|
|
|
|
ปัจจุบันนี้ระบบชีวิตของมนุษย์ได้ถูกสภาพแวดล้อมทั้งในทางนิเวศวิทยา สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม และวัฒนธรรม รวมถึงอาชีพต่างๆ ก่อผลด้านลบในชีวิตมากยิ่งๆ ขึ้นทุกขณะ ทำให้จิตใจของมนุษย์ต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างเต็มที่ กล่าวได้ว่ามนุษย์สมัยใหม่ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางความทุกข์ ความอ่อนแอของทั้งร่างกายและจิตใจ เราจึงควรฝึกฝนร่างกายและจิตใจในรูปแบบของการบริหารกายและฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง การฝึกโยคะนั้นจะทำให้ทั้งสองด้านคือกายและจิต เกิดความสมดุลกัน เพราะหลักของการฝึกโยคะนั้นคือรวมเอาการบริหารกายและการฝึกฝนจิตไว้ในที่เดียวกัน |
|
|
|
"โยคะง่ายๆ"ต่อจากตอนที่ 1 ชื่อชุด พันธปัทมาอาสนะ (Bandha Padmasana) คือ ท่าดอกบัวที่มีการไขว้มือจับเท้าจากด้านหลัง ถือเป็นท่าขั้นสูงของผู้ฝึกมานานแล้ว สำหรับผู้ฝึกใหม่ก็ฝึกได้ แต่ให้ใช้เชือกช่วยดังรูป |
|
ชุดพันธปัทมาอาสนะ (2) | |
วิธีปฏิบัติ |
|
1. เริ่มด้วยนั่งเท้าซ้อนกัน ขาซ้ายอยู่ข้างบน แล้วยกขาขวามาซ้อนขาซ้าย มือวางข้างลำตัว หลังตรง |
|
|
|
2. หายใจเข้า หายใจออก วาดแขนซ้ายไปข้างหลัง อ้อมจับเท้าซ้าย แล้ววาดแขนขวาไปจับปลายเท้าขวา หายใจเข้าออกสักครู่ |
|
|
|
|
|
3. หายใจเข้า หายใจออก ยืดตัวไปข้างหน้ามากๆ เงยหน่าไว้ หลังและแขนจะถูดยืดมากขึ้น หายใจเข้าออกเรื่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นถูกยืดมากขึ้น ส้นเท้าจะกดเข้าไปที่ท้องน้อย |
|
|
|
4. สำหรับผู้ฝึกใหม่ ให้ใช้เชือกช่วยในการดึง โดยดึงเชือกให้ใกล้เท้ามากขึ้น เมื่อฝึกบ่อยๆ จะจับเท้าได้ถึงเอง |
|
|
|
|
|
ประโยชน์ |
|
- กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด บริหารฝ่าเท้าให้นิ้วเท้าและข้อเท้าแข็งแรงขึ้น |
|
- บริหารหัวไหล่ แก้อาการปวดไหล่ |
|
- การยืดตัวจะช่วยบริหารกระดูกสันหลัง และส้นเท้าที่กดเข้าไปที่ช่องท้อง จะช่วยบริหารอวัยวะภายใน บริหารมดลูก และต่อมลูกหมาก |
|
- ข้อต่อหัวเข่าได้รับการบริหาร ลดอาการปวดเข่า |
|
|
แหล่งอ้างอิง: ครูวงจันทร์ อินทรำพรรณ. โยคะ...ง่ายๆ. โพสต์ทูเดย์ (13 เมษายน 2548) หน้า C2. |