ดูดาวให้สวยได้อย่างไร

นิพนธ์ ทรายเพชร
นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย

 

 

 

การเตรียมตัวในการดูดาวเรื่องที่ง่ายมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัวเราเองจะต้องมีความพร้อม จิตใจพร้อมในการดูดาวตลอดเวลา ในการพร้อมที่จะดูดาวทุกเมื่อนอกจากใจแล้วต้องรู้ว่าบนฟากฟ้ามีดาวอะไรอยู่ ต้องศึกษาเสียก่อนจากหนังสืออ่าน การดูดาวข้างต้นที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ต้องมีแผนที่ดูดาว แผนที่ดูดาวเป็นสิ่งจำเป็นมากไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ดูดาวเก่งขนาดไหนก็ตามจะต้องมีแผนที่ เหมือนกับการที่จำเป็นต้องมีแผนที่โลก เวลาจะเดินไปทางไหนมาไหนจะต้องมีแผนที่ ในแผนที่ในคู่มือ และมีความพร้อมที่จะดูดาวทุกเมื่อ เข้าใจเกี่ยวกับดาวบนฟ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งเพราะโลก เพราะอาศัยอยู่บนโลกที่เคลื่อนที่ ต้องนึกถึงการหมุนรอบตัวเองของโลก และการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ของโลก 2 อย่างนี้จะตั้งต้นดูดาวได้โดยไม่ยากเลย

 

 

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

 

สิ่งแรกการสังเกตและรู้จักทิศทางเสียก่อน คือบนท้องฟ้าที่มีดาวอยู่มากมายใช้บอกทิศได้ แต่ในกรณีที่ท่านไม่รู้จักดาวแล้วก็จะต้องอาศัยเครื่องมืออย่างอื่น เช่น ในเวลากลางวันก็มีดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกก็สามารถกำหนดทิศทางได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วยว่าพระอาทิตย์ขึ้น-ตกในวันไหน เพราะว่าการขึ้นหรือการตกของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันนั้นไม่ได้ตกตรงทิศตะวันตกทุกวัน เช่น ในหน้าหนาวเดือนธันวาคมนั้น ตกค่อนข้างจะเฉียงไปทางใต้มาก เป็นต้น เมื่อเห็นจุดพระอาทิตย์ตกไปแล้ว ก็สามารถจะชี้ทิศไปทางตะวันตกได้โดยตรง เมื่อได้ทิศตะวันตกก็หาทิศอื่นตามมาก ทิศเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้ เมื่อรู้จากทิศเวลาที่จะเอาแผนที่ไปใช้ก็ใช้แผนที่ตามทิศที่ว่า โดยเฉพาะแผนที่ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยมีแผนที่ 2 ทิศทาง คือทางทิศเหนือด้านหนึ่ง และ

 

 

 

ทางทิศใต้อีกด้านหนึ่ง ใช้แต่ละทิศตามความต้องการ เพราะว่าแผนที่ชนิดนี้ใช้สะดวกไม่ยาก เพียงแต่หมุนเวลาไปตรงกับวันที่ และเวลาที่ต้องการดูจะทำให้เห็น ดาวในแผนที่เหมือนกับดาวบนท้องฟ้าหรือว่าดาวบนฟ้าเหมือนดาวในแผนที่ วิธีการดูจะต้องรู้ทิศก่อน แล้วก็รู้วิธีที่จะวัดมุมอย่างง่าย ๆ ด้วย เหมือนกับว่าในแผนที่จะบอกว่าดาวดวงอยู่ทางทิศไหน อยู่สูงจากขอบฟ้าเป็นมุมเท่าไร ใช้วิธีวัดมุมง่าย ๆ วิธีวัดมุมง่าย ๆ ทุกคนใช้มือได้ มือของตัวเองถ้ายืดไปตรง 1 นิ้ว ก็ประมาณ 1 องศา หมายความว่ายืดไปตรง ๆ ยื่นไปข้างหน้า 1 นิ้ว บังอะไรบนฟ้าได้ อะไรบนฟ้าที่อยู่บนฟ้าที่ว่านั้น ประมาณ 1 องศา ถ้า 3 นิ้วติดกัน 5 องศา ถ้าซัก 1 กำมือก็ประมาณ 10 องศา แล้วถ้าเอานิ้วชี้ถ่างออกมาจากนิ้วก้อยก็ประมาณ 15 องศา และถ้าหากถ่างออกทั้งหมดทั้ง 5 นิ้ว ปลายหัวแม่มือด้วยแล้วก็ดูปลายนิ้วก้อยด้วยก็ประมาณบางคนอาจจะถึง 25 องศา บางคนยืดไม่มากก็แค่ 20 องศา เป็นต้น คือต้องรู้วิธีวัดมุมอย่างง่าย ก็จะได้รู้ว่าดาว 2 ดวง ที่ว่าห่างกัน 5 องศาจริง

