|
อย่างไรที่เรียกว่า เหนื่อยอ่อนเรื้อรัง ? |
อาการเหนื่อยอ่อนเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome (CFS)) เป็นอาการที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากความเหนื่อยล้า จนทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย โดยอาการนี้มักหายไป หลังจากผ่านไปประมาณ 6 เดือน |
จากการศึกษา พบว่าอาการเหนื่อยอ่อนเรื้อรังนี้ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในชายหญิงทุกเชื้อชาติ (โดยเฉพาะหญิงชาวตะวันตก) ที่มีอายุตั้งแต่ 20 - 50 ปี |
ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีความเหนื่อยอ่อน จะต้องเป็นอาการเหนื่อยอ่อนเรื้อรังไปซะหมดแต่หากคุณมีอาการเหนื่อยอ่อนอย่างหนักประกอบกับอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ อย่ารีรอที่จะปรึกษาแพทย์ |
ความจำเสื่อมชั่วขณะหรือไม่สามารถที่จะตั้งใจทำอะไรได้นานๆ จนไม่เป็นอันทำงาน เรียนหนังสือ และทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประวัน |
เจ็บคอ |
ต่อมน้ำเหลืองบวมที่คอและรักแร้ |
ปวดกล้ามเนื้อ |
เจ็บปวดตามข้อต่างๆ โดยไม่มีอาการบวมแดง |
ปวดศีรษะอย่างรุนแรงหรือปวดศีรษะโดยไร้สาเหตุ |
นอนหลับไม่สนิท |
หลังจากออกแรงทำอะไรไป มีอาการเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องเป็นวันๆ |
โดยทั่วไป หากใช้วิธีทดสอบในห้องปฏิบัติการมาตรวจหาอาการนี้ จะไม่พบสิ่งผิดปกติ
แต่อย่างใด การศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการทดสอบที่เฉพาะเจาะจง ในการตรวจหาอาการดังกล่าวยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม วิธีการหนึ่งที่น่าจะใช้ตรวจหาอาการได้ผล คือ การทดสอบโดยการโน้มตัวมาข้างหน้า ผู้ที่มีอาการเหนื่อยอ่อนนี้จะรู้สึกหัวเบาๆ หน้ามืด และเป็นลมหมดสติไป และหากตรวจพบโปรตีนชนิดหนึ่ง (CFSUM1) ในปัสสาวะร่วมด้วย แสดงว่าอาการอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว |
ขณะที่ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคดังกล่าว วิธีการปฏิบัติตัวทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คือ
หมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทานอาหารจำพวกผักผลไม้ซึ่งมีใยอาหารสูง รวมทั้ง
หลีกเลี่ยงความตึงเครียด พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง และพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ แล้วความเหนื่อยอ่อนที่เกิดขึ้นก็จะค่อยๆ หายไปได้ในที่สุด ถ้าจำเป็นจริงๆ หมอก็คงให้ยาที่เหมาะสมกับคุณเอง |
ข้อมูลsimplemag |
 |