สูตร ๘-๓-๑ เส้นทางสร้างคนดี มีปัญญา ต้านยาเสพติด อยู่อย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ๘ คือ มรรค ๘ มรรค
ว่าโดยองค์ประกอบ คือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เรียกเต็มว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทาง มีองค์ ๘
ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบคือเห็นอริยสัจ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่าทำดีมีผลดี
ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี(คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์๕ (รูป, เวทนา, สัญญา,สังขาร, วิญญาณ)ไม่เที่ยงเป็นต้น
๒. สัมมาสังกัปปะ
ดำริชอบ คือ ๑. เนกขัมมสังกัปปะ
ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ ๒.อัพยาปาทสังกัปปะ
ดำริในอันไม่พยาบาท ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ
ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๓. สัมมาวาจา
เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔ (วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา,ประพฤติชั่วทางวาจามี
๔ อย่างคือ ๑. มุสาวาท
พูดเท็จ ๒. ปิสุณาวาจา
พูดส่อเสียด ๓. ผรุสวาจา
พูดคำหยาบ ๔. สัมผัปปลาป
พูดเพ้อเจ้อ ๔. สัมมากัมมันตะ
ทำการชอบ ) ๔. สัมมากัมมันตะ
ทำการชอบ หรือการงานชอบ ได้แก่
การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกายสามอย่างคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจากกายทุจริต ๓ (กายทุจริต
ประพฤติชั่วด้วยกาย,ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต
ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน
ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร
ประพฤติผิดในกาม ) ๕. สัมมาอาชีวะ
เลี้ยงชีวิตชอบคือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขา หลอกลวง สอพลอ
บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น ๖. สัมมาวายามะ
เพียรชอบคือเพียรในที่ ๔ สถาน มี ๔ อย่างคือ ๑. สังวรปธาน
เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. ปหานปธาน
เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน
เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่ม
ไพบูลย์ ๗. สัมมาสติ
ระลึกชอบคือระลึกใน สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง,
การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย
โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย
ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย,
การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา,
การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต,
การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม,
การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้นๆ
ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ๘. สัมมาสมาธิ
ตั้งจิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาณ ๔ คือ - ปฐมฌาน ฌาณที่๑ มีองค์ ๕ คือวิตก (ความตรึก)
วิจาร (ตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ)สุข (ความสบายใจ)
เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) - ทุติยฌาน ฌานที่๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ
สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา - ตติยฌาน
ฌานที่๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา - จตุตถฌาน
ฌานที่๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา ๓ คือไตรสิกขา ไตรสิกขา
สิกขาสาม,
ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล ความประพฤติดีทางกายและวาจา,การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย,ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น,
ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ;มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่าย
สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น,ความตั้งมั่นแห่งจิต,
การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
ปัญญา
ความรู้ทั่ว,ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน,
ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผลดีชั่ว คุณโทษ
ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง ๑ คือเมตตา เมตตา
ความรัก,ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
(ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๒
ในอารักขกรรมฐาน ๔) การแผ่เมตตา
คือ การตั้งจิตปรารถนาดี ขอให้ผู้อื่นมีความสุข คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า
สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า
ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน)
หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด),
อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด),
อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด),
อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ,
รักษาตน(ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด. (ข้อความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย)
ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ
จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจจะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑
ประการ คือ
๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่าย่อมเข้าถึงพรหมโลก ----------------------- คัดรายละเอียดจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ http://202.44.204.76/buddhism/dict.htm |
||||||||||
|
||||||||||