การดูดาวโดยทั่ว ๆ ไปต้องเข้าใจว่าดาวแต่ละไม่เหมือนกัน เช่น บางคนดูดาวบนฟ้าแล้วรู้สึกว่า ดาวทำไมมากเหลือเกิน เหมือนกันทุกดวง ความจริงไม่ใช่ ดาวมีลักษณะแตกต่างกันอยู่มาก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือประเภทที่อยู่ใกล้ ๆ พวกหนึ่ง และประเภทที่อยู่ไกล ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็คือยู่ในระบบสุริยะ ระบบสุริยะมีน้อย ที่เห็นด้วยตาเปล่าจำได้ง่ายเพราะว่ามี 7 ดวงเท่านั้น 7 ดวงที่ว่าก็คือดาวที่ตั้งเป็นชื่อวันนั่นเอง รู้จักดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์กันทุกคน ดาวเคราะห์ 5 ดวงที่เห็นด้วยตาเปล่าบนฟ้าในขั้นแรกจะต้องสามารถรบอกได้ว่าดวงไหนเป็นดาวอังคาร ดวงไหนเป็นดาวพุธ ดวงไหนเป็นดาวพฤหัส ดวงไหนเป็นดาวศุกร์ ดวงไหนเป็นดาวเสาร์ ซึ่งเป็นสิ่งไม่ยาก ดูให้เข้าใจลักษณะนี้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรทั้งสิ้นนอกจากตาเปล่าแล้วก็คอยติดตาม บังเอิญในแผนที่ไม่มีตำแหน่งดาวเคราะห์กลุ่มนี้ ไม่มีตำแหน่งดวงจันทร์ไม่มีตำแหน่งดวงอาทิตย์แต่ก็ไม่ยาก อุปกรณ์อย่างอื่นที่พูดถึงว่าต้องมีกล้องดูดาวไม่จำเป็นในตอนแรก เพราะกล้องดูดาวมีข้อจำกัดในหลายประการ การส่องดูดาวเคราะห์ก็เห็นวงแหวน เห็นความสวยงามของดาวเสาร์เป็นไปได้แต่นำกล้องไปสู่ดูดาวลูกไก่ก็เห็นจุดสว่าง เห็นจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ได้ใหญ่โตขึ้นมา เป็นข้อจำกัด เพราะว่ากล้องดูดาวที่ดี ๆ ราคาแพง ก่อนซื้อกล้องดูดาวจะต้องดูดาวให้เป็นก่อ ต้องรู้ว่าจะนำกล้องดูดาวทำอะไร อาจจะซื้อกล้องที่เรียกว่ากล้อง 2 ตา ซึ่งอาจจะเหมาะเพราะว่าใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นำไปดูของที่อยู่ไกล ๆ อย่างเช่น ดูนกก็ดูได้ ดูดาวลูกไก่ก็ดูได้ในกล้อง 2 ตา เพราะเห็นจำนวนมากขึ้นในกรุงเทพฯ เห็นดาวได้น้อยถ้านำกล้อง 2 ตาไปส่องจะเห็นดีขึ้นอย่างเช่นบางแห่งไม่เห็นดาวเหนือแต่ถ้าเอากล้อง 2 ตา ไปส่องแล้วปรากฏขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้น ใช้อุปกรณ์นอกจากแผนที่ดาวแล้ว ถ้าจะมีเงินก็ซื้อกล้อง 2 ตา

