองก่อน
จึงจะเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะต้องอ่านความรู้สึกของคนอื่นเป็น และมีความรู้สึกว่า ถ้าเราเป็นเขาจะทำอย่างไร |
|
6. |
รักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการติดต่อคบค้าสมาคมซึ่งกันและกัน
เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวม สัมพันธภาพยืนยาวได้ต้องรู้จักสร้างและรักษาสัมพันธ์นั้นไว้ โดยมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักแสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่นในเวลาอันควร |
|
|
คนที่มีอีคิวสูง แสดงออกโดยเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ดี รู้จักการทำงานเป็นทีม สามารถสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น ๆ ได้ และรักษาให้ยืนยาว รู้จักเห็นอกเห็นใจ
เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นได้เป็นอย่างดีเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตก็รู้จักจัดการกับปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ไม่จมอยู่กับความทุกข์ความเศร้านานเกินไป ไม่ท้อถอย ท้อแท้ ความรู้สึกเหล่านี้อาจเกิดขึ้นบางครั้งบางคราวได้ เมื่อพบกับปัญหาอุปสรรคในชีวิต
แต่สามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ด้วยดีโดยไม่ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น คือสามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์นั่นเอง รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี
อีคิวอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับไอคิวหรือความฉลาดทางสติปัญญาเลย
|
|
|
คนที่มีไอคิวสูงแต่ล้มเหลวในชีวิต เพราะมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ หรืออีคิวต่ำ ทำให้เขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี
ไม่มีความอดทนอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่กดดันอยู่ รวมทั้งไม่เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของคนอื่น ๆ มุ่งแต่สนองความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งจึงมีสูง พูดจาสื่อสารกับคนอื่นได้ไม่ดี
เพราะขาดทักษะบางครั้งไม่ได้เจตนาจะพูดร้ายหรือพูดไม่ดี แต่การสื่อสารบกพร่องก็ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดได้ เขาจึงไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต บางครั้งขาดความเชื่อมั่นตนเองไปเลย จึงต้องอยู่ในโลกของตนเอง
ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ถึงแม้จะเป็นคนที่ฉลาดแสนฉลาดก็ตาม ยิ่งเมื่อมีครอบครัว การแสดงออกทางอารมณ์อย่างสร้างสรรค์ยิ่งมีความสำคัญ เพราะครอบครัวเปราะบางต่อการแสดงออกที่ไม่สร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง
หากแต่ละคนไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองและระเบิดอารมณ์ใส่กัน สภาพความไม่มั่นคงในจิตใจหรือสภาพที่เรียกว่า "บ้านแตกสาแหรกขาด" ก็เกิดขึ้นได้ง่าย
|
|
|
มาสร้างครอบครัวและตัวเราให้มีอีคิวที่ดีกันเถอะ...  |
ที่มา: คัมภีร์ครอบครัว ประจำปี 2544. กรุงเทพฯ: สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย, 2544.
(หน้า131-136) |
[อ่านบทความย้อนหลัง] |
|