สำหรับการเริ่มต้นจะแนะนำก็คือว่าพยายามรู้จักดาวที่สว่างมาก ๆ เสียก่อน ดาวเคราะห์ได้ชื่อว่าเป็นดาวที่สว่างมาก ๆ สว่างกว่าดาวฤกษ์ สว่างกว่าอื่น ๆ เรียงเป็นกลุ่มเป็นหมู่ ดาวเคราะห์สว่างไม่คงที่ดาวศุกร์สว่างที่สุดรู้จักง่ายเพราะจะเห็นในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกดาวรุ่ง ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวค่ำก็เป็นดาวประจำเมือง หลายเดือนถึงจะเห็นดาวประจำเมือง เพราะฉะนั้นดาวศุกร์จำง่าย ดวงที่สว่างรองลงไปอีกก็คือดาวพระพฤหัสบดี ดาวพระพฤหัสบดีสว่างรองลงไป แล้วก็สว่างกว่าดาวฤกษ์เยอะทีเดียว ระยะนี้เป็นระยะที่เห็นดาวพฤหัสบดีง่ายเพราะเห็นตั้งแต่หัวค่ำ ดาวที่สว่างมาก ๆ อยู่สูงนั้นคือดาวพฤหัสบดี แต่ว่าดาวพฤหัสบดีจะมีคู่แข่งที่สว่างมากขึ้นก็คือดาวอังคาร แต่ดาวอังคารมีสีแดงแล้วโดยส่วนมากดาวอังคารสว่างน้อยกว่าดาวพฤหัสบดี จะมาสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีทุก ๆ 15 ปี ถึง 14 ปี ไม่ใช่ทุกปี เพราะฉะนั้นดาวอังคารก็ตัดไปได้ ในเรื่องที่มาสว่างแข่งกว่าดาวพระพฤหัสบดีที่ว่าก็คือ สีมันแดง เป็นการมองด้วยตาเปล่าทั้งนั้น ดาวเสาร์จะสว่างขึ้นตอนที่อยู่ใกล้โลก ที่สว่างยากก็อาจจะเป็นดาวพุธ เพราะว่าดาวพุธนั้นปรากฏ อยู่ใกล้ขอบฟ้า อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่สว่างมาก ๆ ที่เป็นดาวฤกษ์มีประมาณ 21 ดวงเท่านั้น บนฟ้า ทุกหน ทุกแห่ง เพราะฉะนั้น 21 ดวงนี้จะให้รู้จัก ทุกดวงจะมีชื่อเฉพาะอย่าง เช่น ดาวฤกษ์ ที่สว่างที่สุดบนฟ้าเวลากลางคืนชื่อว่าดาวซิริอาสซ์ คนไทยเรียกว่าดาวโจร หรือดาวสุนัขเป็นต้น หรือดาวอยู่ใกล้ ๆ กันที่สว่างอยู่ในอีกกลุ่มหนึ่งถัดไปก็คือดาวโปรซิคอน ชื่ออาจจะแปลก แต่มีชื่อเป็นภาษาไทยอย่างเช่น ดาวดวงแก้ว อย่างนี้สว่างสุกแสงเหมือนแก้วก็ควรจะรู้จัก ไปที่ไหนก็เห็นเป็นดาวสว่าง อยู่ในกรุงเทพฯ ก็เห็นไปบ้านนอกยิ่งเห็นสว่างสุกใสเป็นดวงเด่นที่สุดในกลุ่มเพราะฉะนั้นในการรู้จักกลุ่มดาวควรจะรู้จักดาวที่เด่นมากกว่าส่วนที่เห็นเรียงกันอยู่เป็นรูปร่างดูในแผ่นที่ดาวเป็นกลุ่มเดียวกัน โยงเส้นต่อด้วยกันคือดาวดวงใดบ้าง พยายามหาก่อน เช่น กลุ่มดาวที่เรียกว่ากลุ่มดาวจระเข้มีอยู่ 7 ดวง เรียงกัน 7 ดวงที่ว่าดวงไหนบ้าง พยายามไล่เรียงตามให้ได้ถ้าไปดูแผนที่ดาวที่เขาทำขึ้นหรือดูในหนังสือบางเล่มก็จะละเอียด จะบอกให้ชัดเจนถ้าจะดูกลุ่มหมี ดาวสิงห์โตมีดาวอยู่ 15 ดวง ดวงใดบ้างก็ไปไล่ตามนั้น กลุ่มทั้งหมดมี 88 กลุ่ม ไม่จำเป็นจะต้องรู้หมด 88 กลุ่ม มีกลุ่มเด่น ๆ เพียงไม่กี่กลุ่ม กลุ่มเด่น ๆ ที่ว่าก็คือกลุ่มที่มีดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ค่อย ๆ รู้จักไปทีละกลุ่มสองกลุ่ม จากกลุ่มที่รู้จักดีแล้วก็นำไปสู่กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนฟ้านั้นมีอยู่หลายประเภท ปรากฏการที่แปลกปลอมเข้ามาเป็นประจำอย่างเช่นเรียกว่า สุริยุปราคา จันทรรุปราคา เป็นปรากฎการณ์ เกี่ยวกับดวงจันทร์เข้าไปบังดวงอาทิตย์ก็เรียกว่าสุริยุปราคา ถ้าเข้าไปอยู่ในเงาของโลกก็เรียกว่า จันทรุปราคา มีทุกปีปรากฏการณ์นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเมื่อไร ตอนนี้มีการให้ข้อมูลมากมายทางอินเทอร์เน็ต ทางหนังสือคู่มือก็คำนวณให้ล่วงหน้า และถ้ามีหนังสือสักเล่มหนึ่ง เปิดดูก็รู้ว่าเกิดเมื่อไร ที่ไหน เป็นปรากฏการณ์ที่คำนวณไว้ล่วงหน้าเป็นร้อยเป็นพันปี ปรากฏการณ์อย่างอื่นเช่น ดาวตก ดาวฝนตกก็บอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเมื่อไร เพราะมีการสังเกตกันมานาน ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงห์โตจะเกิดขึ้นเมื่อไร ก็เตรียมตัวได้ เรื่องปรากฏการณ์บังเอิญอย่างเช่น ดาวหาง ค่อนข้างจะยาก เพราะดาวหางที่สว่างมาก ๆ จะใช้เวลา นานกว่าจะกลับมาอีก เช่น ดาวเฮเล่ ใช้เวลาเป็น 70 กว่าปี เป็นต้น เขามาแล้วเมื่อหลายปีมาแล้วในช่วงชีวิต อาจจะไม่ได้เห็นอีก แต่อาจจะมีดาวหางที่ค้นพบใหม่และสว่างขึ้นมาอย่างเช่นเมื่อปีก่อน ๆ ก็มีดาวหางเฮล็อกสว่างมาก ๆ จะต้องรอข่าวจากสมาคมดาราศาสตร์ไทยหรือทางด้านดาราศาสตร์ก็จะทราบข่าวปรากฏการณ์อย่างอื่น อาจจะเกี่ยวกับดวงจันทร์อีกอย่างเช่น ดวงจันทร์ไปยังดาวที่สว่างมาก ๆ ก็เกิดขึ้นทุกปีเหมือนกัน แต่ว่าดวงจันทร์อยู่ใกล้ คนในประเทศไทยเห็นว่า แต่ไปบังคนที่ประเทศ ออสเตรเลียไม่เห็น ขึ้นอยู่กับสถานที่ ดวงจันทร์เป็นของใกล้มากเพราะฉะนั้นบังได้ทุกอย่างที่อยู่ในเส้นทางของมัน ดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ ก็ถูกบังบ่อย ๆ ปรากฏการณ์เรื่องนี้เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่ได้สนใจ ปรากฏการณ์อีกอันหนึ่งที่น่าตื่นเต้นก็คือปรากฏการณ์ที่เรียกว่าดาวเคียงเดือน เกิดขึ้นทุกเดือน คือปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้ ๆ กับดาวเคราะห์ที่สว่างมาก ๆ อย่างเช่น อาจจะผ่านใกล้ ดาวศุกร์ซึ่งตอนนั้นดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยว คล้าย ๆ กับศาสนาอิสลามแต่ไม่เหมือนดวงจันทร์อาจจะผ่านใกล้ ๆ ดาวเคราะห์ดวงอื่น เพราะดวงจันทร์คือตัวที่เคลื่อนรอบโลกทุกเดือน ๆ ละครั้งเพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ทั้งหลายบนฟ้าที่กล่าวมาแล้วและที่ไม่ได้กล่าวก็เกิดขึ้นเป็นประจำ บางอย่างก็บอกได้ล่วงหน้า บางอย่างก็บอกไม่ได้ เช่น การเกิดที่เขาเรียกว่าซุปเปอร์โนวานาน ๆ ถึงจะเกิด 300 ปี เกิดขึ้นหนหนึ่งประโยชน์ของการดูปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเกิดได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับความสนใจและความลึกซึ้งในการที่จะนำดาวไปใช้ประโยชน์ในเชิงดาราศาสตร์จริง ๆ นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของโลก และของมนุษย์ ศึกษาดาวเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของโลกและของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาในแง่ของการ นำมาใช้เกี่ยวกับดวงดาว ที่ใช้มามากที่ไม่รู้สึกก็คือเรื่องเวลาการนัดเวลาถ้าไม่มีดาววัดไม่ได้ ไม่มีดวงอาทิตย์ก็วัดไม่ได้เพราะฉะนั้นเรื่องของการที่โลกเคลื่อนที่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาโดยอาศัยดวงดาว การกำหนดตำแหน่งของบนโลกเป็นละติจูด ลองติจูด ไม่มีดาวทำไม่ได้เป็นผลประโยชน์โดยตรงแล้วที่สำคัญมากกว่านั้นคือดาราศาสตร์เสมือนสิ่งที่นำทุกอย่างไปล่วงหน้า หมายความว่าอะไรที่ยังไปไม่ถึง ดาราศาสตร์ไปก่อนอย่างการสำรวจดวงจันทร์สมัยก่อนเพียงแต่พวกนักดาราศาสตร์ที่อาศัยกล้องโทรทัศน์จนกระทั่งไปถึงดวงจันทร์ หินในดวงจันทร์กลับมาได้เป็นหน้าที่ของนักธรณีวิทยาที่จะมาศึกษา หิน ดินดวงจันทร์ต่อไป ดาราศาสตร์เป็นแกนนำที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจและประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ แม้แต่วิชาการแพทย์เจริญเติบโตขึ้นมาได้เพราะดาราศาสตร์ คงสงสัยว่าทำไม ในสมัยกาลิเรโอเอากล้องโทรทัศน์มาส่องดูดาว กล้องโทรทัศน์คือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ในทางการแพทย์ถ้าดูเชื้อโรคไม่เห็นจะไม่พัฒนา ฉะนั้นกล้องจุลทรรศน์ส่องดูเชื่อโรคเห็นแล้วเกิดการรักษาอะไรต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ดาราศาสตร์ช่วยให้เราพัฒนาเทคโนโลยีเรื่อย ๆ เพราะว่านิวตันค้นพบแรงโน้มถ่วงขึ้นเพราะแอบเปิ้ลหล่นใส่หัว แต่เพราะข้อมูลต่าง ๆ ทางดาราศาสตร์ทำให้สรุปได้ว่าที่โลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เป็นเพราะแรงโน้มถ่วง จากกฎนิวตัน สามารถทำให้เกิดพัฒนาการหรือว่าเกิดเทคโนโลยีขึ้นเกิดวิชาวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพราะดาราศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์อาศัยดาวเทียม เกิดมาจากการสื่อสารระหว่างโลกกับดวงดาว เรียนรู้ดาราศาสตร์จากชีวิตประจำวันสามารถเข้าใจความเป็นมาของโลก และสามารถเข้าในสิ่งต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่ทำให้มีการเรียนรู้และปรับตัวไปในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

http://www.stou.ac.th/Thai/Offices/Oce/Knowledge/1-47/page10-1-47.html